ทฤษฎีและกรอบแนวคิดของการวิจัยเพื่อนำนโยบายสาธารณสุขไปสู่การปฏิบัติ: การวิจัยอย่างเป็นระบบเพื่อค้นหากลยุทธ์การปฏิบัติตามนโยบายที่มีประสิทธิภาพ
dc.contributor.author | ศิรินาถ ตงศิริ | th_TH |
dc.contributor.author | Sirinart Tongsiri | en_US |
dc.contributor.author | ศุภวิตา แสนศักดิ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Suprawita Saensak | en_US |
dc.contributor.author | ชนัตถา พลอยเลื่อมแสง | th_TH |
dc.contributor.author | Chanuttha Ploylearmsang | en_US |
dc.contributor.author | วรพจน์ พรหมสัตยพรต | th_TH |
dc.contributor.author | Vorapoj Promsattayaprot | en_US |
dc.contributor.author | สุมัทนา กลางคาร | th_TH |
dc.contributor.author | Sumattana Klangkan | en_US |
dc.date.accessioned | 2018-03-30T02:43:26Z | |
dc.date.available | 2018-03-30T02:43:26Z | |
dc.date.issued | 2561-03 | |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 12,1 (ม.ค.-มี.ค. 2561) : 7-26 | th_TH |
dc.identifier.issn | 0858-9437 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/4852 | |
dc.description.abstract | การนำสิ่งที่กำหนดไว้ในนโยบายไปปฏิบัติ ต้องการองค์ความรู้ที่แตกต่างไปจากการพัฒนานโยบาย ดังนั้น จึงต้องมีการวิจัยการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ (implementation research: IR) เพื่อพัฒนาวิธีการหรือกลยุทธ์ในการนำนโยบายไปปฏิบัติให้เกิดผลสำเร็จตามความมุ่งหมายของนโยบาย รายงานนี้ใช้การทบทวนวรรณกรรมแบบ scoping review เพื่อรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีและกรอบแนวคิดของการวิจัยเพื่อนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ แม้การวิจัยแบบนี้จะมีการดำเนินงานมาบ้างแล้ว แต่การวิจัยเหล่านั้นยังไม่เป็นระบบ ไม่ต่อเนื่อง และยังไม่เป็นมาตรฐานเพียงพอ รายงานนี้ได้นำเสนอแนวคิดและทฤษฎีจำนวน 6 ทฤษฎี ในงานวิจัยหนึ่งอาจจะต้องใช้มากกว่า 1 แนวคิดหรือทฤษฎี ในการวิจัย IR สามารถกระทำในระยะก่อน ระหว่างและหลังการนำนโยบายไปปฏิบัติ ใช้การวิจัยเชิงปริมาณหรือเชิงคุณภาพ หรือทั้งสองแบบ บริบทของพื้นที่มีความสำคัญต่อการปฏิบัติตามนโยบาย ผลของการวิจัยนโยบายที่ประสบความสำเร็จในการนำไปปฏิบัติในพื้นที่หนึ่ง ไม่ได้หมายความว่าจะประสบความสำเร็จในพื้นที่อื่น ผู้กำหนดนโยบายหรือผู้นำนโยบายลงสู่การปฏิบัติควรใช้วิธีการที่หลากหลายและเหมาะสมกับบริบท และให้มีความสมดุลระหว่างความซื่อตรงต่อนโยบายที่จะปฏิบัติ (fidelity) กับการปรับนโยบายให้เหมาะสม (adaptability) รวมทั้งควรอนุญาตให้ผู้ปฏิบัติเข้ามามีส่วนร่วมในการออกแบบวิธีการนำนโยบายไปปฏิบัติ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของกลยุทธ์ในการดำเนินนโยบาย ผู้กำหนดนโยบายควรให้ความสำคัญกับการสร้างมาตรฐานการวิจัยเรื่องนี้และส่งเสริมให้มีการวิจัยการนำนโยบายหนึ่งๆ ไปปฏิบัติในระยะยาวและกระทำอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ได้ข้อมูลป้อนกลับเข้าไปในวงจรการพัฒนานโยบายหรือปรับปรุงนโยบายต่อไป | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | การบริหารสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | นโยบายสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Health Administration | en_US |
dc.subject | Health policy | en_US |
dc.title | ทฤษฎีและกรอบแนวคิดของการวิจัยเพื่อนำนโยบายสาธารณสุขไปสู่การปฏิบัติ: การวิจัยอย่างเป็นระบบเพื่อค้นหากลยุทธ์การปฏิบัติตามนโยบายที่มีประสิทธิภาพ | th_TH |
dc.title.alternative | Theories and Concepts of Public Health Policy Implementation Research: Call for Systematic Action to Achieve Efficient Implementation Strategies | en_US |
dc.type | Article | th_TH |
dc.description.abstractalternative | Implementation of a policy needs different knowledge from that for formulating or adjusting one. Implementation Research (IR) aims to develop strategies to bring policy into effects and achieve successful results as stated in policy. This study used scoping review method to gather knowledge regarding theories and concepts of implementation research. Although IR has been conducted for some times, the attempts still are unsystematic, scattered and unstandardized. The report addressed 6 theories and conceptual frameworks from which a research can utilize more than one. IR can be conducted at pre-, during- or post-implementation using quantitative, qualitative or mixed methods. Context plays an important role in implementation. Therefore a successful implementation in one context cannot guarantee another success in others. To implement a policy, an implementer or a policy maker needs to consider a variety of implementation strategies and balance between policy adaptability and policy fidelity. Health care workers should be allowed to be involved in designing implementation strategies to enhance effective policy implementation process. Policy maker should pay more attention to establish standardized and longitudinal study of implementation research to achieve information regarding implementation of a policy as inputs to contribute with a policy process especially a policy formulation or a policy adaptation. | en_US |
.custom.citation | ศิรินาถ ตงศิริ, Sirinart Tongsiri, ศุภวิตา แสนศักดิ์, Suprawita Saensak, ชนัตถา พลอยเลื่อมแสง, Chanuttha Ploylearmsang, วรพจน์ พรหมสัตยพรต, Vorapoj Promsattayaprot, สุมัทนา กลางคาร and Sumattana Klangkan. "ทฤษฎีและกรอบแนวคิดของการวิจัยเพื่อนำนโยบายสาธารณสุขไปสู่การปฏิบัติ: การวิจัยอย่างเป็นระบบเพื่อค้นหากลยุทธ์การปฏิบัติตามนโยบายที่มีประสิทธิภาพ." 2561. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4852">http://hdl.handle.net/11228/4852</a>. | |
.custom.total_download | 13605 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 223 | |
.custom.downloaded_this_year | 2392 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 618 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
ฉบับเต็ม
ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้
-
Articles [1352]
บทความวิชาการ