บทคัดย่อ
สัดส่วนผู้สูงอายุในประเทศไทยเท่ากับร้อยละ 16 ของประชากรทั้งหมดในประเทศ เฉพาะผู้สูงอายุที่ต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลนั้น เมื่อจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล ส่วนใหญ่ต้องการความช่วยเหลือในกิจวัตรประจำวัน การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลและการมีผู้ดูแลในขณะพักฟื้นของผู้สูงอายุในประเทศไทย โดยพิจารณาทั้งด้านสิทธิการรักษา เศรษฐฐานะ และขนาดครัวเรือน กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป วิเคราะห์ข้อมูลจากการสำรวจอนามัยและสวัสดิการ พ.ศ. 2558 โดยการถ่วงน้ำหนักตามระเบียบวิธีทางสถิติ เพื่อเป็นตัวแทนประชากรทั้งประเทศ
ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุจำนวน 706,183 คน (ร้อยละ 7 ของประชากรผู้สูงอายุทั้งหมด) เข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยใน ในช่วง 1 ปีก่อนหน้าและมีสัดส่วนการเข้ารับการรักษาสูงกว่ากลุ่มอายุอื่นๆ (วัยเด็กร้อยละ 3.5 และวัยรุ่น/ผู้ใหญ่ร้อยละ 4.5) โดยภาพรวม กลุ่มผู้สูงอายุมีจำนวนวันนอนโรงพยาบาลเฉลี่ย 5.98 วันต่อคน และจำนวนวันนอนพักฟื้นที่ที่พักอาศัย 13.06 วันต่อคน
ในจำนวนผู้สูงอายุที่เข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยในทั้งหมด พบว่าเป็นกลุ่มผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพร้อยละ 81.4 ในขณะที่สิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการมีร้อยละ 17.2 กลุ่มผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่เข้ารับการรักษาส่วนใหญ่เป็นผู้ที่อยู่ในกลุ่มระดับเศรษฐฐานะต่ำที่สุด แตกต่างจากผู้ป่วยสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการซึ่งมีการเข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยในมากที่สุด คือ กลุ่มที่มีระดับเศรษฐฐานะสูงที่สุด ในสิทธิการรักษาทุกประเภท พบว่าจำนวนวันนอนพักฟื้นที่ที่พักอาศัยเฉลี่ยต่อคนของกลุ่มผู้สูงอายุที่มีระดับเศรษฐฐานะต่ำถึงต่ำสุด มีแนวโน้มสูงกว่ากลุ่มที่มีระดับเศรษฐฐานะที่สูงกว่า ผู้ป่วยสูงอายุที่ไม่มีผู้ดูแลในระหว่างพักฟื้นที่ที่พักอาศัยมีร้อยละ 17.7 ของผู้ป่วยสูงอายุแบบผู้ป่วยในทั้งหมด และส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่มีระดับเศรษฐฐานะต่ำสุดและมีครัวเรือนขนาดเล็ก (1-2 คน) ร้อยละ76 ของกลุ่มผู้ป่วยสูงอายุทั้งหมด ระบุว่ามีคนในครอบครัวดูแล แต่ผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวส่วนใหญ่จัดอยู่ในกลุ่มที่มีเศรษฐฐานะต่ำสุด และมีสัดส่วนของผู้ป่วยในกลุ่มที่มีครัวเรือนขนาดเล็กมากที่สุด ผลการศึกษาสะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นที่ภาครัฐควรให้ความสำคัญกับการดูแลผู้ป่วยสูงอายุในขณะพักฟื้นที่ที่พักอาศัยเพิ่มขึ้นเพื่อให้ผู้สูงอายุและบุคคลในครอบครัวมีสุขภาวะในการดำรงชีวิตที่ดีขึ้น
บทคัดย่อ
The proportion of elderly in Thailand is 16% of population. At hospital discharge, most of elderly
patients still need helps for their daily living activities. This study aims to explore situation of hospitalization
and having carers during the recovery period at home among elderly people. Study samples
were elderly people (age ≥60 years). Data analyses were based on Health and Welfare Survey 2015
conducted by National Statistical Office (NSO). Sample weight was applied using appropriate statistics
to represent total population. The results showed that total number of hospitalized elders in the year
before was 706,183 persons (7% of all elderly people) higher than other age groups (children 3.5%,
and adult 4.5%). Overall, average length of hospital stay was 5.98 days and average number of days
needed care during recovery period at home was 13.06 days. Of all hospitalized elders, patients under
Universal Coverage (UC) scheme were the largest group, whereby those under Civil Servant Medical
Benefit (CS) scheme accounted for 17.2%. Majority of elderly patients under UC scheme were in very
poor quintile. While majority of elderly patients under CS scheme were in very rich quintile. Average
numbers of days needed care during recovery period among elderly patients in poor and very poor
quintiles were higher than those in other quintiles across all schemes. Approximately 17.7% of elderly
patients did not have caregiver during their recovery period at home and most of them were in very
poor quintile and with small household size (1-2 living persons). Although, 76% of elderly patients
were taken care by someone in their family, most of these patients were in very poor quintiles and
had small household size. The government should realize the importance of continuity of care after
hospitalization in order to provide a better living for elderly patients and their families.