บทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เข้ารับการตรวจรักษาในแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลต่างๆ ในจังหวัดสตูลจำนวน 400 ราย ระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2560 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามข้อมูลรูปแบบการรักษา แบบบันทึกข้อมูลผลของการรักษา แบบสอบถามเกี่ยวกับความรู้เรื่องเบาหวาน และแบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ รวมทั้งสิ้นจำนวน 58 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบความถดถอยโลจิสติก (binary logistic regression) ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ (HbA1c <7) มีร้อยละ 25.0 อาชีพและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพมีความสัมพันธ์ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่ได้ประกอบอาชีพมีโอกาสที่จะควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ (HbA1c <7) ดีกว่าผู้ที่ประกอบอาชีพ (ORadj = 2.71, 95% CI = 1.19-6.17) และผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพต่ำมีโอกาสที่จะควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ (HbA1c <7) น้อยกว่าผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพสูง (ORadj = 0.54, 95% CI = 0.29-0.99) ดังนั้นบุคลากรสาธารณสุขจะต้องให้ความสำคัญและพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยเฉพาะในรายที่ประกอบอาชีพและมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพอยู่ในระดับต่ำ เพื่อให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น
บทคัดย่อ
This study was a cross-sectional survey research that aimed to study the factors related to blood sugar level among diabetes mellitus type 2 patients. The sample consisted of 400 patients who visited outpatient department at hospitals in Satun province during March until May 2017. The instruments for data collection comprised 5 parts: (1) personal information, (2) information on treatment patterns, (3) results of the treatment, (4) knowledge on diabetes, and (5) self-care behaviors of 58 items. Data were analyzed by using binary logistic regression. The results showed that 25.0 per cent of diabetes mellitus type 2 patients were able to control blood sugar levels (HbA1c <7). The occupation and self-care behaviors were significant factors correlated with blood sugar control at the 0.05 level. Diabetes mellitus type 2 patients who did not have occupation were 2.71 times more likely to control blood sugar (HbA1c <7) than those who had occupation (ORadj = 2.71, 95% CI = 1.19-6.17). Likewise, diabetes mellitus type 2 patients who had low level of health care behaviors were 0.54 times less likely to control blood sugar (HbA1c <7) than those who had high level of health care behaviors (ORadj = 0.54, 95% CI = 0.29-0.99). Therefore, public health personnel must emphasize and develop a pattern of caring for type 2 diabetes mellitus patients, especially in those with no occupation and low level of health care behaviors to better control blood sugar level.