บทคัดย่อ
ภูมิหลังและเหตุผล การศึกษาก่อนหน้านี้รายงานว่า การวินิจฉัยของผู้จ่ายงานปฏิบัติการฉุกเฉิน (ผจป.) มีความถูกต้องในระดับที่แตกต่างกันไปในแต่ละที่ แต่ยังไม่พบการศึกษาในประเทศไทย วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อศึกษาความถูกต้องของการวินิจฉัยภาวะหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลโดย ผจป. ระเบียบวิธีศึกษา เป็นการศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา จากข้อมูลบันทึกปฏิบัติการฉุกเฉิน ณ หน่วยบริการของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ และข้อมูลการวินิจฉัยภาวะหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลโดย ผจป. ณ ศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการในจังหวัดเชียงใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ. 2554 ถึง 2561 ประเด็นที่ต้องการศึกษาคือการวินิจฉัยภาวะหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลของ ผจป. โดยอ้างอิงกับการวินิจฉัยของชุดปฏิบัติการ (gold standard) ผลการศึกษา จากบันทึกการออกปฏิบัติการฉุกเฉินของผู้ป่วย 276 ราย พบผู้ป่วยมีอายุเฉลี่ย 55.3+20.5 ปี เป็นเพศชายร้อยละ 72.1 มีผู้ป่วยที่หัวใจหยุดเต้นจริงเมื่อชุดปฏิบัติการไปถึงจำนวน 272 ราย (ร้อยละ 96.7) ส่วนผู้ป่วยอีก 4 รายมีภาวะอื่น ผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นจริงทั้งหมดได้รับการวินิจฉัยภาวะหัวใจหยุดเต้นโดย ผจป. จำนวน 116 ราย (ร้อยละ 42.6) ที่เหลือได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นภาวะหมดสติ 86 ราย (ร้อยละ 31.6) อุบัติเหตุจราจร 22 ราย (ร้อยละ 8.1) และภาวะอื่นๆ 48 ราย (ร้อยละ 17.6) ทั้งนี้ ในการวินิจฉัยว่าเป็นภาวะหัวใจหยุดเต้นโดย ผจป. 120 ราย มีภาวะหัวใจหยุดเต้นจริง 116 ราย (ร้อยละ 96.7) คิดเป็นความไว ร้อยละ 42.6 และค่าทำนายผลบวกร้อยละ 96.7 สรุปผลการศึกษา: ผจป. สามารถวินิจฉัยภาวะหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลได้ถูกต้องค่อนข้างต่ำ อย่างไรก็ตาม หาก ผจป. วินิจฉัยว่าผู้ป่วยมีภาวะหัวใจหยุดเต้นแล้ว ก็มีความเป็นไปได้สูงว่า ผู้ป่วยนั้นมีภาวะหัวใจหยุดเต้นจริง
บทคัดย่อ
Background and Rationale: Previous studies showed that emergency medical dispatcher (EMD)
infrequently made a correct diagnosis. We found no similar study in Thailand. This study aimed to evaluate
the accuracy of out-of-hospital cardiac arrest (OHCA) diagnosis made by EMD. Methodology: This
was a retrospective study. We reviewed emergency response record from Maharaj Nakorn Chiang Mai
Hospital EMS unit and all records with the diagnosis of OHCA made by EMD at Chiang Mai Province EMS
center from 2011 through 2018. Results: In total, 276 medical records were reviewed. The mean age was
55.3+20.5 years, 72.1% were male, 272 patients had cardiac arrest upon arrival of the EMS team, whereas
4 patients had other conditions. Among these 272 patients, 116 patients (42.6%) were diagnosed with
OHCA by EMD; whereas 86 patients (31.6%) were diagnosed with unconsciousness, 22 (8.1%) with traffic
accident, and 48 (17.6%) with other conditions. The EMD made a diagnosis of OHCA in 120 out of 272
patients, with the sensitivity of 42.6%, and positive predictive value 96.7%. Conclusion: EMD’s diagnosis
of OHCA was inaccurate. However, the diagnosis of OHCA made by EMD had high probability.