บทคัดย่อ
การวางแผนกำลังคนด้านสุขภาพที่มีประสิทธิภาพต้องอาศัยข้อมูลเชิงประจักษ์สำหรับรองรับการตัดสินใจ ดังนั้นการคาดการณ์ความต้องการกำลังคนที่สอดคล้องกับระบบสุขภาพที่พึงประสงค์จึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อจะนำไปสู่การวิเคราะห์ปัญหาความไม่สอดคล้องระหว่างจำนวนความต้องการกำลังคน (human resources for health requirements) กับจำนวนกำลังคนที่ควรจะรองรับ (human resources for health supply) และนำไปสู่การพัฒนาแผนกำลังคนด้านสุขภาพเพื่อแก้ปัญหานี้ต่อไป การคาดการณ์ความต้องการกำลังคนสามารถดำเนินการได้ทั้งในภาพกว้างระดับประเทศ และในระดับพื้นที่หรือระดับสถานบริการ วิธีการคาดการณ์ในระดับประเทศหรือภูมิภาคที่เป็นที่รู้จัก เช่น วิธีกำหนดอัตราส่วนประชากร (population ratio) วิธีความจำเป็นด้านสุขภาพ (health needs) วิธีความต้องการด้านสุขภาพ (health demand) และวิธีเป้าหมายบริการ (service target) แต่ละวิธีมีจุดแข็งและข้อจำกัดที่แตกต่างกัน ส่วนการคาดการณ์กำลังคนในระดับสถานบริการนั้น มีการให้ความสำคัญกับรายละเอียดของงานและกิจกรรมต่างๆ การทำงานร่วมกันระหว่างทีมสุขภาพ และผลิตภาพ ซึ่งวิธีการคาดการณ์ความต้องการกำลังคนระดับสถานบริการ เช่น วิธีการทำงานทดแทนกัน (skill mix) วิธีพิจารณาตัวชี้วัดความต้องการบุคลากร (workload indicators of staffing need: WISN) และวิธีวิเคราะห์งานและบทบาทหน้าที่ (job and functional analysis) ข้อเสนอแนะเพื่อให้การคาดการณ์กำลังคนนำไปสู่การวางแผนกำลังคนที่มีประสิทธิภาพ คือ 1) ควรมีการปรับปรุงการคาดการณ์ให้ทันกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปอยู่เสมอ 2) พัฒนาฐานข้อมูลรองรับการคาดการณ์ความต้องการอย่างมีประสิทธิภาพ 3) ควรมีการคาดการณ์ความต้องการกำลังคนทั้งระดับประเทศและระดับสถานบริการ 4) ควรคาดการณ์ความต้องการกำลังคนร่วมกันระหว่างวิชาชีพที่ทำงานร่วมกัน และ 5) เลือกวิธีการคาดการณ์ที่เหมาะสม
บทคัดย่อ
Effective human resources for health (HRH) planning require evidence-based information to support the decision making. HRH requirement projection in line with desired health service system could therefore be compared with HRH supply projection in order to identify gaps. Gap analysis leads to the development of the HRH plan in order to solve those problems. HRH requirement projection could be carried out both at national level as well as at health facility level. The approaches used to forecast the HRH requirements at national level are: population ratio method, health needs method, health demand method, and service target method. Each approach has its strengths and limitations. At health facility level, the HRH forecast emphasizes on task and functional, skill mix, productivity, etc. Approaches used for the HRH projection include: skill mix, workload indicators of staffing need (WISN), task and functional analysis. Recommendations to strengthen HRH requirement projection to support effective HRH planning include: 1) HRH projection should be revised often to be in line with the changing context, 2) HRH information to support HRH projections should be updated, 3) HRH requirement projections should be done at national level as well as at facility level, 4) HRH requirement projections should not be done separately by each profession, but should be rather forecasted interrelated among health teams, 5) choosing appropriate method of HRH projection.