แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การประเมินความชุกพฤติกรรมเสี่ยงและการพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานในกลุ่มประชากรชาวไทยภูเขา ประเทศไทย

dc.contributor.authorธวัชชัย อภิเดชกุลth_TH
dc.contributor.authorTawatchai Apidechkulth_TH
dc.date.accessioned2020-05-19T04:53:07Z
dc.date.available2020-05-19T04:53:07Z
dc.date.issued2563
dc.identifier.otherhs2564
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5209
dc.description.abstractการประเมินความชุกพฤติกรรมเสี่ยงและการพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานในกลุ่มประชากรชาวไทยภูเขา ประเทศไทย มุ่งศึกษาความชุก พฤติกรรมเสี่ยงและปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ในกลุ่มประชากรชาวไทยภูเขาที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้น ในระยะที่ 1 และจะดำเนินการพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคดังกล่าวและทดลองประสิทธิภาพในระยะที่ 2 โดยดำเนินการวิจัยชนเผ่าละสองหมู่บ้าน โดยหมู่บ้านที่หนึ่งเป็นหมู่บ้านทดลองและหมู่บ้านที่สองเป็นหมู่บ้านควบคุม สามารถสรุปผลการดำเนินงาน ดังนี้ จากการวิเคราะห์ทางสถิติ พบว่า มีสี่ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเป็นโรคเบาหวานในกลุ่มชาวเขาที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป กล่าวคือ สถานภาพสมรส ระดับความรู้ในการป้องกันและควบคุมโรคเบาหวาน เส้นรอบเอวและระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ ส่วนโรคความดันโลหิตสูงนั้นพบว่า มีสองปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเป็นโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มประชากรดังกล่าว กล่าวคือ ปริมาณการใช้น้ำมันในการประกอบอาหารและความเครียด อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาแยกตามรายชนเผ่าพบว่า มีความแตกต่างกันในปัจจัยเสี่ยงของการเป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานของแต่ละชนเผ่าที่แตกต่างกัน ส่วนการดำเนินงานในระยะที่ 2 พบว่า การดำเนินงานหรือกิจกรรมต่างๆ เพื่อลดปัญหาโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน พบว่า กิจกรรมของแต่ละหมู่บ้านทดลองในแต่ละชนเผ่ามีความแตกต่างกัน แต่ส่วนใหญ่เน้นการพัฒนาทักษะการปรุงอาหารโดยลดการใช้เกลือและเครื่องปรุงอาหารอื่นๆ รวมถึงการลดปริมาณไขมันในการประกอบอาหาร ตลอดทั้งการออกกำลังกายชนิดต่างๆ ซึ่งในช่วงระยะเวลาสามถึงห้าเดือนของการทดลอง พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงหลายด้าน เช่น ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ ตลอดทั้งความตระหนักในปัญหาโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานเพิ่มมากขึ้น และประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมที่ทดลองในหมู่บ้านอย่างต่อเนื่องและมีขยายขอบเขตการดำเนินการซึ่งเกิดขึ้นจากประชาชนในหมู่บ้าน นอกจากความรู้ ทัศคติและกิจกรรมที่ดำเนินการต่อเนื่องแล้ว ค่าดัชนีไขมันในเลือดมีแนวโน้มลดลง ทั้งในภาพใหญ่และในกลุ่มที่เป็นโรคอยู่แล้วอย่างชัดเจน ซึ่งสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดได้ในพื้นที่อื่นๆth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectชาวไทยภูเขาth_TH
dc.subjectHill Tribesth_TH
dc.subjectพฤติกรรมสุขภาพth_TH
dc.subjectบริการทางการแพทย์th_TH
dc.subjectเบาหวานth_TH
dc.subjectDiabetesth_TH
dc.subjectความดันโลหิตสูงth_TH
dc.subjectHypertensionth_TH
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.titleการประเมินความชุกพฤติกรรมเสี่ยงและการพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานในกลุ่มประชากรชาวไทยภูเขา ประเทศไทยth_TH
dc.title.alternativeAssessing prevalence, risk behaviors, and preventive program development for hypertension and diabetes among the hill tribe population, Thailandth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.identifier.callnoWL355 ธ394ก 2563
dc.identifier.contactno61-027
.custom.citationธวัชชัย อภิเดชกุล and Tawatchai Apidechkul. "การประเมินความชุกพฤติกรรมเสี่ยงและการพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานในกลุ่มประชากรชาวไทยภูเขา ประเทศไทย." 2563. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5209">http://hdl.handle.net/11228/5209</a>.
.custom.total_download275
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year34
.custom.downloaded_fiscal_year3

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2564.pdf
ขนาด: 9.660Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย