บทคัดย่อ
ถึงแม้ว่าการดำเนินการรณรงค์เพื่อส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลในประเทศไทยจะได้เริ่มต้นขับเคลื่อนในระดับประเทศมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 แล้ว แต่ประชากรไทยยังคงมีพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่สมเหตุผล สถานการณ์ดังกล่าวจึงเป็นประเด็นท้าทายอย่างมากในการดำเนินการเพื่อส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลในประเทศไทยในระยะต่อไป งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรู้เท่าทันสื่อสุขภาพแบบออนไลน์ การค้นหาข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ และการจัดการตนเองเพื่อรักษาโรคติดเชื้อเฉียบพลันในระบบทางหายใจส่วนบนในกลุ่มประชากรไทย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยเก็บข้อมูลจำนวน 2,708 ตัวอย่างจากภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้และกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมทั้งสิ้น 21 จังหวัด ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการรู้เท่าทันสื่อสุขภาพแบบออนไลน์ด้านการจำแนกคุณภาพของข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตในระดับต่ำ มีการค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อรักษาโรคติดเชื้อเฉียบพลันในระบบทางหายใจส่วนบนจากครอบครัวและญาติมากที่สุด มีความรู้เกี่ยวกับยาปฏิชีวนะในระดับปานกลาง มีทัศนคติเชิงบวกต่อการใช้ยาปฏิชีวนะ และมีการจัดการตนเองเพื่อรักษาโรคติดเชื้อเฉียบพลันในระบบทางหายใจส่วนบนในระดับต่ำ ผลการวิจัยนำมาสู่ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติการด้านการสื่อสารเพื่อส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล
บทคัดย่อ
Although, Thailand has been committed to fight against irrational use of antibiotics since 2007, an inappropriate use of antibiotic continues to occur among Thai population. Therefore, the situation poses a significant challenge to the efficient working of the national rational antibiotic program in Thailand. The objective of this research was to examine the relationship between eHealth literacy, information seeking, knowledge, attitude and self-management of upper-respiratory infection (URI) in Thai population. The quantitative approach was employed in this study. The self-administered questionnaires were distributed to 2,708 respondents who resided in 21 provinces across four regions of Thailand. The results demonstrated that respondents reported low level of eHealth literacy on the ability to evaluate the health information on the internet. Respondents were more likely to seek information regarding the treatment of upper-respiratory infection from member of the family. The overall level of knowledge on antibiotic was moderate. Respondents had a positive attitude toward antibiotic usage and reported a low level of self-management of upper-respiratory infection. Findings of this study offer useful insights into the communication program for the reduction in antibiotic usage for upper-respiratory infection among Thai population.