บทคัดย่อ
การนำวัคซีนใหม่เข้ามาใช้ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ได้แก่ นโยบาย แนวทางปฏิบัติ และการประเมินทางเศรษฐศาสตร์ ผู้ที่เกี่ยวข้องต่างๆ จึงพิจารณาปัจจัยสำคัญที่แตกต่างกันไปในการนำวัคซีนใหม่เข้าสู่โครงการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันแห่งชาติ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาปัจจัยที่มีผลต่อการคัดเลือกวัคซีนใหม่จากมุมมองของผู้กำหนดนโยบาย นักวิชาการ และบุคลากรสาธารณสุข ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับวัคซีน (attribute) ที่ใช้ในการศึกษาได้มาจากการทบทวนวรรณกรรมและการสัมภาษณ์บุคลากรสาธารณสุข ปัจจัยดังกล่าว ได้แก่ ภาระโรค กลุ่มอายุ ผลกระทบด้านงบประมาณ อาการไข้หลังได้รับวัคซีน ความรุนแรงของโรค ประสิทธิผลของวัคซีน และราคาของวัคซีน การศึกษานี้ใช้ main-effects orthogonal design เพื่อกำหนด 18 สถานการณ์ จากนั้นเก็บข้อมูลเชิงสำรวจทางไปรษณีย์จากผู้กำหนดนโยบาย นักวิชาการ และบุคลากรสาธารณสุข โดยผู้ตอบแบบสอบถามเลือกตัวเลือกที่มีความสำคัญมากที่สุดและน้อยที่สุดในแต่ละสถานการณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ conditional logistic regression เพื่อหา importance weight ของปัจจัยต่างๆ และคำนวณ relative attribute importance ต่อไป จากการส่งแบบสอบถาม ได้รับแบบสอบถามคืนทั้งสิ้น 70 ชุด (อัตราตอบกลับร้อยละ 55) ได้แก่ ผู้กำหนดนโยบาย 11 คน นักวิชาการ 26 คน และบุคลากรสาธารณสุข 33 คน ปัจจัยที่ผู้ตอบให้ความสำคัญมากที่สุดในการคัดเลือกวัคซีนใหม่ ได้แก่ ความรุนแรงของโรค (ร้อยละ 35.9) อาการไข้จากวัคซีน (ร้อยละ 16.7) และภาระโรค (ร้อยละ 13.5) ตามลำดับ โดยผู้กำหนดนโยบายและนักวิชาการให้ความสำคัญกับความรุนแรงของโรค (ร้อยละ 35.0 และ 35.9) อาการไข้จากวัคซีน (ร้อยละ 22.9 และ 17.0) และภาระโรค (ร้อยละ 14.8 และ 15.3) ตามลำดับ ส่วนบุคลากรสาธารณสุขให้ความสำคัญกับความรุนแรงของโรค (ร้อยละ 32.5) ผลกระทบด้านงบประมาณ (ร้อยละ 15.1) และอาการไข้จากวัคซีน (ร้อยละ 15.0) ตามลำดับ ผู้ตอบแบบสอบถามในการศึกษานี้ให้ความสำคัญต่อวัคซีนใหม่ที่สามารถป้องกันโรคที่มีความรุนแรงในเด็กเล็ก ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงปัจจัยที่มีความสำคัญในการคัดเลือกวัคซีนใหม่จากบุคคลที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนานโยบายในการคัดเลือกวัคซีนใหม่เข้าสู่ประเทศต่อไป
บทคัดย่อ
The introduction of new vaccines depends on various criteria, including policies, clinical guidelines and economic considerations. Various stakeholders have differing criteria they view as important in selecting vaccines into a national immunization program. The present study aimed to identify factors impacting the adoption of new vaccines from the perspective of policy makers, healthcare professionals and healthcare administrators. The vaccine attributes identified from a literature review and semi-struc¬tured interviews were categorized into burden of disease, age group, budget impact, fever from vaccine, severity of disease, vaccine effectiveness and cost of vaccine. Main-effects orthogonal design was used to identify 18 profiles. Then a postal survey was conducted among policy makers, healthcare profes-sionals and healthcare administrators. Respondents were asked to choose the most important and the least important choices in each profile. Conditional logistic regression was used to estimate importance weights of attribute levels, and then relative attribute importance was calculated. A total of seventy respondents completed the questionnaires (a 55% response rate), including 11 policy makers, 26 health¬care professionals, and 33 healthcare administrators. The attributes listed by all groups as being the most important for new vaccine adoption were severity of disease (35.9%), fever from vaccine (16.7%) and burden of disease (13.5%), respectively. Policy makers and healthcare professionals listed severity of disease (35.0% and 35.9%), fever from vaccine (22.9% and 17.0%) and burden of disease (14.8% and 15.3%) as the most important, respectively; whereas healthcare administrators listed severity of disease (32.5%), budget impact (15.1%) and fever from vaccine (15.0%) as the most important, respectively. New vaccines with high protection targeting severe disease in young children have a greater chance of being selected by respondents in the present study. The findings reveal the importance of attributes from public healthcare workers and will be useful for policy development of new vaccine adoption.