• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

เศรษฐศาสตร์การเมืองของการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ

ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย; Supasit Pannarunothai;
วันที่: 2561-12
บทคัดย่อ
โรคไม่ติดต่อหรือ NCDs (non-communicable diseases) เป็นคำที่ใช้เรียกกลุ่มโรคที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากเชื้อโรค (non-infectious diseases) หรือไม่สามารถติดต่อกันได้ ทั้งนี้ โรคที่มารวมกันเป็น NCDs มีลักษณะของสาเหตุต่างๆ ร่วมกันคือ อาหารทำลายสุขภาพ การสูบบุหรี่ ดื่มสุราและออกกำลังกายน้อย เป็นปัจจัยเสี่ยงเดี่ยวหรือมากกว่าหนึ่งอย่างผสมรวมกัน การป้องกันและควบคุม NCDs มีมิติที่ยากและซับซ้อน แต่เมื่อใช้มุมมองทางเศรษฐศาสตร์การเมืองของการป้องกันและควบคุม NCDs จะเกิดประเด็นที่น่าสนใจและน่าติดตามมาก ซึ่งแนวรบของการป้องกันและควบคุม NCDs ใหญ่กว่าการป้องกันและควบคุมโรคเอดส์มากนัก มาตรการที่องค์การอนามัยโลกแนะนำประเทศรายได้ต่ำและรายได้ปานกลางให้ดำเนินการบนฐานข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ให้ผลคุ้มค่าเงิน มีตั้งแต่มาตรการในระดับประเทศไปจนถึงในระดับชุมชน เช่น เพิ่มภาษีเพื่อลดอัตราการสูบบุหรี่ การดื่มสุราและการบริโภคอาหารที่ทำลายสุขภาพ การส่งเสริมและสนับสนุนการออกกำลังกาย โดยใช้งบประมาณเพียงปีละ 2 พันล้านบาทในประเทศรายได้ต่ำ และถ้ารวมกับมาตรการระดับบุคคล เช่น การเข้าถึงยาป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ วัคซีนป้องกันมะเร็งตับและมะเร็งปากมดลูก จะต้องใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นเป็น 1.1 หมื่นล้านบาท จะเห็นได้ว่างบประมาณที่ต้องใช้นั้นน้อยกว่าการป้องกันโรคเอดส์ อย่างไรก็ตามผู้เกี่ยวข้องกับปัจจัยเสี่ยงของ NCDs นั้น มีมากมายและหลากหลายกว่าโรคเอดส์นัก ทั้งธุรกิจอาหาร บุหรี่ สุรา ที่ล้วนมีพละกำลังในการโฆษณาจูงใจผู้บริโภคอย่างดุเดือด สมรภูมิรบของเศรษฐศาสตร์การเมืองของการป้องกันและควบคุม NCDs จึงน่าเป็นห่วงว่าจะได้รับความสำเร็จตามการคำนวณได้จริงหรือ แม้จะมีกลไกสหประชาชาติที่วางเป้าหมายการป้องกันและควบคุม NCDs ให้ประเทศต่างๆ เดินตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนในปีพ.ศ. 2563
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hsri-journal-v12n ...
ขนาด: 116.1Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 7
ปีงบประมาณนี้: 68
ปีพุทธศักราชนี้: 41
รวมทั้งหมด: 1,038
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Articles [1366]

    บทความวิชาการ


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV