บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนค่ารักษาพยาบาลของโรงพยาบาลท่าสองยาง จังหวัดตาก ในมุมมองของผู้ให้บริการ โดยศึกษาข้อมูลย้อนหลัง ปีงบประมาณ 2561 ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2560 ถึง 30 กันยายน 2561 ใช้รูปแบบการวิเคราะห์ต้นทุนโรงพยาบาลและต้นทุนบริการด้วยวิธีมาตรฐาน (standard costing method) แบบบนลงล่าง (top-down method) และวิเคราะห์ต้นทุนรายผู้ป่วยด้วยวิธีจากล่างขึ้นบน (bottom-up method) จำแนกหน่วยต้นทุนเป็น 2 กลุ่มหลัก คือ หน่วยต้นทุนที่ให้บริการและหน่วยต้นทุนสนับสนุน ตามประเภทหน่วยงาน กระจายต้นทุนจากหน่วยต้นทุนสนับสนุนไปหน่วยต้นทุนหลักด้วยวิธีถอดสมการพร้อมกัน (simultaneous equation method) เกณฑ์การกระจาย ใช้ข้อมูลจากหน่วยสนับสนุนโดยตรงร่วมกับข้อมูลจากฐานข้อมูลของโรงพยาบาล และใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป (Hospital Service Cost Estimate: HSCE) ในการประมวลผลข้อมูล
ผลการศึกษาพบว่าปีงบประมาณ 2561 โรงพยาบาลท่าสองยาง มีต้นทุนการให้บริการทั้งหมด 159,909,496 บาท มีสัดส่วนต้นทุนค่าแรง ค่าวัสดุ และค่าลงทุน เท่ากับ 56.7:32.4:10.9 ตามลำดับ มีต้นทุนผู้ป่วยนอกเฉลี่ยต่อครั้ง 615 บาท เมื่อจำแนกตามการมีสิทธิในสวัสดิการการรักษาพยาบาล อันได้แก่ สิทธิข้าราชการ สิทธิประกันสังคม สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ผู้มีปัญหาสถานะและสิทธิ สิทธิประกันสุขภาพต่างด้าว ชำระเงินเอง สิทธิตาม พรบ. ผู้ประสบภัยจากรถ และอื่นๆ พบว่าต้นทุนผู้ป่วยนอกเฉลี่ย เท่ากับ 747, 613, 599, 629, 617, 581, 1,175 และ 459 บาท ตามลำดับ ขณะที่ต้นทุนผู้ป่วยในเฉลี่ยต่อค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ที่ปรับแล้ว 13,945 บาท เมื่อจำแนกตามสิทธิข้าราชการ สิทธิประกันสังคม สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ผู้มีปัญหาสถานะและสิทธิ สิทธิประกันสุขภาพต่างด้าว ชำระเงินเอง สิทธิตาม พรบ. ผู้ประสบภัยจากรถ และอื่นๆ เท่ากับ 15,330; 12,888; 13,792; 13,263; 14,429; 14,488; 10,840 และ 22,967 บาท ตามลำดับ ทั้งนี้ ผลการศึกษาข้างต้นแสดงให้เห็นต้นทุนการให้บริการของโรงพยาบาลท่าสองยางสูงกว่าเมื่อเทียบกับค่าบริการที่เรียกเก็บ และต้นทุนค่าแรงเป็นต้นทุนที่สูงที่สุด ผู้บริหารโรงพยาบาลควรนำข้อมูลเหล่านี้ไปปรับใช้ในการบริหารงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและควรทำการศึกษาอัตราการคืนทุนในแต่ละสิทธิอย่างละเอียดต่อไป
บทคัดย่อ
The objective of this study was to estimate unit cost of Thasongyang Hospital, Tak province from
provider perspective. Retrospective study was conducted in fiscal year 2018 and cost was obtained during
1 October 2017 and 30 September 2018. The hospital cost and service cost were analyzed using standard
top-down method and cost-per-patient was analyzed using bottom-up method. Cost centers were divided
by department types into two main groups: absorbing cost center and transient cost center. Costs
were distributed from transient cost centers to absorbing cost centers using simultaneous equation
method. The allocation criteria used data from absorbing cost centers together with information from
hospital database, and data were processed by (Hospital Service Cost Estimate: HSCE) computer program.
The study found that in fiscal year 2018, total service cost of Thasongyang Hospital was 159,909,496
baht. The proportion of labor cost, material cost and capital cost was 56.7:32.4:10.9 respectively. An
average outpatient cost per visit was 615 baht. An average outpatient cost per visit of each scheme including
the civil servant medical benefit scheme, social security scheme, universal coverage scheme,
stateless people, non-Thai resident with health insurance, non-Thai resident, road accident victims and
other was 747, 613, 599, 629, 617, 581, 1,175 and 459 baht, respectively. An average inpatient cost per
adjusted relative weight was 13,945 baht. An average inpatient cost per adjusted relative weight of each
scheme including the civil servant medical benefit scheme, social security scheme, universal coverage
scheme, stateless people, non-Thai resident with health insurance, non-Thai resident, road accident
victims and other was 15,330, 12,888, 13,792, 13,263, 14,429, 14,488, 10,840 and 22,967 baht, respectively.
Service cost of Thasongyang Hospital was higher than the service charge and labor cost was the
highest cost. Hospital administrators, therefore, should apply the results from this study for better management.
Further studies should examine cost recovery in each scheme.