แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การเฝ้าระวังการบริโภคยาต้านจุลชีพของประเทศไทย: รากฐานเพื่อการควบคุมเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ

dc.contributor.authorคณะวิจัยและพัฒนาระบบติดตามการบริโภคยาต้านจุลชีพของประเทศไทยth_TH
dc.contributor.authorDevelopment on Surveillance of Antimicrobial Consumption (SAC) in Human and Animal Project Researcher Teamen_EN
dc.contributor.authorสุณิชา ชานวาทิกth_TH
dc.contributor.authorSunicha Chanvatiken_EN
dc.date.accessioned2018-01-03T07:47:29Z
dc.date.available2018-01-03T07:47:29Z
dc.date.issued2560-12
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 11,4 (ต.ค.-ธ.ค. 2560) : 593-607th_TH
dc.identifier.issn0858-9437
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4821
dc.description.abstractการดื้อยาต้านจุลชีพ (antimicrobial resistance: AMR) เป็นภัยคุกคามที่สำคัญทางสาธารณสุขในปัจจุบันและนับวันจะยิ่งส่งผลทวีความรุนแรงมากขึ้น แม้ว่าการดื้อยาต้านจุลชีพจะเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติ แต่การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างไม่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการใช้มากเกินความจำเป็น การใช้โดยไม่มีข้อบ่งชี้ เป็นปัจจัยที่สำคัญในการกระตุ้นให้เกิดการดื้อยาต้านจุลชีพเร็วขึ้นและเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น เพื่อให้เกิดการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมในมนุษย์และสัตว์ที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการระดับโลกเรื่องการดื้อยาต้านจุลชีพ (Global Action Plan on Antimicrobial Resistance) ประเทศจำเป็นต้องพัฒนาระบบเฝ้าระวังที่มีความยั่งยืน สามารถใช้ในการติดตามการบริโภคยาต้านจุลชีพ (antimicrobial consumption) ในมนุษย์และสัตว์ เพื่อนำมาซึ่งข้อมูลที่เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์สำหรับการกำหนดและขับเคลื่อนนโยบาย บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนข้อมูลเกี่ยวกับระบบเฝ้าระวังการบริโภคยาต้านจุลชีพในต่างประเทศ และวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการจัดตั้งระบบติดตามการใช้ยาต้านจุลชีพของประเทศไทย ในประเทศที่พัฒนาแล้ว รวมถึงในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป มีการพัฒนาจนเกิดระบบการติดตามการบริโภคยาต้านจุลชีพที่มีความยั่งยืน และสามารถนำไปใช้ในการกำหนดนโยบายในระดับประเทศได้ ประเทศไทยอยู่ในระหว่างการพัฒนาระบบที่ประยุกต์มาจากระบบเฝ้าระวังการบริโภคยาต้านจุลชีพของภูมิภาคยุโรป เป็นการทำงานร่วมกันของนักวิจัยจากหลากหลายภาคส่วน โดยมีสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เป็นหน่วยงานหลักที่ทำหน้าที่ในการติดตามฯ ที่ผ่านมา ข้อมูลการบริโภคยาต้านจุลชีพในมนุษย์เป็นการประมาณการจากมูลค่าการผลิตและนำเข้ายาต้านจุลชีพจากระบบรายงานประจำปีที่ผู้ประกอบการรายงานมายังสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีข้อจำกัด ไม่สามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจเชิงนโยบายได้ เนื่องจากเป็นข้อมูลเชิงมูลค่าและไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบสถานการณ์การบริโภคยาต้านจุลชีพกับประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะประเทศในสหภาพยุโรปได้ ความท้าทายในการพัฒนาระบบเฝ้าระวังการบริโภคยาต้านจุลชีพของประเทศไทย ได้แก่ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการรายงานการใช้ยาต้านจุลชีพ และแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับระบบติดตามการบริโภคยาต้านจุลชีพในประเทศไทย ได้แก่ ข้อมูลปริมาณยาต้านจุลชีพที่ใช้ และข้อมูลจำนวนประชากรในมนุษย์และสัตว์ที่ใช้ยานี้th_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectการดื้อยาต้านจุลชีพth_TH
dc.subjectAntimicrobialen_EN
dc.titleการเฝ้าระวังการบริโภคยาต้านจุลชีพของประเทศไทย: รากฐานเพื่อการควบคุมเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพth_TH
dc.title.alternativeSurveillance of Antimicrobial Consumption in Thailand: A Foundation for Controlling Antimicrobial Resistanceen_EN
dc.typeArticleth_TH
dc.description.abstractalternativeAntimicrobial resistance (AMR) is one of the most serious health threats worldwide and it has become more intense to day-to-day concerns. Excessive and inappropriate uses of antimicrobial are main drivers of the emergence of resistant bacterial strains. To optimize use of antimicrobial agents in human and animal, as recommended by the Global Action Plan on AMR, countries need to develop and sustain the system which monitors antimicrobial consumption in human and animal and disseminate for policy decision. Hence, national surveillance of antimicrobial consumption is an important tool to provide these useful evidences to policy makers and relevant AMR agencies on antimicrobial consumption in humans and animals and its distribution at the national level. The objective of this paper is to review surveillance systems of antimicrobial consumption in European countries and to explore the possibility of establishment of the Thai Surveillance of Antimicrobial Consumption (Thai-SAC) in humans and animals. Developed countries, including European countries have institutionalized capacities to sustain SAC system and ensure policy uses. In Thailand, with the application of experiences and guidelines from the European SAC and European Surveillance of Veterinary Antimicrobial Consumption, the national SAC covering human and animal sector consumptions are in development process by the Thai working group consisting of multi-sectoral, multi-disciplinary researchers and key stakeholders particularly the Thai Food and Drug Administration. In human sector, the current estimate of human medicine consumption including antibiotics in monetary value does not provide data on the volume of consumption hence unable to monitor the use of antibiotics and benchmark with other countries in particular European countries. The challenges for Thai-SAC include law and enforcement on antimicrobial regulation, and the relevant database of antimicrobial consumption in human and animal populations in Thailand.en_EN
.custom.citationคณะวิจัยและพัฒนาระบบติดตามการบริโภคยาต้านจุลชีพของประเทศไทย, Development on Surveillance of Antimicrobial Consumption (SAC) in Human and Animal Project Researcher Team, สุณิชา ชานวาทิก and Sunicha Chanvatik. "การเฝ้าระวังการบริโภคยาต้านจุลชีพของประเทศไทย: รากฐานเพื่อการควบคุมเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ." 2560. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4821">http://hdl.handle.net/11228/4821</a>.
.custom.total_download3258
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month18
.custom.downloaded_this_year753
.custom.downloaded_fiscal_year185

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hsri_journal_v11n ...
ขนาด: 462.2Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

  • Articles [1352]
    บทความวิชาการ

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย