บทคัดย่อ
การศึกษานี้วิเคราะห์การใช้บริการรักษาพยาบาลโรคทั่วไปของคนไทยในกลุ่มที่ไม่มีสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลใดๆ หรือไม่ทราบสิทธิ รวมถึงไม่ได้รับการขึ้นทะเบียนสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า วิเคราะห์ข้อมูลลักษณะทางประชากร เศรษฐฐานะ และการใช้บริการรักษาพยาบาลกรณีผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในสำหรับโรคทั่วไป และมูลค่าที่ต้องจ่ายเงินเอง (ค่ามัธยฐาน) จากข้อมูลการสำรวจอนามัยและสวัสดิการ พ.ศ. 2558 ผลการศึกษาพบว่า มีผู้ที่ไม่มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพใดๆ หรือไม่ทราบสิทธิคำนวณได้เป็นร้อยละ 1.49 ของประชากรทั้งประเทศ โดยพบมากที่สุดในเขตกรุงเทพมหานคร (ร้อยละ 38) รองลงมาคือ เขตสุขภาพที่ 5 (ร้อยละ 17) และเขตสุขภาพที่ 6 (ร้อยละ 12) มีอายุเฉลี่ย 30 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จบการศึกษาในระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่า และทำงานเป็นลูกจ้างภาคเอกชนเมื่อจำแนกตามเศรษฐฐานะเป็นควินไทล์ซึ่งวัดด้วยดัชนีทรัพย์สินครัวเรือน พบว่า กลุ่มเศรษฐฐานะยากจนที่สุดมีการศึกษาในระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่าในสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 80 เป็นลูกจ้างภาคเอกชนในสัดส่วนสูงกว่ากลุ่มเศรษฐฐานะอื่นๆ โดยภาพรวม ในรอบ 1 เดือน มีการเจ็บป่วยที่ไม่ต้องนอนโรงพยาบาลร้อยละ 10 โดยใช้บริการสถานพยาบาลเอกชนมากที่สุด (ร้อยละ 37) รองลงมาคือร้านยา/การรักษาแบบพื้นบ้านและสถานพยาบาลของรัฐ โดยเสียค่าใช้จ่าย 350 บาท 80 บาท และ 2,300 บาทต่อครั้งตามลำดับ ในกลุ่มที่เศรษฐฐานะยากจนที่สุดเลือกใช้บริการร้านยาในสัดส่วนที่สูงกว่าใช้บริการที่อื่นๆ และสูงกว่าในกลุ่มเศรษฐฐานะอื่นๆ รองลงมาคือ สถานพยาบาลเอกชนและสถานพยาบาลของรัฐ โดยเสียค่าใช้จ่าย 80 บาท 300 บาท และ 200 บาทต่อครั้งตามลำดับ กลุ่มที่มีเศรษฐฐานะรวยที่สุดใช้บริการที่สถานพยาบาลเอกชนสูงสุด โดยเสียค่าใช้จ่าย 1,000 บาทต่อครั้ง รองลงมาคือ สถานพยาบาลของรัฐ เสียค่าใช้จ่าย 2,300 บาทต่อครั้ง แต่เลือกใช้บริการร้านยา/การรักษาแบบพื้นบ้านในสัดส่วนที่ต่ำ สำหรับการนอนโรงพยาบาลในรอบ 12 เดือน โดยภาพรวมพบเพียงร้อยละ 4 และไม่ค่อยแตกต่างกันระหว่างเศรษฐฐานะ ส่วนใหญ่เลือกใช้สถานพยาบาลของรัฐ ทั้งนี้กลุ่มเศรษฐฐานะยากจนที่สุดทุกรายใช้สถานพยาบาลของรัฐและเสียค่าใช้จ่าย 8,000 บาทต่อครั้ง ในขณะที่กลุ่มที่รวยที่สุดใช้สถานพยาบาลเอกชนในสัดส่วนที่สูงและเสียค่าใช้จ่าย 40,000 บาทต่อครั้ง
บทคัดย่อ
This study analyzed health care utilization of Thai people who did not have or were not aware of health insurance, using data from Health and Welfare Survey 2015. Demographic, socio-economic characteristics plus utilization patterns of outpatient (OP) and inpatient (IP) services were analyzed. Out of pocket payment was reported as the median amount. The results showed that 1.49% of Thai population neither had health insurance nor knew their status. Majority (38%) lived in Bangkok while 17% and 12% lived in Health Region 5 and 6, respectively. Approximately 51% were male and aged 30 years on average. Sixty-five percent completed up to the primary schools and 41% were private employees. With respect to economic gradients as measured by household asset index, the poorest quintile had a greater proportion of the primary school graduates and private employees than the rest. Of all Thai population, ten percent reported having non-hospitalized illnesses (outpatient, OP) during one month and mainly received care at private hospitals (37%) and clinics followed by drug stores or traditional healers, and public hospitals. Median paid amounts for the above OP services were 350, 80, and 2,300 baht per visit, respectively. The poorest quintile used drug stores in the largest proportion, followed by private and public facilities, and paid for a visit of 80, 300, and 200 baht, respectively. The richest quintile used private facilities the most, followed by public facilities, and drug stores. There were only four percent reporting being hospitalized during the past year, which was not different across economic quintiles. Approximately, 70% of those hospitalized were admitted to public hospitals. All people in the poorest quintile were hospitalized in the public hospitals and paid 8,000 baht per admission, while 69% of the richest quintile were hospitalized in the private hospitals and paid 40,000 baht per admission. To mitigate financial risks to health payments by households, especially among the poor, and strategies for identifying the Thai population who did not get access to the UCS registration are thekey priority issues, especially in the urban areas and big cities.