• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

ค่าบริการวิชาชีพที่ให้บริการแก่ผู้ป่วยฉุกเฉินของสถานพยาบาลเอกชนภายใต้โครงการพัฒนาข้อเสนอ UCEP ด้านการเงินการคลัง

ภาสกร สวนเรือง; Passakorn Suanrueang; อุทุมพร วงษ์ศิลป์; Utoomporn Wongsin;
วันที่: 2562-03
บทคัดย่อ
ค่าบริการวิชาชีพ (professional fee) เป็นหนึ่งในกลุ่มรายการที่กำหนดให้มีการเบิกจ่ายให้กับสถานพยาบาลที่ให้บริการผู้ป่วยฉุกเฉิน ซึ่งที่ผ่านมาพบว่ามีมูลค่าเรียกเก็บรวมสูงกว่า 88 ล้านบาท สูงเป็นอันดับหนึ่งของมูลค่าเรียกเก็บในแต่ละกลุ่มรายการ การศึกษานี้จึงมุ่งเน้นวิเคราะห์รายการ จำนวนครั้งและมูลค่าเรียกเก็บค่าบริการวิชาชีพของสถานพยาบาลเอกชนภายใต้นโยบายรัฐบาล “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ มีสิทธิทุกที่” หรือ “UCEP” (Universal Coverage for Emergency Patients) การศึกษานี้ใช้สถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูลการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลของสถานพยาบาลเอกชนต่างๆ ที่ให้บริการผู้ป่วยฉุกเฉินทั้งหมด ตั้งแต่เริ่มดำเนินนโยบายดังกล่าว คือวันที่ 1 เมษายน 2560 ถึงวันที่ 27 ธันวาคม 2560 ผลการศึกษา พบว่า รายการค่าบริการวิชาชีพที่เป็นการตรวจวินิจฉัยและทำหัตถการโดยแพทย์ในบริการการแพทย์ฉุกเฉินมีจำนวนทั้งหมด 512 รายการ โดย 508 รายการ ตรงกับคู่มือค่าธรรมเนียมแพทย์ของแพทยสภาที่มีรายการทั้งสิ้น 4,389 รายการ และกำหนดรายการเพิ่มนอกคู่มือค่าธรรมเนียมแพทย์อีก 4 รายการ โดยรายการจาก Chapter 10 (Obstetrical procedures) มีสัดส่วนที่ตรงกับรายการในคู่มือฯ มากที่สุด (ร้อยละ 34.4) ค่าบริการทางการแพทย์ มีจำนวนรายการเรียกเก็บ คิดเป็นร้อยละ 51.4 จาก 512 รายการ โดยมีจำนวนเรียกเก็บ 30,944 ครั้ง หรือร้อยละ 36.2 และมูลค่าเรียกเก็บประมาณ 4.7 ล้านบาท หรือร้อยละ 53.6 จากมูลค่าค่าบริการวิชาชีพทั้งหมด รายการที่มีจำนวนการเรียกเก็บรวมสูงสุด คือ รหัส 59009 การตรวจรักษา-กรณีผู้ป่วยใน-ครั้งต่อไป สูงถึง 5,465 ครั้ง หรือร้อยละ 17.7 รายการที่มีมูลค่าเรียกเก็บรวมสูงสุด คือ รหัส 83786 Initial inpatient evaluation and management (การตรวจรักษา-กรณีผู้ป่วยใน-ครั้งแรก) มีมูลค่าเรียกเก็บสูงกว่า 3.8 ล้านบาท หรือร้อยละ 8 จากมูลค่าทั้งหมด กลุ่มที่มีมูลค่าเรียกเก็บรวมสูงสุด คือ Chapter 1 Procedures of the head and maxillo-facial area เท่ากับ 12.3 ล้านบาท หรือร้อยละ 26.0 จากมูลค่าทั้งหมด ด้านรายการที่มีมูลค่าเรียกเก็บรวมสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ กลุ่ม Initial inpatient evaluation and management กลุ่ม Coronary artery และกลุ่ม Medical examination คิดเป็นร้อยละ 13.8, 11.2 และ 10.0 ตามลำดับ บัญชีอัตราค่าบริการการแพทย์ฉุกเฉิน (UCEP Fee Schedules) ครอบคลุมรายการค่าตรวจวินิจฉัยและทำหัตถการโดยแพทย์ที่ให้บริการผู้ป่วยฉุกเฉินของสถานพยาบาลเอกชน อย่างไรก็ตาม พบว่า สถานพยาบาลเอกชนเรียกเก็บรายการดังกล่าวเพียงประมาณครึ่งหนึ่งจากรายการทั้งหมด เหตุที่รายการเรียกเก็บน้อย ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะข้อจำกัดในการบันทึกข้อมูลส่งเบิก ดังนั้น หน่วยงานที่ดูแลการเบิกจ่ายควรกำหนดนิยามและความหมายของแต่ละรายการให้ชัดเจนและสอดคล้องกับการให้บริการ สำหรับสถานพยาบาลควรจัดการอบรมบุคลากรในสถานพยาบาลให้เข้าใจคำนิยามรายการบริการเพื่อให้บันทึกรายการข้อมูลเรียกเก็บที่ถูกต้อง นอกจากนี้ ควรมีหน่วยงานเฉพาะภายใต้การดูแลของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ในการปรับปรุงรายการให้สอดคล้องกับรายการที่มีการให้บริการของสถานพยาบาล รวมทั้งเพิ่มเติมรายการค่าบริการบางประเภทที่ยังไม่มีในอัตราค่าบริการการแพทย์ฉุกเฉินด้วย

บทคัดย่อ
Professional fee is one of the emergency medical service disbursement lists that private hospitals can submit for compensation. The recent data showed that the professional fee was the highest item disbursed accounted for approximately THB 88 million. The objective of this study, therefore, was to examine the detailed lists, the amount and disbursement of professional fees made by private hospitals under the Universal Coverage for Emergency Patients (UCEP). The disbursement data from private hospitals providing emergency medical services between 1 April and 27 December 2017 were analyzed by descriptive statistics. The findings illustrated that from the list of UCEP professional fees, there were 512 items made by medical doctors (508 items matched with 4,389 items of the Thai Medical Council’s doctors’ fees handbook, and 4 items outside of the handbook). The items of UCEP disbursement procedures in Chapter 10 Obstetrical procedures covered 34.4% of the TMC doctors’ fees list. The proportion of doctors’ fees disbursement accounted for over a half of 512 items (51.4%), disbursing 30,944 times or 36.2% of total transactions, with approximately THB 47 million or 53.7% of total professional fees. The Item on the next treatment for inpatient (code 59009) incurred the highest transactions at 5,465 (17.7%), while the initial inpatient evaluation and management (code 83786) incurred the highest disbursement of over THB 3.8 million (8% of total fee). Chapter 1 Procedures of the head and maxillo-facial area disbursed over THB 12.3 million or a quarter of the total fee. The top three doctors’ fees were the initial inpatient evaluation and management (13.8%), followed by the coronary artery procedure (11.2%) and the medical examination (10%). Doctors’ fees disbursement of emergency medical services from private hospitals covered just approximately a half of total items. Disbursement agencies should, therefore, explicitly define meaning of individual items related to current services in hospitals. In case of hospitals, they should promote training of personnel to correctly entry disbursement information. Moreover, a specific agency within the National Institute for Emergency Medicine should actively update the list of procedures to cover unavailable items.
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hsri-journal-v13n ...
ขนาด: 313.7Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 3
ปีงบประมาณนี้: 241
ปีพุทธศักราชนี้: 143
รวมทั้งหมด: 1,365
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Articles [1366]

    บทความวิชาการ

ชิ้นงานที่เกี่ยวข้อง

แสดงชิ้นที่เกี่ยวข้องโดย ชื่อเรื่อง ผู้แต่ง ผู้สร้าง และหัวเรื่อง

  • ระบบบริการสุขภาพในภาวะฉุกเฉินในประเทศพัฒนา 

    อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์; Adisak Plitponkarnpim; กิ่งแก้ว อุดมชัยกุล; จิราวรรณ กล่อมเมฆ (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2544)
    ระบบบริการสุขภาพในภาวะฉุกเฉินในประเทศที่พัฒนาแล้ว มักมีจุดเริ่มต้นจากความพยายามที่ต้องการลดการสูญเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ โดยเฉพาะในกลุ่มวัยทำงาน จากนั้นการพัฒนาได้ขยายการครอบคลุมไปจนถึงการเจ็บป่วยอื่นๆ ที่อยู่ภาวะฉุกเฉิน ...
  • การสังเคราะห์บทบาท และโครงสร้างของระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิในบริบทของ วิชาชีพ และลักษณะของสถานบริการสุขภาพ : กรณีศึกษา ร้านส่งเสริมเภสัช 

    วราวุธ เสริมสินสิริ; Warawut Sermsinsiri (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2545)
    ร้านส่งเสริมเภสัช ตั้งอยู่เลขที่ 255/47 ถนนพหลโยธิน ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ตั้งอยู่บริเวณตลาดสดสี่มุมเมือง มีผู้คนสัญจรไปมาคับคั่ง ร้านส่งเสริมเภสัชเป็นร้านขายยาเอกชน เจ้าของรายเดียว เวลาทำการ 7.30 - 20.00 ...
  • การออกแบบระบบบริการสุขภาพในหน่วยบริการปฐมภูมิภายใต้สถานการณ์ Covid-19 : กรณีศึกษาพื้นที่อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี 

    มูหาหมัดอาลี กระโด; Muhamadalee Krado; รอซาลี สีเดะ; Rozalee Saredea; วรรณี ปาทาน; Wannee Patan (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2564-10)
    โครงการวิจัยการออกแบบระบบบริการสุขภาพในหน่วยบริการปฐมภูมิภายใต้สถานการณ์ Covid-19 : กรณีศึกษาพื้นที่อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี มีความมุ่งหวังให้บุคลากรเห็นความสำคัญของระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิและสามารถปรับวิธีการทำงาน ...

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV