บทคัดย่อ
การศึกษาด้านการแพทย์แผนไทยในภาพรวมของประเทศจากเอกสารผลการสำรวจอนามัยและสวัสดิการของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2552, 2554 และ 2556 เกี่ยวกับภาวะการเจ็บป่วยและการเข้ารับบริการด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สามารถชี้ให้เห็นแนวโน้มของการใช้บริการด้านการแพทย์แผนไทยฯ โดยการนำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ประชากรที่อาศัยในครัวเรือนทั่วประเทศปีละ 28,000 ครัวเรือน มาวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบกับข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องที่มีการจัดเก็บในช่วงเวลาเดียวกัน
ผลการศึกษาพบว่า ประชากรไทยที่เจ็บป่วยส่วนใหญ่เลือกไปรักษาที่สถานพยาบาลภาครัฐ การไปหาหมอพื้นบ้าน/หมอแผนโบราณ/หมอนวดไทยมีค่อนข้างน้อย ไม่ถึงร้อยละ 2 ของประชากรที่เจ็บป่วย การรักษาด้วยยาสมุนไพรในภาพรวมมีแนวโน้มลดลง โดยพบว่า กลุ่มอายุ 25-59 ปีที่เจ็บป่วยมีการใช้ยาแผนโบราณ/ยาสมุนไพร ระหว่างร้อยละ 51.0 ถึง 60.3 ของประชากรที่เจ็บป่วยทั้งหมด โรคปวดหลังและปวดกล้ามเนื้อต่างๆ เป็นกลุ่มอาการที่พบมากเป็นอันดับสองแต่ใช้ยาแผนโบราณ/ยาสมุนไพรเป็นอันดับหนึ่ง คิดเป็นร้อยละ 27.3, 33.4 และ 31.1 ของประชากรที่ใช้ยาแผนโบราณ/ยาสมุนไพร ในปี พ.ศ.2552, 2554 และ 2556 ตามลำดับ
ข้อสรุป ประชากรยังใช้การรักษาด้วยการแพทย์แผนไทยและยาสมุนไพรในสัดส่วนที่น้อย แต่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยกลุ่มวัยทำงานเป็นกลุ่มหลักที่ใช้การนวดไทยรักษามากที่สุด ดังนั้นควรเน้นการพัฒนาและส่งเสริมการนวดไทย โดยการบูรณาการกับการใช้ยาสมุนไพรและบริการการแพทย์แผนไทยอื่นๆ
บทคัดย่อ
This study was an analysis of the situations and trends in the Thai Traditional Medicine (TTM)
services in Thailand, especially the illnesses and treatments with TTM, based on the data derived from the
2009, 2011, 2013 Health and Welfare surveys, conducted by the National Statistical Office, which interviewed
a sample of 28,000 households across the country each year. The trends in such services were
compared with those derived from other data sources during the same period.
The results showed that most Thai patients attended state health-care facilities, whereas a small
proportion of them sought medical care from Thai folk/traditional healers or masseurs at less than 2% of
all patients. Among all patients, the 25-59 age group sought TTM services, about the same proportions
ranging from 50.0% to 60.3% in 2009, 2011, 2013. Regarding their illnesses, the second most common
illness was chronic back and muscle pain, but their use rates were highest at 27.3%, 33.4%, and 31.1%,
respectively.
In conclusion, only a small proportion of the Thai population use TTM including herbal remedies,
but with a rising trend. Thai massage therapy is most popular in working-age people. Thus, such service
should be further developed and promoted through the integration with the use of herbal remedies and
other TTM services.