dc.contributor.author | วรารัตน์ ใจชื่น | th_TH |
dc.contributor.author | Wararat Jaichuen | en_EN |
dc.date.accessioned | 2018-06-28T06:30:03Z | |
dc.date.available | 2018-06-28T06:30:03Z | |
dc.date.issued | 2561-06 | |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 12,2 (เม.ย.-มิ.ย. 2561) : 221-231 | th_TH |
dc.identifier.issn | 0858-9437 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/4905 | |
dc.description.abstract | ประเทศไทยมีการประมาณการความต้องการทันตบุคลากรหลายครั้ง วิธีการหลักที่ใช้ประมาณการความต้องการทันตแพทย์อ้างอิงจากสภาวะทันตสุขภาพของประชากรแล้วนำมาแปลงเป็นบริการที่ประชากรควรได้รับในมุมมองของทันตแพทย์ และยังไม่พบการประมาณการฯ ที่มีการบูรณาการการทำงานของทันตแพทย์ร่วมกับทันตาภิบาลตามสภาพการปฏิบัติงานจริง สำหรับการประมาณการฯ ที่ผ่านมานั้น พบว่า ยังขาดรายละเอียดข้อมูลการสูญเสียบุคลากรโดยเฉพาะในส่วนของทันตาภิบาล การศึกษานี้ใช้วิธีการที่แตกต่างไปจากเดิม โดยกำหนดขอบเขตการประมาณการเฉพาะหน่วยงานที่มีภารกิจหลักในการจัดบริการ และใช้แนวคิดการถ่ายโอนงานระหว่างทันตแพทย์กับทันตาภิบาลเพื่อกำจัดความต้องการบุคลากรที่เกิดจากภาระงานที่ซ้ำซ้อน อ้างอิงข้อมูลสถิติการใช้บริการของประชากรร่วมกับการตั้งเป้าหมายการจัดบริการตามทิศทางของกระทรวงสาธารณสุข สำหรับการประมาณการจำนวนทันตบุคลากรที่มีในระบบบริการ ตั้งต้นจากข้อมูลทันตบุคลากรที่มีอยู่จริงตามฐานข้อมูลของสำนักทันตสาธารณสุข และคาดการณ์ไปข้างหน้าโดยอ้างอิงอัตราการเข้าและออกจากระบบบริการตามข้อมูลที่มีในปัจจุบัน ผลการคาดการณ์ในปี พ.ศ. 2569 พบว่า ความต้องการทันตแพทย์อยู่ที่จำนวนระหว่าง 15,742-16,764 คน (คิดเป็นอัตราส่วนทันตแพทย์ต่อประชากร คือ 1 : 4,217 และ 1 : 3,960 ตามลำดับ) ส่วนความต้องการทันตาภิบาลอยู่ที่จำนวนระหว่าง 8,669–12,140 คน (คิดเป็นอัตราส่วนทันตาภิบาลต่อประชากร คือ 1 : 7,657 และ 1 : 5,468 ตามลำดับ) ขึ้นอยู่กับอัตราส่วนภาระงานรักษาทางทันตกรรมที่ถ่ายโอนให้ทันตาภิบาล ทั้งนี้เมื่อกำหนดให้ทันตแพทย์เป็นผู้รับผิดชอบภาระงานรักษาทางทันตกรรมทั้งหมด ส่วนทันตาภิบาลรับภาระงานในส่วนของการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคทางทันตสุขภาพเท่านั้น พบว่า มีแนวโน้มของความสมดุลระหว่างความต้องการทันตบุคลากรกับจำนวนที่มีอยู่ในระบบบริการทั้งทันตแพทย์และทันตาภิบาล โดยไม่จำเป็นต้องขยายกำลังการผลิต แต่จำเป็นต้องป้องกันการสูญเสียทันตาภิบาลออกจากระบบบริการ | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | ทันตบุคลากร | th_TH |
dc.subject | dentistry | en_EN |
dc.subject | กำลังคนด้านสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Health manpower | en_EN |
dc.subject | บุคลากรสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Health personnel | en_EN |
dc.subject | บุคลากรทางการแพทย์ | th_TH |
dc.subject | Medical personnel | en_EN |
dc.title | การคาดการณ์กำลังคนในกลุ่มทันตบุคลากรของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2569 | th_TH |
dc.title.alternative | Dentist and Dental Nurse Projections for Thailand in the Year 2026 | en_EN |
dc.type | Article | th_TH |
dc.description.abstractalternative | Previous forecasts of dental health work force demand in Thailand mostly used health need method, adopting health need data in professional view linked to demand for dentist only, contradicting the real practice which dentist works together with dental nurse. On the supply side, the loss rates especially for dental nurses were overlooked. The present study used different technique from the past, i.e., health demand technique mixed with service target. Scope of the present study was limited to dental health organizations with major service role. Task shift from dentist to dental nurse was assumed to be completely shifting, with no overlapping of duty. Supply side started with actual number of active personnel, then adding with actual number of students in production line and current loss rate. The result in 2026 showed 15,742-16,764 dentists in demand (dentist to population ratio of 1 : 4,217 and 1 : 3,960 respectively), and 8,669–12,140 dental nurses in demand (dental nurse to population ratio of 1 : 7,657 and 1 : 5,468 respectively), varying on proportion of clinical dental service of each profession. However, balancing the supply of and demand for both dentist and dental nurse by limiting all treatment services to dentist while health prevention and promotion services to dental nurse, the production rate of dentist can stay at the present rate, while retention rate of dental nurse should be paid higher attention. | en_EN |
.custom.citation | วรารัตน์ ใจชื่น and Wararat Jaichuen. "การคาดการณ์กำลังคนในกลุ่มทันตบุคลากรของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2569." 2561. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4905">http://hdl.handle.net/11228/4905</a>. | |
.custom.total_download | 5938 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 97 | |
.custom.downloaded_this_year | 821 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 172 | |