บทคัดย่อ
ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามีเป้าหมายให้คนไทยเข้าถึงบริการสาธารณสุขที่จำเป็น เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของครัวเรือน อย่างไรก็ตามยังมีประชาชนที่ไม่ไปใช้บริการในสถานพยาบาล แต่ซื้อยามารักษาตนเองจากร้านยา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นยาแผนปัจจุบัน งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของประชากรที่เจ็บป่วยโดยไม่ต้องนอนในสถานพยาบาลในรอบเดือนที่ผ่านมาและซื้อยาแผนปัจจุบันมารักษาตนเอง รูปแบบการศึกษา ใช้วิธีการเชิงพรรณนา โดยวิเคราะห์ข้อมูลการสำรวจอนามัยและสวัสดิการ พ.ศ. 2558 ได้ข้อมูลระดับบุคคล 139,848 คน ในการสำรวจมีการสอบถามประวัติการเจ็บป่วยแบบที่ไม่ต้องนอนรักษาในสถานพยาบาลในรอบเดือนที่ผ่านมา การซื้อยาแผนปัจจุบันมารักษาตนเองจากร้านยาและค่าใช้จ่าย ข้อมูลจะถูกถ่วงน้ำหนักตามระเบียบวิธีทางสถิติ เพื่อเป็นตัวแทนประชากรในเขตสุขภาพทั้ง 13 เขต ผลการศึกษาพบว่าในภาพรวมของประเทศไทยนั้น ประชากรที่เจ็บป่วยโดยไม่ต้องนอนโรงพยาบาลมีการดูแลตนเองโดยซื้อยาแผนปัจจุบันมารักษาตนเองโดยไม่ไปสถานบริการทางการแพทย์ร้อยละ 27.2 ทั้งนี้ ประชากรในเขต 7 (ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์) มีการซื้อยาแผนปัจจุบันมารักษาตนเองจากร้านยาเองมากที่สุด (ร้อยละ 37.7) เมื่อจำแนกตามสิทธิการรักษาพบว่าสัดส่วนของประชากรสิทธิประกันสังคมมีการซื้อยาแผนปัจจุบันมารักษาตนเองมากที่สุด (ร้อยละ 35.0) ประชากรที่อยู่นอกเขตเมืองมีการซื้อยาแผนปัจจุบันมากกว่าประชากรที่อยู่ในเขตเมืองถึงร้อยละ 10.4 โดยส่วนใหญ่เป็นประชากรที่มีฐานะทางเศรษฐกิจในระดับยากจนที่สุด และไม่มีโรคประจำตัว ซึ่งโรค/อาการส่วนใหญ่คือ โรคหวัด/ไอ/มีน้ำมูกถึงร้อยละ 44.4 ค่าใช้จ่ายมัธยฐานของการซื้อยาแผนปัจจุบันมารักษาตนเองจากร้านยาเท่ากับ 60 บาทต่อครั้ง กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง/โรคประจำตัวมีค่าใช้จ่ายมากที่สุด เท่ากับ 120 บาทต่อครั้ง งานวิจัยนี้เสนอให้มีการศึกษาต่อไปถึงสาเหตุของการซื้อยารับประทานเองโดยไม่ไปสถานพยาบาล และเสนอให้มีการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพของร้านยาให้มากขึ้น เนื่องจากร้านยาเป็นแหล่งการกระจายยาที่สำคัญในการดูแลตนเองของประชาชน
บทคัดย่อ
Universal Health Coverage aims to increase access to essential health services to minimize household health expenditure. However, a number of people still do not use services provided under the Universal Health Coverage. These people prefer self-medication by buying medicines from community pharmacy. This research aims to study characteristics of these people and the expenditure for self-medication. Descriptive study design was used. The 2015 Health and Welfare Survey data conducted by National Statistical Office containing 139,848 individual persons were analyzed. Based on the survey, an individual who had at least one time of illness that did not require hospitalization within the last month was identified and then the data about self-medication and out-of-pocket payment were collected. Sampling weight was applied using appropriate statistics to make sure that the dataset could represent all Thai population in all 13 health regions. Findings showed that 27.2% of those who had at least one time of illness that did not require hospitalization had self-medication. The percentage of self-medication of region 7 (37.7%) was the highest compared to other regions. By scheme, the highest rate of self-medication was found in the social security members (35.0%). Rural population had 10.4% more self-medication than urban population. Most of the people who used self-medication strategy were in the lowest quintile and had no underlying diseases. Their symptoms included common cold/cough and running nose (44.4%). The median cost of self-medication was 60 Baht per visit. For patients with underlying diseases, cost was as high as 120 Baht per visit. Factors associated with self-medication should be examined in further studies. Quality development of community pharmacy should be implemented because community pharmacy is still the major source of self-treatment.