แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการดูแลระยะยาว (Long-term care) สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

dc.contributor.authorสัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์th_TH
dc.contributor.authorไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาลth_TH
dc.contributor.authorวิชช์ เกษมทรัพย์th_TH
dc.contributor.authorวิชัย เอกพลากรth_TH
dc.contributor.authorบวรศม ลีระพันธ์th_TH
dc.date.accessioned2018-03-26T06:17:05Z
dc.date.available2018-03-26T06:17:05Z
dc.date.issued2561-02
dc.identifier.otherhs2397
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4850
dc.description.abstractเป็นที่รับทราบกันดีโดยทั่วไปในสังคมแล้วว่าประเทศไทยเราก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยเรียบร้อยแล้วและในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าประเทศไทยเราก็จะก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัย เรามีผู้สูงอายุถึงร้อยละ 20 ของประชากร ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากรดังกล่าวมาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของภาระโรคที่มาจากโรคติดต่อเรื้อรังที่รักษาไม่หายและมักมีภาวะทุพพลภาพตามมา ขณะเดียวกันอายุที่มากขึ้นก็ตามมาด้วยการถดถอยของสมรรถนะการทำงานของอวัยวะต่างๆ รวมถึงสมรรถนะทางกายและสมอง ส่งผลให้มีจำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้หรือได้จำกัดเพิ่มมากขึ้น และต้องการการดูแลจากบุคคลในครอบครัวมากขึ้น สวนทางกับการถดถอยของสมรรถนะของครอบครัวในการให้การดูแลผู้สูงอายุ อันเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม ครอบครัวมีขนาดเล็กลง การเคลื่อนย้ายของประชากรวัยแรงงานไปต่างถิ่น สตรีมีบทบาททางเศรษฐกิจนอกบ้านมากขึ้น เป็นต้น ทำให้มีผู้สูงอายุที่อาศัยตามลำพังคนเดียวหรืออยู่ลำพังสองคนตายายเพิ่มขึ้น สภาพความเป็นจริงดังกล่าวทำให้หลายๆ พื้นที่ มีการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือกันในชุมชนโดยความร่วมมือของทีมสาธารณสุข ท้องถิ่นและภาคประชาชนในการจัดการบริการแก่ผู้สูงอายุและผู้มีภาวะพึ่งพิงในชุมชนขึ้น ตลอดจนมีการขับเคลื่อนผลักดันเชิงนโยบายของรัฐบาลในปี 2558 นี้เองและเริ่มมีงบประมาณสนับสนุนให้ในปีงบประมาณ 2559 เป็นปีแรก โดยให้มีการนำร่องใน 1,000 ตำบล ที่มีความพร้อมและมีเป้าหมายการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงจำนวน 100,000 คน โดยอาศัยกลไกกองทุนตำบล ซึ่งทางสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ไปริเริ่มไว้ตั้งแต่ปี 2549 เป็นกลไกหลักให้ครอบครัวเป็นผู้ดูแลหลักและระบบนี้ไปช่วยหนุนเสริมการดูแลภายใต้การสนับสนุนของท้องถิ่นและระบบบริการสาธารณสุข เนื่องจากการดำเนินงานตามนโยบายนี้ยังมีลักษณะเป็นการนำร่อง ไม่ได้ดำเนินการเต็มทุกพื้นที่ หลายประเด็นก็อาจยังไม่ลงตัว ประกอบกับการที่จะขยายไปยังพื้นที่อื่นๆ ที่เหลือต้องมีการพัฒนาด้านกำลังคนก่อน การประเมินระหว่างการดำเนินงาน (Formative Evaluation) ในปีแรกในงานนี้จึงมีประโยชน์ เพื่อการพัฒนาด้านนโยบายและการพัฒนาการดำเนินงานตามนโยบายให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ มีประสิทธิผล ประสิทธิภาพ และเป็นธรรม และเป็นประโยชน์ในการเตรียมระบบเพื่อขยายไปยังพื้นที่อื่นๆ ต่อไปth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectผู้สูงอายุ--การดูแลระยะยาวth_TH
dc.subjectLong-Term Careth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการดูแลระยะยาว (Long-term care) สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.identifier.callnoWT20 ส616ก 2561
dc.identifier.contactno59-058
.custom.citationสัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์, ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล, วิชช์ เกษมทรัพย์, วิชัย เอกพลากร and บวรศม ลีระพันธ์. "การวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการดูแลระยะยาว (Long-term care) สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ." 2561. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4850">http://hdl.handle.net/11228/4850</a>.
.custom.total_download38571
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month12
.custom.downloaded_this_year84
.custom.downloaded_fiscal_year18

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2397.pdf
ขนาด: 4.298Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย