บทคัดย่อ
คุณภาพชีวิตของคนต่างด้าวนับเป็นประเด็นสำคัญในปัจจุบัน โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางเช่น เด็กต่างด้าว แม้ว่าปัจจุบันเด็กต่างด้าวที่พำนักในประเทศไทยมีสิทธิได้รับการศึกษาพื้นฐานได้อย่างเท่าเทียมกับเด็กสัญชาติไทย แต่ยังพบว่ามีเด็กต่างด้าวส่วนหนึ่งไม่ได้เข้าสู่ระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งอาจเกิดจากช่องว่างในระดับนโยบาย ระดับโรงเรียนหรือแม้กระทั่งจากผู้ปกครองเอง แม้ในระดับพื้นที่มีการจัดตั้งศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อช่วยบรรเทาปัญหาการไม่ได้เข้าเรียนของเด็ก แต่กลับพบว่ามาตรฐานทั้งเรื่องการศึกษาและอนามัยโรงเรียนยังมีข้อจำกัดอยู่ในระดับหนึ่ง เนื่องจากการศึกษาและสุขภาพมีความเชื่อมโยงกันในหลายมิติ จึงทำให้การส่งเสริมสุขภาพในวัยเด็กนั้นเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง และเป็นที่มาของการดำเนินการศึกษาครั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์การจัดการศึกษาและส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียนสำหรับเด็กต่างด้าวในประเทศไทย โดยใช้จังหวัดระนองเป็นกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์ คือ 1.เพื่อประเมินการดำเนินการจัดการศึกษาสำหรับเด็กต่างด้าว 2.เพื่อประเมินการดำเนินการจัดบริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในโรงเรียนสำหรับเด็กต่างด้าว 3.เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของเด็กต่างด้าว 4.เพื่อประเมินสถานะสุขภาพและพฤติกรรมของเด็กต่างด้าว และ 5.เพื่อประเมินมุมมองของผู้ปกครองเด็กต่างด้าวในแง่การเข้าถึงบริการการศึกษาและบริการสุขภาพ ผู้วิจัยได้ใช้กระบวนการวิจัยแบบผสมคู่ขนาน การเก็บข้อมูลในวัตถุประสงค์ที่ 1, 2 และ 5 ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้กำหนดนโยบายและผู้ให้บริการที่เกี่ยวกับการศึกษาและสุขภาพเด็กต่างด้าวจากทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และผู้ปกครอง วัตถุประสงค์ที่ 2 อาศัยการสังเกตและ checklist เกี่ยวกับนโยบายอนามัยโรงเรียน วัตถุประสงค์ที่ 3 ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิเชิงปริมาณในเรื่องอัตราการผ่านชั้นของเด็ก และวัตถุประสงค์ที่ 4 อาศัยแบบสอบถามที่เกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานของเด็ก ภาวะทางโภชนาการและพฤติกรรมด้านสุขอนามัย ผลการศึกษาพบว่า การเข้าถึงการศึกษาในเด็กต่างด้าวสามารถเข้าเรียนในโรงเรียนรัฐบาลไทยได้และรัฐบาลไทยสนับสนุนค่าใช้จ่ายให้กลุ่มเด็กต่างด้าวเท่ากับเด็กไทย แต่จากการศึกษาพบว่าเด็กที่เข้าเรียนในโรงเรียนรัฐ มักเป็นกลุ่มที่ผู้ปกครองต้องการอยู่ในประเทศไทยในระยะยาว ต่างจากกลุ่มที่ส่งลูกหลานเข้าเรียนที่ศูนย์ฯ ที่ต้องการกลับไปอยู่ที่เมียนมาในอนาคต เนื่องจากการเรียนในศูนย์ฯ เป็นภาษาและหลักสูตรเมียนมา และสามารถเชื่อมต่อกับสถานศึกษาในเมียนมาได้ในบางศูนย์ฯ ซึ่งเมื่อเทียบสัดส่วนแล้วพบว่าเด็กนักเรียนในระนองเรียนอยู่ในศูนย์ฯ มากกว่าโรงเรียนรัฐ ถึงเกือบสามเท่า อย่างไรก็ตามข้อจำกัดของศูนย์ฯ คือ หลักสูตรมีความแตกต่างกัน บุคลากรมีศักยภาพจำกัด และขาดงบประมาณ สถานที่ในบางศูนย์ฯ ไม่ถูกสุขอนามัยโรงเรียน ไม่มีอาหารกลางวันหรือนมโรงเรียน และไม่มีการตรวจสุขภาพหรือการส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียนตามหลักอนามัยโรงเรียนที่เหมาะสม โดยปัจจุบันไม่ได้มีหน่วยงานของภาครัฐใดที่กำกับดูแลความเรียบร้อยของศูนย์ฯ และนโยบายการศึกษาของภาครัฐก็ยังไม่มีความชัดเจนในการเชื่อมโยงหลักสูตรกับเมียนมา ซึ่งเป็นเหตุผลหนึ่งที่ผู้ปกครองเด็กต่างด้าวเลือกที่จะส่งบุตรหลานไปเรียนในศูนย์มากกว่าโรงเรียนของรัฐ
บทคัดย่อ
Quality of life of migrants has gained increased attention in the last decade, especially amongst those with vulnerability, such as migrant children. Despite continuous efforts from the Thai government to expand education services to all children on the Thai soil, some migrant children are still left uneducated. Exemplary barriers to education services are miscommunication of national policies, implementation hardship, and problematic attitudes of parents of migrant children. The establishment of ‘Migrants Learning Centers’ (MLCs) in migrant communities helped increase access to education for children of migrants, however, the academic quality remains questionable and hygienic statusin MLCsis still below standard. All in all, this study aims to analyse current education and school health promotion services provided for migrant children through a case study of Ranong province. The objectives of this study are: 1.to assess and understand the management of education services provided for migrant children, 2.to assess and understand the school health promotion services provided for migrant children, 3.to evaluate migrant children’s academic performances, 4.to evaluatenutritional status and hygienic behaviour of migrant children, and 5 to exploreperspectives of parents of migrant children on the access to education and health promotion services. The researchers applied a parallel mixed method design. Objectives 1, 2 and 5 used in-depth interviews with policy makers, service providers, and parents of migrant children. Objective 2 used observation and school health policy checklist as the main data collection tools. Objective 3 used secondary data on student attrition rate. Questionnaire survey was used in objective 4. The study revealed that migrant children did not face serious hurdle inenteringthe Thai public schools. This observation coincided with the government policy that provided per-headcount financial subsidy to schools according to the number of admitted migrant children in the same amount as Thai children. Parents’ intention was a key determinant influencing school enrolment. Parents with the intention to permanently reside in Thailand tended to choose Thai public schools, whereas parents who sent their children to MLCs were more lineated to return to their home country some time in the future. Even though the Thai public schools opened rooms for free education services to migrant children, MLCs seemed to fit the preference of migrants in several angles, such as the provision of curricula currently used in Myanmar, the use of Burmese language in classes, and more importantly, the offering of opportunities for children to continue their education in Myanmar schools or universities (in some MLCs). These features attracted parents’significantly as evidenced by the fact that the number of migrant children in MLCs was almost three times as large as those in Thai publicschools. Nonetheless, many MLCs were facing operational problems. These included non-standardised curricula, limited staffcapacities, insufficient budget, shortage of school lunch and milk for children, and lack of school health surveillance. Besides, some MLCs were operating in poor hygiene environment. Currently, there wasclear official regulatory agency on MLCs and the academic degrees between the two countries (Thailand and Myanmar) remained unlinked.