แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

ปัจจัยที่ส่งผลต่อความยากลำบากของครอบครัวผู้สูงอายุไทย

dc.contributor.authorเกรียงศักดิ์ ธรรมอภิพลth_TH
dc.contributor.authorKriengsak Thamma-Aphipholen_EN
dc.contributor.authorจุฑาธิป ศีลบุตรth_TH
dc.contributor.authorJutatip Sillabutraen_EN
dc.contributor.authorจิราพร ชมพิกุลth_TH
dc.contributor.authorJiraporn Chompikulen_EN
dc.contributor.authorกวินารัตน์ สุทธิสุคนธ์th_TH
dc.contributor.authorKawinarat Suthisukonen_EN
dc.contributor.authorสมชาย วิริภิรมย์กูลth_TH
dc.contributor.authorSomchai Viripiromgoolen_EN
dc.date.accessioned2017-01-10T06:48:43Z
dc.date.available2017-01-10T06:48:43Z
dc.date.issued2559-12
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 10,4 (ต.ค.-ธ.ค. 2559) : 414-426th_TH
dc.identifier.issn0858-9437
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4628
dc.description.abstractบทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ครอบครัวผู้สูงอายุและปัจจัยที่ส่งผลต่อความยากลำบากของครอบครัวผู้สูงอายุใน 10 จังหวัดของไทย เก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยการสัมภาษณ์ตามแบบสอบถามกับผู้สูงอายุ 4,561 ครอบครัว เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสนทนากลุ่มกับผู้ปฏิบัติงานในชุมชนและครอบครัวผู้สูงอายุ 214 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติพรรณนาและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาตามประเด็นที่กำหนดไว้ ผลการศึกษาพบว่า สถานการณ์ครอบครัวผู้สูงอายุโดยภาพรวมครึ่งหนึ่งเป็นครอบครัวผู้สูงอายุดูแลเด็ก รองลงมาคืออยู่คนเดียวและอาศัยร่วมกันตามลำพังกับคู่สมรส มากกว่าครึ่งหนึ่งสามารถดูแลสุขภาพตัวเองและสมาชิกในบ้านเดียวกันในระดับปานกลาง สัมพันธภาพกับสมาชิกในบ้านเดียวกันมีสัดส่วนใกล้เคียงกันทั้งระดับดี/ปานกลาง/ไม่ดี ประมาณ 1 ใน 3 สามารถพึ่งพาตนเองทางเศรษฐกิจในระดับน้อย ครอบครัวผู้สูงอายุที่ดูแลผู้พิการมีความยากลำบากและผลกระทบในระดับมากและต้องดูแลเรื่องอาหารมากที่สุด ส่วนกรณีดูแลเด็กต้องดูแลด้านการเงินมากที่สุด ปัจจัยที่ส่งผลต่อความยากลำบากของครอบครัวผู้สูงอายุก็คือ พื้นที่อยู่อาศัย ลักษณะครอบครัว รายได้ ทรัพย์สิน เงินออม หนี้สิน ภาระในการดูแลผู้สูงอายุ/ดูแลเด็ก/ดูแลสมาชิกพิการ (p-value<0.001) รวมทั้งจิตใจ ปัจจัยสี่ สัมพันธภาพในครอบครัว/ชุมชน การเข้าถึงสิทธิและสวัสดิการต่างๆ ข้อเสนอแนะคือ ควรส่งเสริมนโยบายการจัดสวัสดิการสงเคราะห์แก่ครอบครัวผู้สูงอายุให้ได้รับความเป็นธรรมอย่างมีระบบ สนับสนุนให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการดูแลครอบครัวผู้สูงอายุและศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับปัจจัยต่างๆที่ส่งผลกระทบต่อวิถีการดำเนินชีวิตของครอบครัวผู้สูงอายุแบบองค์รวมth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectผู้สูงอายุ--การดำเนินชีวิตth_TH
dc.titleปัจจัยที่ส่งผลต่อความยากลำบากของครอบครัวผู้สูงอายุไทยth_TH
dc.title.alternativeFactors Affecting Thai Elderly Families Hardshipen_EN
dc.typeArticleth_TH
dc.description.abstractalternativeThis paper aimed to study the elderly families situations and factors contributing to the elderly families hardship in 10 provinces of Thailand. The study applied quantitative and qualitative methods to collect data; from selected 4,561 elderly families using quantitative method and another 214 using focus groups interview with community officers and families with home dwelling elderly. The collected data was analyzed using descriptive statistics and content analysis. Overall, the study found that half of the surveyed families were families with the elderly who looked after children in the families, following elderly living alone and living with their spouse respectively. There were more than half of the elderly who had ability for self-caring and moderate caring for other members. Level of relationship among other families members were no significant different at all levels; good/moderate/bad. There was 1 in 3 of the elderly who responded that they had poor economic selfreliance. For the type of support, the elderly dwelling with disabled person reported the highest hardship and the need of dietary/feeding was the most expected support; whilst the elderly dwelling with children reported highest need on financial support. Factors having high impact on hardship of the elderly families were residential area, family profile, income, asset, saving, debt, and burden of caring on any family member of elderly/child/disabled (p-value <0.001), including mental state, 4 basic needs of life, family/ community relationship, ability to access rights and social welfare. The study recommended that social welfare should be fair, systematic including enhancing community participation in promoting health and well-being among aging people. Lastly, further in-depth study on factors influencing family health and caring for the elderly ought to be accelerated to promote better quality of life for the elderly.en_EN
.custom.citationเกรียงศักดิ์ ธรรมอภิพล, Kriengsak Thamma-Aphiphol, จุฑาธิป ศีลบุตร, Jutatip Sillabutra, จิราพร ชมพิกุล, Jiraporn Chompikul, กวินารัตน์ สุทธิสุคนธ์, Kawinarat Suthisukon, สมชาย วิริภิรมย์กูล and Somchai Viripiromgool. "ปัจจัยที่ส่งผลต่อความยากลำบากของครอบครัวผู้สูงอายุไทย." 2559. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4628">http://hdl.handle.net/11228/4628</a>.
.custom.total_download1605
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month4
.custom.downloaded_this_year100
.custom.downloaded_fiscal_year13

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hsri_journal_v10n ...
ขนาด: 199.4Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

  • Articles [1352]
    บทความวิชาการ

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย