บทคัดย่อ
Burkholderia pseudomallei คือสาเหตุของโรคติดเชื้อเมลลิออยโดสีสและยา ceftazidime คือยาที่ใช้ในการรักษา อย่างไรก็ตามอัตราการตายก็ยังพบสูงในพื้นที่ระบาดของโรค การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาอุบัติการณ์ของการกลายพันธุ์ของ blaPenAและblaOXA และแนวโน้มของยาปฏิชีวนะของยากลุ่ม β-lactam ในเชื้อ B. pseudomallei จากผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เชื้อ B. pseudomallei ทั้งหมดจำนวน 1340 ไอโซเลต ที่แยกได้จากผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ โรงพยาบาลศรีสะเกษ และโรงพยาบาลอำนาจเจริญ ในช่วงระหว่าง เดือนมกราคม 2556 ถึง เดือนกุมภาพันธ์ 2558 ถูกนำมาศึกษาความไวของยาต้านจุลชีพต่อเชื้อด้วยวิธี standard disk diffusion และการทำ minimum inhibitory concentration (MIC) เทคนิคปฏิกิริยาลูกโซ่โพลิเมอเรสแบบดั้งเดิม (conventional polymerase chain reaction) ถูกใช้ในการตรวจหายีนสร้างเอนไซม์ β-lactamase คือ blaPenA และ blaOXA ด้วยไพรเมอร์จำเพาะ เชื้อ B. pseudomallei ที่แยกได้จากผู้ป่วยส่วนมากไวต่อยา ceftazidime, piperacillin, cotrimoxazole cipofloxacin และ imipenem ด้วยวิธี standard disk diffusion มี Cefatzidime MIC อยู่ระหว่าง ≤1-≥32 μg/ml และ imipenem MIC อยู่ระหว่าง≤0.5-≥8 μg/ml ค่า MIC50 และ MIC90 ของยา ceftazidimeคือ 2 และ 4 μg/ml ตามลำดับ และ MIC50 and MIC90 ของยา imipenem คือ ≤0.5 และ 1 μg/ml ตามลำดับ การตรวจหายีน class D beta-lactamase หรือ oxa ทำโดยใช้ conventionalPCR และ gel electrophoresis สามารถตรวจพบยีน oxa ได้ทุกตัวอย่างดีเอ็นเอที่สกัดได้จากเชื้อ B. pseudomallei ผลการตรวจสอบลำดับเบส และการวิเคราะห์ลำดับกรดอะมิโนโดยวิธีชีวสารสนเทศ พบว่าลำดับกรดอะมิโนจากการแปลรหัสจากลำดับเบสมีความเหมือน 100% กับลำดับกรดอะมิโนของโปรตีน oxa ในฐานข้อมูล National Center for Biotechnology Information (NCBI) ซึ่งผลการวิเคราะห์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าไม่พบการกลายพันธุ์ทั้งในระดับยีนและระดับยีนและโปรตีน oxa ผลการตรวจหายีน PenA พบว่าไม่สามารถตรวจพบยีน PenA ได้ในทุกโปรตีนตัวอย่างดีเอ็นเอ อย่างไรก็ตามจากการศึกษาตอนเริ่มต้นของคณะผู้วิจัยสามารถตรวจพบยีน PenA ขนาด 300-500 bp ดังนั้นจึงมีความสนใจส่ง amplified product ดังกล่าวไปทำ DNA sequencing เพื่อยืนยันว่าที่พบเป็นยีน PenA
บทคัดย่อ
Burkholderia pseudomallei are a causative agent of melioidosis and ceftazidime is the drug of choice for treatment. However, the motility rate is high in endemic areas. This study aimed to investigate an incident of the blaPenA and blaOXA mutation and tendency of β-lactam antibiotics in B. pseudomallei from patients admitted to hospitals in lower North-East Thailand. A total of 1,340 isolates of patients with B. pseudomallei admitted to Sappasitthiprasong Hospital, Sisaket Hospital, and Amnatcharoen Hospital between January 2013 and February 2015 were determined for antimicrobial susceptibility by standard disk diffusion and minimum inhibitory concentration (MIC). The conventional polymerase chain reaction (PCR) was used for the detection of blaPenA and blaOXA in β-lactamase genes with the specific primers. Almost all of the clinical isolates of B. pseudomallei were susceptible to ceftazidime, piperacillin, cotrimoxazole, cipofloxacin, and imipenem by the standard disk diffusion test. Cefatzidime MIC was ≤1-≥32 μg/ml and imipenem MIC was ≤0.5-≥8 μg/ml. MIC50 and MIC90 of ceftazidime were 2 μg/ml and 4 μg/ml respectively, and MIC50 and MIC90 of imipenem were ≤0.5 μg/ml and 1 μg/ml respectively. The conventional PCR followed by gel electrophoresis revealed that only Class D beta-lactamase gene or oxa was detected in all DNA samples isolated from B. pseudomallei. DNA sequencing followed by amino acid analysis and comparison by the bioinformatic approach found that all translated amino acid sequences showed 100% identity to those reported in the National Center for Biotechnology Information (NCBI) database. This result demonstrated that there were no any mutations in oxa gene in B. pseudomallei. PenA gene was not detected in all DNA samples. However, the penA gene with the length of 300-500 bp was detected from the beginning of this study. It is suggested that this amplified product be sent for sequencing to confirm that it is penA.