• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

คนไทยใช้พลังงานในกิจกรรมทางกายและพฤติกรรมเนือยนิ่งเท่าไร: ข้อมูลจากการสำรวจอนามัยและสวัสดิการ พ.ศ. 2558

ฐิติกร โตโพธิ์ไทย; Thitikorn Topothai; นุชราภรณ์ เลี้ยงรื่นรมย์; Nucharapon Liangruenrom; ชมพูนุท โตโพธิ์ไทย; Chompoonut Topothai; วิชชุกร สุริยะวงศ์ไพศาล; Wichukorn Suriyawongpaisan; สุพล ลิมวัฒนานนท์; Supon Limwattananon; จุฬาภรณ์ ลิมวัฒนานนท์; Chulaporn Limwattananon; กัญจนา ติษยาธิคม; Kanjana Tisayaticom; วลัยพร พัชรนฤมล; Walaiporn Patcharanarumol; วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร; Viroj Tangcharoensathien;
วันที่: 2560-09
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพลังงานที่ใช้ในกิจกรรมทางกายระดับปานกลางและหนักและพฤติกรรมเนือยนิ่งของประชากรไทยทั้งประเทศ โดยจำแนกพลังงานที่ใช้ตามกลุ่มกิจกรรม ได้แก่ การทำงาน การเดินทาง นันทนาการ และพฤติกรรมเนือยนิ่ง และจำแนกพลังงานตามกลุ่มประชากรย่อย ในประชากรไทยอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป จากการสำรวจอนามัยและสวัสดิการ ปี พ.ศ. 2558 จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 113,882 คน โดยใช้สถิติพรรณนาและ two-part model วิเคราะห์พลังงานทั้งหมดและจำแนกตามกลุ่มกิจกรรมทางกายระดับปานกลางและหนัก พบการใช้พลังงานในกิจกรรมทางกายระดับปานกลางและหนักที่ 1,728.0 metabolic equivalent of task-นาที/สัปดาห์ โดยเป็นพลังงานในกลุ่มการทำงานมากที่สุด (1,113.0 MET-นาที/สัปดาห์) โดยเมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศ พบว่ามีค่าน้อยกว่ามาก รองลงมาคือกลุ่มการเดินทาง (286.0 MET-นาที/สัปดาห์) และกลุ่มนันทนาการ (230.0 MET-นาที/สัปดาห์) ในกลุ่มพฤติกรรมเนือยนิ่งพบพลังงานที่ใช้ค่อนข้างสูงที่ 774.0 MET-นาที/สัปดาห์ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้พลังงานใน 3 กิจกรรมทางกาย มากที่สุด คือ เพศชาย วัยผู้ใหญ่ (30-44 ปี) อาศัยนอกเขตเทศบาล เป็นเกษตรกร ประมง หรือแรงงานรับจ้าง มีระดับการศึกษาไม่สูง รายได้ต่ำ ไม่มีโรคประจำตัว และมีปัญหาสุขภาพน้อย ในขณะที่กลุ่มประชากรดังกล่าวใช้พลังงานในพฤติกรรมเนือยนิ่งน้อยกว่า ข้อค้นพบจากการศึกษานี้มีประโยชน์ในการพัฒนานโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายของประเทศไทยด้วยการเปลี่ยนการใช้พลังงานในกลุ่มพฤติกรรมเนือยนิ่งไปเป็นพลังงานในกลุ่มกิจกรรมทางกายอื่น เช่น กลุ่มพนักงานบริษัท มีการใช้พลังงานในกลุ่มการทำงานต่ำ จึงควรมีการส่งเสริมให้มีกิจกรรมทางกายในกลุ่มการทำงานมากขึ้น เช่น การลุกยืนหรือเดินทุกชั่วโมงของการนั่งทำงาน การใช้บันไดแทนลิฟต์ หรือการมีกิจกรรมทางกายในการเดินทาง เช่น การใช้รถโดยสารสาธารณะ การเดิน การปั่นจักรยาน และพัฒนาการสำรวจกิจกรรมทางกายให้มีความแม่นยำและต่อเนื่องมากขึ้น

บทคัดย่อ
This study aimed to determine the amount of energy expenditure from moderate to vigorous intensity physical activity in 3 domains (occupation, transportation, and recreation), and sedentary behavior of Thai adults disaggregated by subgroups of participants. The data of 113,882 Thai adults aged 15 and above from the 2015 National Health and Welfare Survey conducted by National Statistical Office were analyzed using descriptive statistics and two-part model. The results showed that the average energy expenditure from moderate to vigorous intensity physical activity by 3 domains was 1,728 metabolic equivalent of task-minute/week. The energyexpenditure from work domain was the highest (1,113 MET-minute/week), followed by transportation (286 MET-minute/week), and recreation (230 MET-minute/week), much lower than the results from other international studies. The energy expenditure in sedentary activities was also high at 774 MET-minute/week. The energy expenditure from 3 physical activity domains was higher in males and adults (aged 30-44) living in rural areas including farmers and laborers, and those who had lowest education and income levels, without underlying diseases, and self-reported with lower health problem status. These subgroups with higher energy expenditure from physical activity also reported lower energy spent sedentary. Our findings will benefit to the national policy development on physical activity by transforming energy expenditure in sedentary activities to other physical activity domains. For example, office-based employee spent low energy expenditure from work domain should be encouraged to the standing break or walking every hour of sitting, using stairs instead of elevator, or using public transport, walking or biking to workplace. In addition, we urge for the improvement of national physical activity to be more accurate and conducted continuously.
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hsri_journal_v11n ...
ขนาด: 740.1Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 3
ปีงบประมาณนี้: 250
ปีพุทธศักราชนี้: 135
รวมทั้งหมด: 2,266
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Articles [1366]

    บทความวิชาการ


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV