บทคัดย่อ
แผนการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย พ.ศ. 2561 - 2573 เป็นแผนยุทธศาสตร์ชาติฉบับแรกที่ให้ความสำคัญกับการมีกิจกรรมทางกายของประชาชนไทย แผนนี้ได้รับการพัฒนาผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วมจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในปี พ.ศ. 2558 โดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขเป็นแกนหลัก กระบวนการพัฒนาแผนใช้ระยะเวลา 3 ปี ก่อนได้รับการเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2561 บทความนี้ได้ศึกษากระบวนการพัฒนานโยบาย ตั้งแต่การกำหนดเป็นวาระนโยบายและการกำหนดนโยบาย จนถึงการรับรองนโยบาย รวมทั้งเนื้อหาสาระด้านวิชาการของแผนและบริบทต่างๆ บทเรียนเชิงนโยบายที่สำคัญจากการพัฒนาแผนการส่งเสริมกิจกรรมทางกายระดับชาติ ได้แก่ หนึ่ง การเรียนรู้หลักการ เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ และกลไกการขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติของนโยบายการส่งเสริมกิจกรรมทางกายระดับนานาชาติ เพื่อนำไปสู่กรอบนโยบายระดับประเทศที่ครอบคลุมและมีประสิทธิผล สอง การสร้างการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ ในกระบวนการพัฒนานโยบาย เพื่อสร้างความเป็นเจ้าของและการยอมรับนโยบาย แม้จะใช้ระยะเวลานานขึ้น และสุดท้าย คือการเห็นความสำคัญของศักยภาพของหน่วยงานภาครัฐส่วนกลาง รวมถึงทักษะการทำงานด้านนโยบายและยุทธศาสตร์สำหรับบุคลากรในการพัฒนานโยบาย ที่ควรต้องมีการลงทุนในการวางแผนและพัฒนาบุคลากรอย่างเหมาะสม
บทคัดย่อ
Thailand National Physical Activity Plan 2018 - 2030, the first national strategy addressing insufficient
physical activity of Thai people, was developed through a cross-sectoral cooperation processes in 2015,
led by the Department of Health, Ministry of Public Health. The development process took three years
before being approved by the Cabinet in August 2018. This article reviewed policy process since agenda
setting and policy formulation to policy adoption as well as policy content and context.
Key policy lessons were drawn from the development of the national plan. First was the identification
of principles, strategic objectives and implementing mechanisms of existing international policies
ensuring a comprehensive and effective national policy framework. Secondly, the engagement of all
relevant stakeholders in the policy process increased the ownership and the feasibility of policy adoption
despite a longer process. Lastly, capacity of central government agency and policy and strategic skills of
staffs were crucial throughout all policy processes. There should be more investment in human resource
management and development.