บทคัดย่อ
การคาดการณ์อัตรากำลังเภสัชกรเป็นข้อมูลสำคัญในการวางแผนและจัดสรรอัตรากำลังเภสัชกร ประเทศไทยมีเภสัชกรทำงานในสาขาเภสัชกรรมโรงพยาบาลมากที่สุด การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคาดการณ์อัตรากำลังเภสัชกรสาขาเภสัชกรรมโรงพยาบาลใน 20 ปี (พ.ศ. 2558 – 2578) อาศัยโมเดลประเมินความจำเป็น (needs assessment models) การคาดการณ์อัตรากำลังคนอาศัยข้อมูลจำนวนผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในย้อนหลัง 10 ปี (พ.ศ. 2545 – 2554) เพื่อหาภาระงานที่เปลี่ยนแปลงโดยวิธีการพยากรณ์อนุกรมเวลา และการวิเคราะห์ความถดถอยด้วยตัวแปรพยากรณ์ 3 ตัวแปร ได้แก่ อัตราส่วนจำนวนประชากรเพศชายต่อหญิง อัตราส่วนจำนวนผู้สูงอายุที่อายุ 60 ปีขึ้นไป และผลิตภัณฑ์มวลรวมรายจังหวัด เมื่อวิเคราะห์ด้วยวิธีการพยากรณ์อนุกรมเวลาและการวิเคราะห์ความถดถอยแล้ว ผลการวิเคราะห์ความไวพบว่า ความต้องการเภสัชกรโรงพยาบาลในปี 2578 มากที่สุดเท่ากับ 123,405 (87,227-159,584) และ 111,454 (79,543-143,365) และความต้องการน้อยที่สุดเท่ากับ 69,723 และ 50,502 ตามลำดับ ผลการศึกษาแสดงถึงการขาดแคลนเภสัชกรสาขาเภสัชกรรมโรงพยาบาลทุกระดับในประเทศไทย ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการกำหนดและวางแผนอัตรากำลังเภสัชกรได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยต่างๆ ที่ไม่ได้อยู่ในการศึกษานี้ อาจมีผลต่อการคาดการณ์อัตรากำลังคน เช่น การศึกษาต่อเนื่อง เทคโนโลยีที่ทันสมัย
บทคัดย่อ
Projection of pharmacist workforce is essential information for planning and allocating pharmacist
workforce. Hospital pharmacists accounted for the highest proportion of the pharmacist workforce in
Thailand. This study was aimed to project hospital pharmacist workforce for the next 20 years (2015-2035)
by using needs assessment models. The projection of hospital pharmacist based on two techniques: time
series and regression analysis by using 3 factors: male and female ratio, elderly age greater than 60 year
old ratio and gross provincial product (GPP). According to time series forecasting and regression analysis,
the maximum extent of FTE requirement for hospital pharmacist in 2035 based on sensitivity analysis was
123,405 (87,227-159,584) and 111,454 (79,543-143,365), respectively. While the minimum number of FTE
requirement was 69,723 and 50,502, respectively. This study showed that the shortage of hospital pharmacist
is an issue of concern that requires an effective planning to secure the future of hospital pharmacist
workforce. However, other factors might affect the results of this study such as continuing pharmaceutical
education (CPE), new technology etc.