แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

ความสำคัญ ความชุกและการกระจายของสินค้าไม่ปลอดภัยในประเทศไทย

dc.contributor.authorสรีรโรจน์ สุกมลสันต์th_TH
dc.contributor.authorSareerarote Sukamolsonen_US
dc.contributor.authorวรรณา ศรีวิริยานุภาพth_TH
dc.contributor.authorWanna Sriviriyanuparpen_US
dc.contributor.authorวิทยา กุลสมบูรณ์th_TH
dc.contributor.authorVithaya Kulsomboonen_US
dc.date.accessioned2016-03-04T08:45:23Z
dc.date.available2016-03-04T08:45:23Z
dc.date.issued2559-03
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 10,1 (ม.ค.-มี.ค. 2559) : 65-79th_TH
dc.identifier.issn0858-9437
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4410
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความชุก และการกระจายทางภูมิศาสตร์ของสินค้าไม่ปลอดภัย จากการประเมินความเสี่ยงและความเป็นไปได้ในการแก้ปัญหาด้วยหลักเกณฑ์การจัดลำดับความสำคัญของสินค้าไม่ปลอดภัยระดับจังหวัดปี พ.ศ. 2557 วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งของสินค้าไม่ปลอดภัยที่มีการประเมินความเสี่ยงและความเป็นไปได้ในการแก้ไขปัญหาระดับจังหวัด ในลำดับที่ 1-5 จากการดำเนินโครงการจัดลำดับความสำคัญของสินค้าไม่ปลอดภัยในระดับภาค 4 ภาค ใน 60 จังหวัด ระหว่างเดือนมกราคม - สิงหาคม 2557 ซึ่งมีเภสัชกรประจำสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเป็นนักวิชาการในกระบวนการ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาวิเคราะห์ความชุกของสินค้าไม่ปลอดภัยในระดับจังหวัด และวิเคราะห์การกระจายเชิงภูมิศาสตร์ของสินค้าไม่ปลอดภัยระดับจังหวัด ผลการศึกษา พบสินค้าไม่ปลอดภัยจากการประเมินความเสี่ยงและความเป็นไปได้ในการแก้ไขปัญหาระดับจังหวัด 31 รายการ โดยความชุกของสินค้าไม่ปลอดภัย จากการประเมินระดับประเทศ 5 อันดับแรก ได้แก่ สารเคมีการเกษตรตกค้างในผัก ผลไม้ หรือปลาเค็ม, เครื่องสำอางผสมสารเคมีอันตราย, น้ำมันทอดซ้ำเสื่อมสภาพ, สเตอรอยด์ปลอมปนในผลิตภัณฑ์สุขภาพ ยาไม่เหมาะสมในชุมชนและฟอร์มาลีนในอาหาร เมื่อวิเคราะห์ความชุกของสินค้าไม่ปลอดภัยโดยแบ่งเป็น 4 ภูมิภาคตามลักษณะภูมิศาสตร์และเขตบริการสาธารณสุข พบว่ารายการสินค้าส่วนมากมีอันดับสอดคล้องกับรายการสินค้าไม่ปลอดภัยในระดับประเทศ แต่มีรายการสินค้าบางรายการที่มีความแตกต่างจากภูมิภาคอื่น นอกจากนี้ ยังพบว่า การกระจายของสินค้าไม่ปลอดภัยระดับประเทศ อันดับที่ 1-5 (ในแผนที่ตามพิกัดจังหวัด) แต่ละชนิดมีความแตกต่างกันตามลักษณะทางภูมิศาสตร์ สรุป สถานการณ์ปัญหาสินค้าไม่ปลอดภัยในแต่ละพื้นที่มีทั้งความเหมือนและแตกต่างกัน โดยส่วนที่ต่างกันอาจเกิดจากปัจจัยในแต่ละพื้นที่ที่แตกต่างกัน เช่น พฤติกรรมการบริโภคของผู้บริโภค ลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ส่งผลต่อการกระจายของสินค้า ซึ่งปัจจัยเหล่านั้นส่งผลต่อการเลือกรายการสินค้าไม่ปลอดภัย การประเมินความเสี่ยงและการประเมินความเป็นไปได้ในการแก้ไขปัญหาของสินค้า ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงควรกำหนดนโยบาย มาตรการหรือแผนการจัดการปัญหาสินค้าไม่ปลอดภัยที่เหมาะสมกับลักษณะปัญหาในทุกๆ ด้านth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectการคุ้มครองผู้บริโภคth_TH
dc.titleความสำคัญ ความชุกและการกระจายของสินค้าไม่ปลอดภัยในประเทศไทยth_TH
dc.title.alternativePriority, Prevalence and Geographic Distribution of Unsafe Products in Thailanden_US
dc.typeArticleth_TH
dc.description.abstractalternativeObjectives: To examine the prevalence and geographic distribution of unsafe products using risk and possibility assessments of problem-solving using prioritizing unsafe products at provincial level in 2014. Methods: A cross-sectional descriptive study was undertaken to rank the top 5 unsafe products using risk and possibility assessments of problem-solving principles under Unsafe Product Issue Prioritization Project in 4 Regions (60 provinces), during January to August 2014. The data were collected by a health consumer protection pharmacist in each provincial public health office. Descriptive statistics for the analysis, prevalence and geographic distribution of the unsafe products were employed. Results: Thirty-one unsafe products were found. As for the prevalence of the top 5 unsafe products assessed at national level, they were agricultural chemical residues in fruits, vegetables and salted fish, hazardous chemicals in cosmetics, repeatedly-fried oil, steroids adulterated in health products and drug sole in the community, and formalin contaminated food. Based on geographical conditions and public health services, it was found that the prevalence of the most unsafe products in 4 regions was similar to that of the national level. However, there were some slight differences in certain regions. Besides, it revealed that the top 5 unsafe products at national level were distributed geographically in each province. Conclusions: There were some similarities and differences among the conditions of unsafe products in different areas. The differences could be due to the different factors in the areas such as consumer behavior, geographical conditions affecting the distributions of goods, etc. These factors affected the selection of unsafe products, as well as the risk and possibility assessments. Therefore, any relevant organizations should set appropriate policies, measures or plans to solve such problems in all aspects.en_US
dc.subject.keywordสินค้าไม่ปลอดภัยth_TH
.custom.citationสรีรโรจน์ สุกมลสันต์, Sareerarote Sukamolson, วรรณา ศรีวิริยานุภาพ, Wanna Sriviriyanuparp, วิทยา กุลสมบูรณ์ and Vithaya Kulsomboon. "ความสำคัญ ความชุกและการกระจายของสินค้าไม่ปลอดภัยในประเทศไทย." 2559. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4410">http://hdl.handle.net/11228/4410</a>.
.custom.total_download1398
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month10
.custom.downloaded_this_year102
.custom.downloaded_fiscal_year16

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hsri-journal-v10n ...
ขนาด: 2.388Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

  • Articles [1352]
    บทความวิชาการ

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย