บทคัดย่อ
จากการเปลี่ยนแปลงระบบบริการสุขภาพ การผลิตกำลังคนที่มีคุณลักษณะขีดความสามารถในการทำหน้าที่จึงควรมีความสอดคล้องกับสถานการณ์หรือระบบสุขภาพที่เปลี่ยนแปลงไป สถาบันพระบรมราชชนก เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการผลิตและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ ที่ตอบสนองความต้องการของกระทรวงสาธารณสุข จึงได้ทำการศึกษาความต้องการกำลังคนด้านสุขภาพ ภายใต้การผลิตของหน่วยงานสถาบันพระบรมราชชนก เพื่อเป็นข้อมูลในการกำหนดทิศทางผลิตกำลังคนด้านสุขภาพสาขาสาธารณสุขชุมชน สาขาทันตสาธารณสุข และสาขาเทคนิคเภสัชกรรม เพื่อรองรับความต้องการของระบบสุขภาพในอนาคต
งานวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการกำลังคนด้านสุขภาพและศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของกำลังคนด้านสุขภาพ รวมทั้งศึกษาการกระจายกำลังคนด้านสุขภาพ สาขาสาธารณสุขชุมชน สาขาทันตสาธารณสุข และสาขาเทคนิคเภสัชกรรมที่สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบการผลิตของวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร สถาบันพระบรมราชชนก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม ระหว่างเดือนมิถุนายน 2558 ถึงเดือนตุลาคม 2558 การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงโดยการพิจารณาจากข้อมูลการกระจายกำลังคนทั้ง 3 สาขา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารของกระทรวงสาธารณสุข ผู้บริหารของสถาบันพระบรมราชชนก ผู้บริหารและอาจารย์ของวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร ผู้บริหารทางด้านสาธารณสุขในระดับจังหวัด อำเภอและตำบล บัณฑิตและผู้ใช้บัณฑิตที่มาจากสภาวิชาชีพ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หัวหน้างาน ผู้ร่วมงานและประชาชนผู้มารับบริการสุขภาพ เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ กึ่งโครงสร้างและแบบสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์จากการจดบันทึก การวิเคราะห์จากการถอดคำบันทึกเสียง การวิเคราะห์จากความจำ จัดพิมพ์ข้อมูลและวิเคราะห์เนื้อหา จัดหมวดหมู่ของข้อมูลแล้วแปลความหมายข้อมูล
ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริหารส่วนใหญ่มีความเห็นที่สอดคล้องกันว่า กำลังคนด้านสุขภาพทั้ง 3 สาขา ยังคงมีความขาดแคลน เมื่อพิจารณาทั้งกรอบการจัดสรรบุคลากรทางการแพทย์ด้วยภูมิศาสตร์สารสนเทศ (GIS) และตามอัตราชั่วโมงเทียบเท่าพนักงานประจำ (FTE) ในด้านการกระจายกำลังคนพบว่ามีความไม่เท่าเทียมกันทั้ง 3 หลักสูตร ความหนาแน่นของกำลังคนทั้ง 3 สาขา ในภาคกลางจะหนาแน่นกว่าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในขณะที่อัตราการคงอยู่ ในตำแหน่งจะลดลงเนื่องด้วยขาดแรงจูงใจในการทำงาน และในการผลิตกำลังคนด้านสุขภาพทั้ง 3 สาขานั้น ควรให้วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก เป็นแหล่งผลิตบุคลากรเพื่อป้อนให้กับกระทรวงสาธารณสุขเพราะมีหลักสูตรเฉพาะที่ตรงกับความต้องการของชุมชน รวมทั้ง การมีจุดเด่นที่คณาจารย์มีความรู้ความสามารถตรงกับหลักสูตรที่เปิดสอน ประกอบกับการมีเครื่องมือและแหล่งฝึกที่พอเพียงซึ่งเอื้อให้นักศึกษาของวิทยาลัยการสาธารสุขสิรินธร ได้เรียนรู้ผ่านการปฏิบัติงานจริงในสถานบริการสุขภาพ อีกทั้งยังเป็นหน่วยงานการศึกษาเดียวที่มีการผลิตหลักสูตรเทคนิคเภสัชกรรม ซึ่งเป็นหลักสูตรเฉพาะที่มีการผลิตในประเทศไทย สำหรับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้สำเร็จการศึกษา
จากผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าทิศทางการผลิตกำลังคนด้านสุขภาพ ยังคงมีความต้องการกำลังคนด้านสุขภาพ ในการพัฒนาระบบสุขภาพ ดังนั้นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องจึงต้องร่วมกันพิจารณาปัจจัยต่างๆ ที่เข้ามากระทบต่อการผลิตกำลังคนด้านสุขภาพของ 3 สาขา จึงควรมีกลไกในการผลักดันให้มีการพัฒนางานวิจัยเกี่ยวกับกำลังคนทั้ง 3 สาขาอย่างต่อเนื่อง และมีการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ เพื่อให้มีการเชื่อมโยงการกำหนดนโยบายสู่การปฏิบัติอย่างแท้จริง นอกจากทักษะเฉพาะทางวิชาชีพแล้ว ควรมีทักษะการทำงานสำหรับศตวรรษที่ 21
ในด้านทักษะการเรียนรู้ ทักษะทางวิชาการและทักษะการดำเนินชีวิต โดยเฉพาะภาวะผู้นำ การจัดการความรู้ การวิจัย การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ ความชำนาญด้านเทคโนโลยีและภาษาที่จำเป็น
บทคัดย่อ
Thailand has experience of health care reform for a decade. Therefore health care services require more new health workers with more capabilities and competencies according to the changes in the system. Praboromarajchanok Institute for Health Workforce Development (PIHWD) is a government organization and responsible for production and development of health workforce to serve the needs of the Ministry of Public Health (MoPH). This qualitative research was designed to study health workforce needs, the desirable competencies of the graduates and distribution of health workforce who graduated from Sirindhorn College of Public Health under PIHWD, MoPH including Bachelor degree in Community Public Health, Community Dental Public Health and a high class certificate of Pharmacy Technician. Data were collected by in-depth interviews and focus groups discussion between June and October 2558. The purposive sampling was applied and 8 provincials were determined by using geographic information system (GIS) distribution of health workforce. The samples consisted of executive’s administrator from Ministry of Public Health, PIHWD and Provincial, District and Sub-district of Public Health Offices. They were also chiefs of Local Authority, supervisors and co-workers of the graduates and local people. Content analysis was applied using transcriptions from audio recordings and memory information. Data summary were then classified and interpreted for research conclusion. The study showed that most executives have commented that three professionals’ health workers are still shortage consideration by using GIS and the hourly rate equivalent employees (FTE). The distribution of health workforce of these programs is disproportion mainly in the central region where is densely than in the Northeast. In addition, the retention rate in position was decreased because of the lack of motivation at work. Producing health workforce of the 3 programs should come from Sirindhorn College of Public Health under PIHWD because of the expertise of the staffs and they provide specific training programs that serve community needs, especially bachelor of community dental public health and a high class certificate of pharmacy technician. These are the only programs that have been produced in Thailand. The desirable performances of the health workers are not only
their specific health professionals. They should have a new set of the 2 1 st century
skills including learning, literacy and life skill such as abilities of leadership,
Knowledge Management, conducting research, plan strategic, information technology
and necessary languages. The results indicated that the production of health
workforce is still the needs in order to serve the changes of health care system.
Stake holders who are involved should consider various factors that come into effect
on the production of health workforce. Thus, a mechanism for driving the
development of research on the health professionals from three programs should
continue and systematic develop in order to force the policy into practice, literally.