การกระจายร้านยากับความต้องการด้านสุขภาพในประเทศไทย
dc.contributor.author | สุมน นิติการุญ | th_TH |
dc.contributor.author | Sumon Nitikarun | en_US |
dc.contributor.author | นิลวรรณ อยู่ภักดี | th_TH |
dc.contributor.author | Nilawan Upakdee | en_US |
dc.date.accessioned | 2020-03-31T04:45:02Z | |
dc.date.available | 2020-03-31T04:45:02Z | |
dc.date.issued | 2563-03-31 | |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 14,1 (ม.ค. - มี.ค. 2563) : 71-87 | th_TH |
dc.identifier.issn | 2672-9415 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5191 | |
dc.description.abstract | ร้านยาเป็นหน่วยบริการสุขภาพที่ให้บริการยาและสุขภาพเบื้องต้นในชุมชน การกระจายร้านยาในแต่ละพื้นที่อย่างเหมาะสมจะทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการเภสัชกรรมชุมชนได้ง่ายขึ้น และมีความปลอดภัยจากการใช้ยามากขึ้น วัตถุประสงค์ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การกระจายร้านยากับสถานการณ์ความต้องการด้านสุขภาพในแต่ละเขตสุขภาพของประเทศไทย ระเบียบวิธีศึกษา ใช้วิธีวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในภาครัฐ ได้แก่ จำนวนประชากร จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคที่ควรควบคุมด้วยบริการผู้ป่วยนอก (ambulatory care sensitive conditions: ACSC) ผลิตภัณฑ์มวลรวมรายจังหวัดต่อประชากร (gross provincial product per capita: GPP per capita) ข้อมูลร้านขายยาแผนปัจจุบัน (ข.ย. 1) ร้านยาคุณภาพ ร้านขายยาแผนปัจจุบันเฉพาะยาบรรจุเสร็จที่ไม่ใช่ยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษ (ข.ย. 2) และสถานบริการสุขภาพอื่นๆ ทั้งที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืนและไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืนของภาครัฐและเอกชน โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (descriptive statistics) ผลการศึกษา พบว่าในปี พ.ศ. 2559 มีร้านขายยาแผนปัจจุบัน (ข.ย. 1) ในประเทศไทย 16,053 ร้าน โดยเขตสุขภาพที่ 13 ซึ่งเป็นพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร มีร้านยามากที่สุด (4,774 ร้าน) คิดเป็นร้อยละ 29.74 ของจำนวนทั้งประเทศ ในส่วนภูมิภาค พบว่าเขตสุขภาพที่ 4 มีร้านยามากที่สุด (1,780 ร้าน) คิดเป็นร้อยละ 11.09 และเขตสุขภาพที่ 3 มีร้านยาน้อยที่สุด (333 ร้าน) คิดเป็นร้อยละ 2.07 เมื่อพิจารณาจำนวนร้านยาต่อจำนวนประชากร พบว่าประเทศไทยมีร้านยา 2.47 ร้านต่อหมื่นประชากร และ 2.72 ร้านต่อผู้ป่วย ACSC (10,000 รายโรค) ทั้งนี้ จำนวนร้านยามีความสัมพันธ์เชิงบวกกับผลิตภัณฑ์มวลรวมรายจังหวัดต่อประชากรในแต่ละเขตสุขภาพ และเมื่อจำแนกร้านยาตามในและนอกเขตเทศบาล พบว่าเขตสุขภาพเกือบทั้งหมดมีร้านยาตั้งอยู่ในเขตเทศบาลมากกว่านอกเขตเทศบาล ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า การกระจายร้านยาในประเทศไทยมีความเหลื่อมล้ำกันในแต่ละพื้นที่ ซึ่งอาจส่งผลให้การเข้าถึงยาและบริการเภสัชกรรมของประชาชนมีคุณภาพเท่าเทียมกัน | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | ร้านขายยา | th_TH |
dc.subject | ร้านขายยา--การบริหาร | th_TH |
dc.subject | Community Pharmacy Services | th_TH |
dc.subject | Drug use | th_TH |
dc.subject | Medicine Pharmacy | th_TH |
dc.subject | ยา--การขาย | th_TH |
dc.subject | ยา--การใช้รักษา | th_TH |
dc.title | การกระจายร้านยากับความต้องการด้านสุขภาพในประเทศไทย | th_TH |
dc.title.alternative | The Distribution of Community Pharmacies in the Context of Health Need in Thailand | en_US |
dc.type | Article | th_TH |
dc.description.abstractalternative | Community pharmacy is a health service that provides drug distribution and primary health services in the community. Proper distribution of community pharmacies in each area will allow people to access pharmacy services resulting in safe drug use. This study aimed to examine the distribution of community pharmacies in relation to health needs by health region of Thailand. Secondary data obtained from relevant government agencies: the number of population, the number of patients with ambulatory care sensitive conditions (ACSC), gross provincial product (GPP) per capita, modern pharmacy (type I), accredited pharmacy and type II pharmacy along with other public and private health establishments, were analyzed using descriptive statistics. The results showed that in 2016, there were 16,053 community pharmacies in Thailand. Health region 13 (Bangkok) had the most community pharmacies (4,774 stores), representing 29.74 percent of the country total. In provincial area, Health region 4 had the highest number of community pharmacies (1,780), representing 11.09 percent and Health region 3 with the least community pharmacies (333) representing 2.07 percent. When considering the distribution of community pharmacies in relation to health needs, Thailand had 2.47 stores per 10,000 population and 2.72 stores per 10,000 cases of patients with ACSC. The number of community pharmacies was positively correlated with gross provincial product (GPP) per capita. In provincial area, majority of community pharmacies located in municipal area. The study showed unequal distribution of community pharmacies in Thailand. These may affect unequal access to medicines and pharmacy services. | en_US |
dc.subject.keyword | ความต้องการด้านสุขภาพ | th_TH |
dc.subject.keyword | Health Need | th_TH |
.custom.citation | สุมน นิติการุญ, Sumon Nitikarun, นิลวรรณ อยู่ภักดี and Nilawan Upakdee. "การกระจายร้านยากับความต้องการด้านสุขภาพในประเทศไทย." 2563. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5191">http://hdl.handle.net/11228/5191</a>. | |
.custom.total_download | 3509 | |
.custom.downloaded_today | 2 | |
.custom.downloaded_this_month | 96 | |
.custom.downloaded_this_year | 1170 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 210 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
ฉบับเต็ม
ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้
-
Articles [1352]
บทความวิชาการ