• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การควบคุมและป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทย

วิษณุ ธรรมลิขิตกุล;
วันที่: 2560-01-25
บทคัดย่อ
โครงการควบคุมและป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมและป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพ วิจัยประเด็นวิชาการ เศรษฐกิจ และสังคม เกี่ยวกับการควบคุมและป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพ พัฒนา “ชุดควบคุมและป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพ” และนำ “ชุดควบคุมและป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพ” ไปใช้ควบคุมและป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพกับกลุ่มเป้าหมายใน 4 อำเภอนำร่อง ดำเนินการร่วมกันระหว่างบุคลากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใน 10 กิจกรรม (Action) หลัก ได้แก่ 1) การคาดประมาณขนาดปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทย 2) การระบุวงจรการดื้อยาต้านจุลชีพและพลวัตของการเกิดและการแพร่กระจายของเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทย 3) การพัฒนาโครงสร้างระดับชาติของการควบคุมและป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทย 4) การพัฒนาห้องปฏิบัติการและระบบการเฝ้าระวังการดื้อยาต้านจุลชีพ การเฝ้าระวังการใช้ต้านจุลชีพ และการเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาล 5) การควบคุมการกระจายยาต้านจุลชีพในคนและสัตว์ 6) การพัฒนาแนวทางรณรงค์การควบคุมและป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพ 7) การสร้างและการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์เพื่อสนับสนุนการควบคุมและป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพในบริบทของประเทศไทย 8) การพัฒนา “ชุดควบคุมและป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพ” 9) การนำ “ชุดควบคุมและป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพ” ไปใช้ควบคุมและป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพกับกลุ่มเป้าหมาย และ 10) การวิจัยและพัฒนาวิธีใหม่ในการวินิจฉัย รักษา และป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพโครงการควบคุมและป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทยมีผลงานสำคัญ ได้แก่ ทราบขนาดปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทย ทราบวงจรและพลวัตของการเกิดและการแพร่กระจายของเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทย มีโครงสร้างระดับชาติของการควบคุมและป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทยแล้วส่วนหนึ่ง มีแนวทางการเฝ้าระวังการดื้อยาต้านจุลชีพ การเฝ้าระวังการใช้ต้านจุลชีพ และการเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาล มีระบบการควบคุมการกระจายยาต้านจุลชีพในคนและสัตว์แล้วส่วนหนึ่ง มีข้อมูลและหลักฐานเชิงประจักษ์เกี่ยวกับมาตรการและวิธีการควบคุมและป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพที่มีประสิทธิผลและเหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย มี “ชุดควบคุมและป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพ” ซึ่งนำไปใช้ในกลุ่มเป้าหมายหลัก 2 กลุ่ม ได้แก่ ประชาชนและบุคลากรสาธารณสุข จนทราบประสิทธิผล อุปสรรค ข้อจำกัด และโอกาสพัฒนาของการนำ “ชุดควบคุมและป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพ” ไปใช้ กระบวนการดำเนินงานของโครงการควบคุมและป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทยสามารถนำไปใช้กับสถานพยาบาลทุกระดับตามนโยบายส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างรับผิดชอบและการควบคุมและป้องกันการดื้อยาปฏิชีวนะของกระทรวงสาธารณสุขตั้งแต่ปีงบประมาณ 2560 ได้ และนำไปใช้ขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการควบคุมและป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพระดับชาติและระดับนานาชาติให้สอดคล้องแผนปฏิบัติการควบคุมและป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพระดับโลกขององค์การอนามัยโลกได้ด้วย การดำเนินงานและผลงานของโครงการควบคุมและป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทยเป็นที่ยอมรับในระดับชาติและระดับนานาชาติ โดยคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลได้รับมอบหมายจากองค์การอนามัยโลกให้เป็นศูนย์ประสานงานองค์การอนามัยโลกด้านการป้องกันและควบคุมการดื้อยาต้านจุลชีพ (WHO Collaborating Centre for Antimicrobial Resistance Prevention and Containment) ตั้งแต่พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs2339.pdf
ขนาด: 4.484Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 9
ปีพุทธศักราชนี้: 3
รวมทั้งหมด: 742
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV