• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Documents/Pocket Books
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Documents/Pocket Books
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

ต้นแบบเพื่อจัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงานของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยเกี่ยวกับมนุษย์ กระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2561

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สำนักวิชาการสาธารณสุข; สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข;
วันที่: 2561-08
บทคัดย่อ
ภายใต้นโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาลและการสนับสนุนงานวิจัยทางคลินิกของกระทรวงสาธารณสุข การดำเนินงานของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยเกี่ยวกับมนุษย์ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบและมีคุณภาพในระดับที่ได้รับการยอมรับตามมาตรฐานของประเทศและในระดับสากล ดังนั้น กระบวนการทุกขั้นตอนการปฏิบัติงานของคณะกรรมการฯ จะต้องมีการกำหนดและเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่ออธิบายรายละเอียดให้ผู้ใช้และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยเกี่ยวกับมนุษย์ได้เข้าใจและปฏิบัติไปในแนวทางที่สอดคล้องกัน ด้วยเหตุผลดังกล่าว กระทรวงสาธารณสุขโดยสำนักวิชาการสาธารณสุข และสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) จึงได้จัดทำต้นแบบเพื่อจัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงานของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยเกี่ยวกับมนุษย์ (SOP) กระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้คณะกรรมการฯ และผู้รับผิดชอบงานจริยธรรมการวิจัยเกี่ยวกับมนุษย์ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขโดยเฉพาะคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยฯ ระดับจังหวัดและระดับเขตสุขภาพได้นำไปใช้เป็นต้นแบบในการจัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงานของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยเกี่ยวกับมนุษย์ตามบริบทของแต่ละหน่วยงาน ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้มีการจัดทำต้นแบบฉบับแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 ซึ่งขณะนี้คณะกรรมการจริยธรรมฯ ระดับจังหวัดเกือบทุกแห่งได้นำไปประยุกต์ใช้เป็นมาตรฐานการปฏิบัติงานของหน่วยงานเป็นระยะเวลา 3 ปีแล้ว จึงเห็นควรมีการทบทวนและพัฒนาต้นแบบเพื่อจัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงานของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยเกี่ยวกับมนุษย์ (SOP) กระทรวงสาธารณสุขให้สามารถปฏิบัติได้ตามความเหมาะสมและตามบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป สามารถปกป้องสิทธิศักดิ์ศรี ความปลอดภัยและความเป็นอยู่ที่ดีและอาสาสมัครผู้เข้าร่วมการวิจัย สำนักวิชาการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นหน่วยงานรับผิดชอบในการพัฒนา คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยฯ ระดับเขตและระดับจังหวัดได้แต่งตั้งคณะทำงานพัฒนาต้นแบบเพื่อจัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงานจริยธรรมการวิจัยเกี่ยวกับมนุษย์ (SOP) กระทรวงสาธารณสุข อันประกอบด้วยตัวแทนจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยระดับจังหวัดเขตละ 2 คน และผู้แทนจากกรมวิชาการจำนวนหนึ่ง ทำหน้าที่ทบทวนปรับปรุงต้นแบบ SOP ฉบับที่ 1 (ซึ่งจัดทำเมื่อปีงบประมาณ 2558) ให้มีความเหมาะสมตามบริบทที่เปลี่ยนแปลงและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล จำนวน 2 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 5 - 6 มิถุนายน 2561 ณ จังหวัดนครศรีธรรมราช และครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 3 - 4 กรกฎาคม 2561 ณ จังหวัดเชียงราย โดยปรับเนื้อหาให้ทันสมัยสอดคล้องกับมาตรฐานปัจจุบันและเหมาะสมในการนำไปประยุกต์ใช้ในหน่วยงานและเพิ่มบทที่ 25 “การทำงานร่วมกันระหว่างคณะกรรมการกลางฯ และคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยของหน่วยงาน (Co-operation between CREC and Local Ethics Committee) ตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในคนแบบสหสถาบันระหว่างสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช) และกระทรวงสาธารณสุขว่า “ทั้งนี้ สถาบันจะกำหนดวิธีการจัดการกับโครงการวิจัยที่ได้รับการพิจารณารับรองจาก CREC ไว้ในวิธีดำเนินการมาตรฐาน (SOP) ของสถาบัน” ดังที่ปรากฏในต้นแบบมาตรฐานการปฏิบัติงานของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยเกี่ยวกับมนุษย์ (SOP) กระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2561 เพื่อนำไปเผยแพร่ให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องนำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงานของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยเกี่ยวกับมนุษย์ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขต่อไป
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs2447.pdf
ขนาด: 8.912Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 5
ปีพุทธศักราชนี้: 4
รวมทั้งหมด: 314
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Documents/Pocket Books [627]

    เอกสารเผยแพร่/พ็อกเกตบุ๊ก

ชิ้นงานที่เกี่ยวข้อง

แสดงชิ้นที่เกี่ยวข้องโดย ชื่อเรื่อง ผู้แต่ง ผู้สร้าง และหัวเรื่อง

  • สถานการณ์และการถอดบทเรียนต้นแบบบริการสุขภาพปฐมภูมิยุคสามหมอ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย 

    เพ็ญนภา ศรีหริ่ง; Pennapa Sriring; เตือนใจ ภูสระแก้ว; Thuanjai Poosakaew; ฉวีวรรณ ศรีดาวเรือง; Chaweewan Sridawruang; พิทยา ศรีเมือง; Phitthaya Srimuang; รุจิราลักขณ์ พรหมเมือง; Ruchiralak Prommueang; ไพฑูรย์ พรหมเทศ; Paitoon Promthet; รัตน์ดาวรรณ คลังกลาง; Ratdawan Klungklang; ปณิตา ครองยุทธ; Panita Krongyuth; รุจี จารุภาชน์; Rujee Charupash (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2565-11-30)
    การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ประเมินสถานการณ์การจัดบริการสุขภาพของหน่วยบริการปฐมภูมิในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย 2) ถอดบทเรียนตัวอย่างหน่วยบริการปฐมภูมิที่ดี จุดเด่น ปัจจัยความสำเร็จ ปัญหา และอุปสรรคของหน่ว ...
  • การสังเคราะห์ทางเลือกและข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อสนับสนุนการปฏิรูปบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร (อสส.) เพื่อมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 

    ภูดิท เตชาติวัฒน์; Phudit Tejativaddhana; ธันวดี สุขสาโรจน์; Thunwadee Suksaroj; ชีระวิทย์ รัตนพันธ์; Cheerawit Rattanapan; อรพินท์ เล่าซี้; Orapin Laosee; วิชช์ เกษมทรัพย์; Vijj Kasemsup; อรุณศรี มงคลชาติ; Aroonsri Mongkolchati; สมศักดิ์ วงศาวาส; Somsak Wongsawass; ภานุวัฒน์ ปานเกตุ; Panuwat Panket; ชวินทร์ ศิรินาค; Chawin Sirinak; ชาติชาย สุวรรณนิตย์; Chatchay Suvannit; สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ; Somboon Sirisunhirun; ศักดา อาจองค์ วัลลิภากร; Sakda Arj-Ong Vallibhakara (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2565-04-28)
    การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีเป้าประสงค์เพื่อพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อสนับสนุนการปฏิรูปบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)/อาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร (อสส.) เพื่อมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายพัฒนาที่ยั่งยืน ...
  • ผลกระทบของการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อระบบสุขภาพปฐมภูมิ : กรณีศึกษานโยบายสามหมอ ใน 5 จังหวัด 

    ระพีพงศ์ สุพรรณไชยมาตย์; Rapeepong Suphanchaimat; ฑิณกร โนรี; Thinakorn Noree; นงลักษณ์ พะไกยะ; Nonglak Pagaiya (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2567-01)
    การศึกษานี้จัดทำขึ้นเพื่อถอดบทเรียนกระบวนการและผลที่เกิดขึ้นจากการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ไปยังองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) และเพื่อพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายในการหนุนเสริมประสิทธิภาพของกระบวนการถ่ายโอ ...

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [620]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [100]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [126]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [160]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1290]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [232]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [21]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV