บทคัดย่อ
บทบาทของร้านยาในปัจจุบันกำลังมีการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะในเรื่องการให้บริการอย่างมีส่วนร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่เป็นกลไกการขับเคลื่อนในเชิงนโยบายเพื่อสนับสนุนความต่อเนื่องของการให้บริการ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความพร้อมและการตัดสินใจของร้านยาในการเข้าร่วมบริการกับระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และหาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมให้บริการ ในร้านยาที่รวบรวมข้อมูลได้ทั้งหมด 408 ร้าน ที่เป็นร้านยาแหล่งฝึกงานภายใต้การดูแลของคณะเภสัชศาสตร์ 17 สถาบัน ทั่วประเทศ การศึกษานี้ออกแบบเป็นเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง ระหว่างเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2557 แบบสอบถามที่พัฒนาขึ้นในการศึกษานี้ได้รับการทดสอบความตรงจากผู้เชี่ยวชาญ 6 ท่าน และทดสอบความเที่ยง Cronbach’s alpha > 0.7 ผลการศึกษาพบว่ามีผู้ตอบแบบสอบถามกลับ 188 คน การตอบกลับคิดเป็นร้อยละ 46.1 ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเจ้าของกิจการและเภสัชกรปฏิบัติการ (ร้อยละ 49.4) กิจกรรมที่ให้บริการสูงสุด 3 ลำดับแรกคือ การดูแลปัญหาจากการใช้ยาในผู้ป่วยเฉพาะรายที่ร้านยา (ร้อยละ 64.5) การคัดกรองและติดตามผู้มีความเสี่ยงฯ (ร้อยละ 60.1) และ การให้บริการเลิกบุหรี่ (ร้อยละ 58.0) เมื่อพิจารณาเกณฑ์ของร้านยาสำหรับการเข้าร่วมให้บริการ มีคะแนนต่ำกว่าร้อยละ 50 เพียง 2 เกณฑ์ คือร้านยาสามารถมีข้อมูลของหน่วยบริการประจำในพื้นที่ และการประเมินการใช้ยาตามใบสั่งและการส่งต่อแพทย์ได้ทันที เมื่อพิจารณาความพร้อมของการให้บริการ 4 บริการตามกรอบการให้บริการปัจจุบัน พบว่าร้านยามีคุณภาพในการให้บริการในระดับมาก การตัดสินใจเข้าร่วมให้บริการอยู่ในระดับมาก และเมื่อหาความสัมพันธ์พบว่าระบบการให้บริการมีผลบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (B = 0.248, p<0.05) ต่อการตัดสินใจเข้าร่วมให้บริการกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และร้านยาที่มีระบบการบริหารจัดการที่รองรับความต้องการของผู้บริโภค มีผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อการตัดสินใจเข้าร่วมให้บริการกับ สปสช. (B=0.214, p<0.05) ร้านยาแหล่งฝึกสำหรับนิสิตนักศึกษาปีที่ 6 ควรได้รับการสนับสนุนให้เป็นร้านยาคุณภาพทุกร้าน ทั้งนี้ เพื่อรองรับระบบการให้บริการร่วมกับ สปสช. และเพื่อเป็นหลักประกันคุณภาพด้านการศึกษาในระบบการฝึกงานของนิสิตนักศึกษาเภสัชศาสตร์
บทคัดย่อ
Roles of community pharmacy are changing to extend cooperating services with the National Health
Security Office (NHSO). Its change could be a strategic policy to support patient service continuity. Objectives
of this study were to evaluate the readiness and decision of community pharmacy preceptors to coservice
with the NHSO, and to investigate factors affecting the co-service decision. Samples were 408
community pharmacies that provided experiential education to pharmacy students of 17 pharmacy faculties
across the country. This was a cross-sectional survey study design. A self-developed questionnaire
was administered during May-August, 2014. The survey questionnaire was validated by six experts, and
the reliability was tested with Cronbach’s alpha > 0.7. The survey response rate was 46.1% (n = 188).
Almost half (49.4%) of respondents were owners and practitioners as community pharmacists. Three highest
services provided in community pharmacy preceptors were 1) medication therapy management (MTM)
for individual patients (64.5%), 2) diseases screening and monitoring (60.1%), and 3) smoking cessation
counseling (58.0%). The two criteria that community pharmacy preceptors gave scores lower than 50% of
minimum requirements were: 1) accessing to data of health service units in the area, and 2) capacity of
prescription evaluation and patient referral system. Regarding the readiness of NHSO co-services participation,
the community pharmacy preceptors gave high scores on both quality and willingness to participate.
Significantly positive relationships with a decision to participate were found in service system (B =
0.248, p<0.05) and management towards customer’s need (B=0.214, p<0.05). All community pharmacy
preceptors for Year-6 Pharm.D. students should be supported to be in the accreditation program. This will
strengthen the readiness to co-service with the NSHO and be one quality assurance for pharmacy education
in experiential practices.