Show simple item record

Thailand Antimicrobial Resistance Containment and Prevention Program

dc.contributor.authorวิษณุ ธรรมลิขิตกุลth_TH
dc.date.accessioned2017-06-02T03:38:14Z
dc.date.available2017-06-02T03:38:14Z
dc.date.issued2560-01-25
dc.identifier.otherhs2339
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4700
dc.description.abstractโครงการควบคุมและป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมและป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพ วิจัยประเด็นวิชาการ เศรษฐกิจ และสังคม เกี่ยวกับการควบคุมและป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพ พัฒนา “ชุดควบคุมและป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพ” และนำ “ชุดควบคุมและป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพ” ไปใช้ควบคุมและป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพกับกลุ่มเป้าหมายใน 4 อำเภอนำร่อง ดำเนินการร่วมกันระหว่างบุคลากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใน 10 กิจกรรม (Action) หลัก ได้แก่ 1) การคาดประมาณขนาดปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทย 2) การระบุวงจรการดื้อยาต้านจุลชีพและพลวัตของการเกิดและการแพร่กระจายของเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทย 3) การพัฒนาโครงสร้างระดับชาติของการควบคุมและป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทย 4) การพัฒนาห้องปฏิบัติการและระบบการเฝ้าระวังการดื้อยาต้านจุลชีพ การเฝ้าระวังการใช้ต้านจุลชีพ และการเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาล 5) การควบคุมการกระจายยาต้านจุลชีพในคนและสัตว์ 6) การพัฒนาแนวทางรณรงค์การควบคุมและป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพ 7) การสร้างและการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์เพื่อสนับสนุนการควบคุมและป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพในบริบทของประเทศไทย 8) การพัฒนา “ชุดควบคุมและป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพ” 9) การนำ “ชุดควบคุมและป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพ” ไปใช้ควบคุมและป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพกับกลุ่มเป้าหมาย และ 10) การวิจัยและพัฒนาวิธีใหม่ในการวินิจฉัย รักษา และป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพโครงการควบคุมและป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทยมีผลงานสำคัญ ได้แก่ ทราบขนาดปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทย ทราบวงจรและพลวัตของการเกิดและการแพร่กระจายของเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทย มีโครงสร้างระดับชาติของการควบคุมและป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทยแล้วส่วนหนึ่ง มีแนวทางการเฝ้าระวังการดื้อยาต้านจุลชีพ การเฝ้าระวังการใช้ต้านจุลชีพ และการเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาล มีระบบการควบคุมการกระจายยาต้านจุลชีพในคนและสัตว์แล้วส่วนหนึ่ง มีข้อมูลและหลักฐานเชิงประจักษ์เกี่ยวกับมาตรการและวิธีการควบคุมและป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพที่มีประสิทธิผลและเหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย มี “ชุดควบคุมและป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพ” ซึ่งนำไปใช้ในกลุ่มเป้าหมายหลัก 2 กลุ่ม ได้แก่ ประชาชนและบุคลากรสาธารณสุข จนทราบประสิทธิผล อุปสรรค ข้อจำกัด และโอกาสพัฒนาของการนำ “ชุดควบคุมและป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพ” ไปใช้ กระบวนการดำเนินงานของโครงการควบคุมและป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทยสามารถนำไปใช้กับสถานพยาบาลทุกระดับตามนโยบายส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างรับผิดชอบและการควบคุมและป้องกันการดื้อยาปฏิชีวนะของกระทรวงสาธารณสุขตั้งแต่ปีงบประมาณ 2560 ได้ และนำไปใช้ขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการควบคุมและป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพระดับชาติและระดับนานาชาติให้สอดคล้องแผนปฏิบัติการควบคุมและป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพระดับโลกขององค์การอนามัยโลกได้ด้วย การดำเนินงานและผลงานของโครงการควบคุมและป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทยเป็นที่ยอมรับในระดับชาติและระดับนานาชาติ โดยคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลได้รับมอบหมายจากองค์การอนามัยโลกให้เป็นศูนย์ประสานงานองค์การอนามัยโลกด้านการป้องกันและควบคุมการดื้อยาต้านจุลชีพ (WHO Collaborating Centre for Antimicrobial Resistance Prevention and Containment) ตั้งแต่พฤศจิกายน พ.ศ. 2559th_TH
dc.description.sponsorshipสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)th_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectยา--การควบคุมและป้องกันการดื้อยาth_TH
dc.subjectยา--การดื้อยาth_TH
dc.subjectการดื้อยาต้านจุลชีพth_TH
dc.subjectDrug Utilizationth_TH
dc.subjectDrug Resistanceth_TH
dc.subjectผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies)th_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการควบคุมและป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทยth_TH
dc.title.alternativeThailand Antimicrobial Resistance Containment and Prevention Programth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.identifier.callnoQV350 ว768ก 2560
dc.identifier.contactno56-025
.custom.citationวิษณุ ธรรมลิขิตกุล. "การควบคุมและป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทย." 2560. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4700">http://hdl.handle.net/11228/4700</a>.
.custom.total_download715
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month4
.custom.downloaded_this_year17
.custom.downloaded_fiscal_year20

Fulltext
Icon
Name: hs2339.pdf
Size: 4.484Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record