Political Economy of Non-communicable Disease Prevention and Control
dc.contributor.author | ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย | th_TH |
dc.contributor.author | Supasit Pannarunothai | en_EN |
dc.date.accessioned | 2018-12-27T04:35:55Z | |
dc.date.available | 2018-12-27T04:35:55Z | |
dc.date.issued | 2561-12 | |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 12,4 (ต.ค.-ธ.ค. 2561) : 523-524 | th_TH |
dc.identifier.issn | 0858-9437 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/4989 | |
dc.description.abstract | โรคไม่ติดต่อหรือ NCDs (non-communicable diseases) เป็นคำที่ใช้เรียกกลุ่มโรคที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากเชื้อโรค (non-infectious diseases) หรือไม่สามารถติดต่อกันได้ ทั้งนี้ โรคที่มารวมกันเป็น NCDs มีลักษณะของสาเหตุต่างๆ ร่วมกันคือ อาหารทำลายสุขภาพ การสูบบุหรี่ ดื่มสุราและออกกำลังกายน้อย เป็นปัจจัยเสี่ยงเดี่ยวหรือมากกว่าหนึ่งอย่างผสมรวมกัน การป้องกันและควบคุม NCDs มีมิติที่ยากและซับซ้อน แต่เมื่อใช้มุมมองทางเศรษฐศาสตร์การเมืองของการป้องกันและควบคุม NCDs จะเกิดประเด็นที่น่าสนใจและน่าติดตามมาก ซึ่งแนวรบของการป้องกันและควบคุม NCDs ใหญ่กว่าการป้องกันและควบคุมโรคเอดส์มากนัก มาตรการที่องค์การอนามัยโลกแนะนำประเทศรายได้ต่ำและรายได้ปานกลางให้ดำเนินการบนฐานข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ให้ผลคุ้มค่าเงิน มีตั้งแต่มาตรการในระดับประเทศไปจนถึงในระดับชุมชน เช่น เพิ่มภาษีเพื่อลดอัตราการสูบบุหรี่ การดื่มสุราและการบริโภคอาหารที่ทำลายสุขภาพ การส่งเสริมและสนับสนุนการออกกำลังกาย โดยใช้งบประมาณเพียงปีละ 2 พันล้านบาทในประเทศรายได้ต่ำ และถ้ารวมกับมาตรการระดับบุคคล เช่น การเข้าถึงยาป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ วัคซีนป้องกันมะเร็งตับและมะเร็งปากมดลูก จะต้องใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นเป็น 1.1 หมื่นล้านบาท จะเห็นได้ว่างบประมาณที่ต้องใช้นั้นน้อยกว่าการป้องกันโรคเอดส์ อย่างไรก็ตามผู้เกี่ยวข้องกับปัจจัยเสี่ยงของ NCDs นั้น มีมากมายและหลากหลายกว่าโรคเอดส์นัก ทั้งธุรกิจอาหาร บุหรี่ สุรา ที่ล้วนมีพละกำลังในการโฆษณาจูงใจผู้บริโภคอย่างดุเดือด สมรภูมิรบของเศรษฐศาสตร์การเมืองของการป้องกันและควบคุม NCDs จึงน่าเป็นห่วงว่าจะได้รับความสำเร็จตามการคำนวณได้จริงหรือ แม้จะมีกลไกสหประชาชาติที่วางเป้าหมายการป้องกันและควบคุม NCDs ให้ประเทศต่างๆ เดินตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนในปีพ.ศ. 2563 | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Non-communicable Disease | th_TH |
dc.subject | โรคไม่ติดต่อ | th_TH |
dc.subject | โรคไม่ติดต่อ--การป้องกันและควบคุม | th_TH |
dc.subject | Non-communicable Disease--prevention and Control | th_TH |
dc.title | เศรษฐศาสตร์การเมืองของการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ | th_TH |
dc.title.alternative | Political Economy of Non-communicable Disease Prevention and Control | en_EN |
dc.type | Article | th_TH |
.custom.citation | ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย and Supasit Pannarunothai. "เศรษฐศาสตร์การเมืองของการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ." 2561. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4989">http://hdl.handle.net/11228/4989</a>. | |
.custom.total_download | 984 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 6 | |
.custom.downloaded_this_year | 112 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 14 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
Fulltext
This item appears in the following Collection(s)
-
Articles [1352]
บทความวิชาการ