• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การศึกษาแบบสุ่มเปรียบเทียบระหว่างการรักษาด้วยรังสีรักษาร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัดกับการรักษาด้วยรังสีรักษาร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัดตามด้วยการให้ยาเคมีบำบัดเพิ่มเติมในผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกระยะลุกลามเฉพาะที่

ศิริวรรณ ตั้งจิตกมล; Siriwan Tangjitgamol; วิชาญ หล่อวิทยา; Vichan Lordvithaya; คณิศา รองศรีแย้ม; Kanisa Rongsriyam; จักรพันธ์ ขุนณรงค์; Jakkapan Khunnarong; สุนำโชค ศรีใจพระเจริญ; Sunamchok Srijaipracharoen; บุษบา ศุภวัฒน์ธนบดี; Busaba Supawattanabodee; กันยารัตน์ กตัญญู; Kanyarat Katanyoo; จตุพล ศรีสมบูรณ์; Jatupol Srisomboon; เอกสิทธ์ ธราวิจิตรกุล; Ekkasit Tharavijitkul; ดวงใจ แสงถวัลย์; Duangjai Sangthawan; ธิติ อัจจิมากุล; Thiti Atjimakul; ประเสริฐ เลิศสงวนสินชัย; Prasert Lertsanguansinchai; ปิยะวรรณ ปริยวาทีกุล; Piyawan Pariyawateekul; อภิรดี กฤดากร; Apiradee Kridakara; ช่อแก้ว โตวณะบุตร; Chokaew Tovanabutra; จิรศักดิ์ สุขาบูรณ์; Jirasak Sukhaboon; ทัศน์วรรณ อาษากิจ; Tussawan Asakit; Kannika Paengchit; สมคิด เพ็ญพัธนกุล; Somkit Penpattanagul; สิเรนทรา หวังลิขิตกูล; Sirentra Wanglikitkoon; เทวินทร์ โชติธนประสิทธิ์; Taywin Chottetanaprasith; Prapai Tanprasert; วรรณวิภา จันทร์วีระชัย; Wanwipa Janweerachai; ยศ ตีระวัฒนานนท์; Yot Teerawattananon; จิตติ หาญประเสริฐพงษ์; Jitti Hanprasertpong; กาลนิการ์ แปงจิตร์; ประไพ ตันประเสริฐ;
วันที่: 2561
บทคัดย่อ
มะเร็งปากมดลูกยังเป็นปัญหาที่สำคัญในประเทศไทย อัตราการเสียชีวิตสูงเนื่องจากมักพบโรคอยู่ในระยะลุกลาม การรักษามาตรฐานสำหรับระยะลุกลามเฉพาะที่ (locally advanced cervical cancer) ซึ่งรวมตั้งแต่ระยะ 2 บี ถึงระยะ 4 เอ คือ การฉายแสงร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัด แต่การรักษานี้ยังไม่ได้ผลดีนักโดยประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยมีการคงอยู่ของโรคและกลับเป็นซ้ำหรือมีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นนอกอุ้งเชิงกรานหลังการรักษาเสร็จแล้วสูง โดยมีผู้ป่วยเพียงร้อยละ 60 เท่านั้นที่จะมีโอกาสอยู่รอดถึง 5 ปี จึงทำการศึกษาโดยการให้ยาเคมีบำบัดเพิ่มเติมหลังจากการรักษามาตรฐาน วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอัตราการตอบสนองต่อการรักษา อัตรารอดชีวิต โดยปราศจากโรคดำเนินต่อ และอัตรารอดชีวิต โดยรวมของผู้ป่วยที่ 3 ปี อัตราการเกิดผลข้างเคียง และต้นทุนอรรถประโยชน์ (cost-utility analysis) ของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษามาตรฐาน และยาเคมีบำบัดเพิ่มเติม เทียบกับผู้ป่วยที่ได้เพียงการรักษามาตรฐาน วิธีดำเนินการวิจัย: สุ่มเปรียบเทียบผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกระยะลุกลามเฉพาะที่ ให้ได้รับการรักษาด้วยรังสีรักษาร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัดด้วย cisplatin กับการรักษาด้วยรังสีรักษาร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัด (concurrent chemoradiation therapy) ตามด้วยการให้ยาเคมีบำบัดเพิ่มเติม (adjuvant chemotherapy) ด้วย paclitaxel และ carboplatin ขนาดตัวอย่างที่จะลงทะเบียนผู้ป่วยเข้าในการศึกษาทั้งหมดที่คำนวณไว้ คือ 500 ราย (หลังจากเพิ่มตัวอย่างในกรณีที่อาจจะมีผู้ป่วยสูญหายหรือติดตามข้อมูลได้ไม่ครบถ้วน) โดยแบ่งเป็นกลุ่มควบคุม และกลุ่มศึกษา กลุ่มละ 250 ราย โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วยเพื่อคาดคะเนผลการศึกษาเบื้องต้น (interim analysis) เมื่อมีผู้ป่วยลงทะเบียนได้ 250 ราย เพื่อประเมินความปลอดภัย (safety) ประสิทธิผล (efficacy) หรือความไร้ประโยชน์ (futility) โดยจะหยุดการลงทะเบียนผู้ป่วยเพิ่มเติม (study discontinuation) เมื่ออัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยจากเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการรักษามากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 5 ของจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการรักษา (safety analysis) หรือพบประโยชน์ชัดเจน คือ การให้ยาเคมีบำบัดเพิ่มเติมเพิ่มอัตราการอยู่รอดโดยปราศจากโรคดำเนินต่อสูงมากกว่าการฉายแสงร่วมกับยาเคมีบำบัด ร้อยละ 30 (มากกว่า 2 เท่าของค่าความแตกต่างที่กำหนดไว้จากการทบทวนวรรณกรรม) (efficacy analysis) หรือพบว่าการให้ยาเคมีบำบัดเพิ่มเติมเพิ่มอัตราการอยู่รอดโดยปราศจากโรคดำเนินต่อไม่ถึงร้อยละ 10 (futility analysis) ผลการวิเคราะห์เบื้องต้น: จากการวิเคราะห์ข้อมูลของผู้ป่วยเมื่อลงทะเบียนผู้ป่วยได้ 261 ราย โดยเป็นผู้ป่วยในกลุ่มควบคุม (control arm) 135 ราย และกลุ่มศึกษา (study arm) 136 ราย พบว่า อัตราการตอบสนองต่อการรักษาระยะเวลา และอัตรารอดชีวิตโดยปราศจากโรคดำเนินต่อ ระยะเวลา และอัตรารอดชีวิตโดยรวมของผู้ป่วยไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อัตราการเกิดผลข้างเคียงพบบ่อยกว่าในกลุ่มที่ได้รับยาเคมีบำบัดเพิ่มเติม บทสรุป: จากผลการวิเคราะห์เบื้องต้นไม่พบประโยชน์ของผลการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดเพิ่มเติมมากกว่าการรักษาตามมาตรฐานด้วยการให้รังสีรักษาร่วมกับยาเคมีบำบัด จึงไม่แนะนำให้นำมาใช้ในทางปฏิบัติเป็นการรักษาเพิ่มเติมสำหรับผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกระยะลุกลามเฉพาะที่

บทคัดย่อ
Objectives: To evaluate the efficacy of adjuvant chemotherapy (ACT) in locally advanced stage cervical cancer after concurrent chemoradiation (CCRT) comparing to CCRT alone in terms of response rate, progression-free survival (PFS), and overall survival (OS). Methods: Patients with FIGO stage IIB to IVA, aged between 18-70 years, had ECOG performance score 0-2, had histopathology of squamous cell carcinoma, adenocarcinoma, or adenosquamous carcinoma, and had no para-aortic lymph node enlargement were randomized to CCRT (arm A) or CCRT and ACT (arm B). The patients in both arms had concurrent cisplatin weekly along with pelvic radiation. After a 4-week period after CCRT, the patients in arm B had paclitaxel plus carboplatin every 4 weeks for 3 cycles. Results: Data analysis of 259 patients showed no significant difference of complete responses: 94.1% in arm A vs 87.0% in arm B (p=0.154). With the median follow-up of 27.4 months (range 3.2 – 49.0 months), 15.5% of patients in arm A and 10.8% in arm B experienced recurrences: (p=0.123). There were no significant differences regarding the loco-regional failure but the patients in arm B had significantly lower systemic recurrences, 10.1% vs 5.4% (p=0.029). The 3-year PFS and 3-year OS of the patients in arm A were not significantly different from those of arm B: 66.6% (95% CI, 57.4-75.8%) vs 63.4% (95% CI, 54.6-72.2%) for PFS and 80.1% (95% CI, 71.9-88.3%) vs 69.5% (95% CI, 59.3-79.7%) for OS. The hazard ratio of PFS and OS arm B compared to arm A were 1.26 (95% CI 0.82-1.96) and 1.42 (95% CI 0.81-2.49) respectively. Conclusions: Adjuvant chemotherapy with 3 cycles of paclitaxel plus carboplatin after CCRT did not improve response rates and survivals compared to CCRT alone. There were no differences of loco-regional failure but a significant decrease of systemic recurrences by adjuvant chemotherapy.
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs2432.pdf
ขนาด: 1.967Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 5
ปีพุทธศักราชนี้: 4
รวมทั้งหมด: 162
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย

ชิ้นงานที่เกี่ยวข้อง

แสดงชิ้นที่เกี่ยวข้องโดย ชื่อเรื่อง ผู้แต่ง ผู้สร้าง และหัวเรื่อง

  • การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบเรื่องการนำยาเก่าและการรักษามุ่งเป้าที่ยีนก่อโรคเพื่อการรักษาโรคกล้ามเนื้อร่วมประสาท 

    อรณี แสนมณีชัย; Oranee Sanmaneechai; ธัญรัตน์ อโนทัยสินทวี; Thunyarat Anothaisintawee; วรุตม์ ดุละลัมพะ; Warut Tulalamba; มงคล ชาญวณิชตระกูล; Mongkol Chanvanichtrakool; ญาณิน สุขสังขาร; Yanin Suksangkharn (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2563-11)
    ภาวะกล้ามเนื้อร่วมประสาท (neuromuscular diseases: NMD) เป็นภาวะที่เป็นเรื้อรังชนิดไม่ติดต่อ (non-communicable disorders) ส่วนใหญ่เกิดจากสาเหตุทางพันธุกรรม ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มโรคหายาก การรักษาโรคกล้ามเนื้อร่วมประสาทหลักๆ ...
  • ปัจจัยที่มีผลต่อต้นทุนค่ารักษาพยาบาลของผู้ป่วยสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ และพนักงานส่วนท้องถิ่น 

    จุฬาภรณ์ ลิมวัฒนานนท์; สุพล ลิมวัฒนานนท์; อรอนงค์ วลีขจรเลิศ; ธนนรรจ์ รัตนโชติพานิช; ถาวร สกุลพาณิชย์; พัชนี ธรรมวันนา; ภาสกร สวนเรือง; พัฒนาวิไล อินใหม; เขมจรีย์ โรจนพรทิพย์; ประไพร อุตมา (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.), 2559)
    ก่อน พ.ศ. 2556 ข้าราชการและพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) แม้จะได้รับสวัสดิการรักษาพยาบาลจากรัฐ มักประสบปัญหาด้านภาระค่าใช้จ่ายจากการรักษาพยาบาล โดยเฉพาะโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงเพราะต้องสำรองจ่ายก่อน ...
  • การพัฒนาระบบในการจัดเก็บค่ารักษาพยาบาลตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลจักราช จังหวัดนครราชสีมา 

    โชคชัย มานะธุระ; Chokchai Manatura; โรงพยาบาลจักราช อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา; Jakraj Hospital (โรงพยาบาลจักราช, 2544)
    งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการปฏิบัติงานของโรงพยาบาลจักราช ให้สามารถจัดเก็บค่ารักษาพยาบาลตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ได้อย่างเหมาะสมและเป็นธรรม และพัฒนาระบบการบริหารจัดการของโรงพยาบาล ให้สามารถจั ...

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV