• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการฆ่าตัวตายในผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพจิตที่เกี่ยวข้องกับสุรา

จุฑามาศ หน่อตุ่น; Jutamas Nortun; ชนากานต์ เจนใจ; Chanakan Jenjai; ชิดชนก เรือนก้อน; Chidchanok Ruengorn;
วันที่: 2559-06
บทคัดย่อ
ปัญหาพฤติกรรมการบริโภคสุราเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขเนื่องจากเพิ่มความเสี่ยงของพฤติกรรมการฆ่าตัวตาย การศึกษาแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับความคิดและการพยายามฆ่าตัวตายในผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพจิตที่เกี่ยวข้องกับสุรา กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยจำนวนทั้งหมด 303 รายที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีปัญหาสุขภาพจิตที่เกี่ยวข้องกับสุรา ตามเกณฑ์วินิจฉัยโรค ICD -10 รหัส F10.XX และเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยในระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2555 ถึง 30 กันยายน 2556 เก็บข้อมูลปัจจัยต่างๆจากเวชระเบียนของโรงพยาบาลสวนปรุง ผลการศึกษาพบว่า ความชุกของความคิดฆ่าตัวตายและการพยายามฆ่าตัวตายคือร้อยละ 22.4 และ 5.0 ตามลำดับ ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความคิดฆ่าตัวตายได้แก่ การมีปัญหาโรคร่วมทางจิต (adjusted OR=2.58 95% CI; 1.14-5.85, p-value=0.023) การมีความคิดและการพยายามฆ่าตัวตายก่อนหน้า (adjusted OR=3.00 95% CI; 1.40-6.40, p-value=0.004 และ 4.27 95% CI; 2.31-8.94, p-value<0.001 ตามลำดับ) จำนวนปัญหาหรือเหตุการณ์ในชีวิตมากกว่า 2 เหตุการณ์ (adjusted OR=4.36 95% CI; 1.53-12.41,p-value =0.006)และ 2 เหตุการณ์ (adjusted OR=3.22 95% CI; 1.08-9.57, p-value=0.036) การดื่มสุราขาว (adjusted OR=3.10 95% CI; 1.33-7.20, p-value =0.009) สำหรับปัจจัยที่สัมพันธ์กับการพยายามฆ่าตัวตายได้แก่ การพยายามฆ่าตัวตายก่อนหน้าและปัญหาโรคร่วมทางจิต (adjusted OR=4.36 95% CI; 1.53-12.41, p-value =0.006 และ 3.22 95% CI; 1.08-9.57, p-value=0.036 ตามลำดับ) สรุป ผู้ป่วยที่มีปัญหาดื่มสุราและมีความคิดหรือมีการพยายามฆ่าตัวตายมาก่อน ที่มีปัญหาโรคร่วมทางจิต และผู้ที่มีปัญหาในชีวิตมากกว่า 2 เหตุการณ์ขึ้นไป ควรได้รับการเฝ้าระวังพฤติกรรมการฆ่าตัวตายอย่างใกล้ชิด

บทคัดย่อ
Alcohol-drinking is one of the most important public health problems related to an increase risk of suicidal behaviors. The objectives of this cross-sectional analytical study were to determine the prevalence and factors associated with suicidal ideation and suicide attempt in mental and behavioral disorder due to use of alcohol. Subjects were 303 patients diagnosed with ICD-10 code F10.xx and admitted in Suanprung Psychiatric Hospital during 1 October 2012 to 30 September 2013. Data of various factors were collected from medical records. Results of the study revealed that prevalence of suicidal ideation and suicide attempt were 22.4% and 5.0%, respectively. Factors significantly associated with suicidal ideation were having psychological comorbidities (adjusted OR = 2.58 95% CI; 1.14-5.85, p-value = 0.023), previous suicidal ideation and previous suicide attempt (adjusted OR = 3.00 95% CI; 1.40-6.40, p-value = 0.004 and 4.27 95% CI; 2.31-8.94, p-value < 0.001, respectively), numbers of problems or life-events, more than 3 and 2 life events (adjusted OR = 4.36 95% CI; 1.53-12.41, p-value = 0.006 and 3.22 95% CI; 1.08-9.57, p-value = 0.036, respectively), and patients who drank 40 degree-rice clear liquor (adjusted OR = 3.10 95% CI; 1.33- 7.20, p-value = 0.009). Regarding factors related to suicide attempt, it is found that previous suicide attempts and psychological comorbidities were statistically significant associated with suicide attempts (adjusted OR = 4.36 95% CI; 1.53-12.41, p-value = 0.006 and 3.22 95% CI; 1.08-9.57, p-value = 0.036, respectively). In conclusion, close monitoring should be emphasized in patients who had problem associate with alcohol drinking and had previous suicidal ideation or previous suicide attempt(s), particularly in those with psychological comorbidity and had more than 2 life-events.
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hsri-journal-v10n ...
ขนาด: 200.8Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 30
ปีงบประมาณนี้: 397
ปีพุทธศักราชนี้: 200
รวมทั้งหมด: 3,236
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Articles [1366]

    บทความวิชาการ


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [159]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1283]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV