บทคัดย่อ
การตั้งครรภ์ซ้ำในมารดาวัยรุ่นหลังคลอดส่งผลกระทบต่อตัวมารดาวัยรุ่นทั้งด้านร่างกายจิตใจและอารมณ์ รวมทั้งทารกในครรภ์ ครอบครัว เศรษฐกิจและสังคม การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาถึงประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการคุมกำเนิดเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำในมารดาวัยรุ่นหลังคลอดและติดตามจนครบ 2 ปี กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาวัยรุ่นที่คลอดบุตรคนแรกที่พักอยู่ที่แผนกหลังคลอดโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ โรงพยาบาลลำปาง โรงพยาบาลลำพูนและโรงพยาบาลพะเยา ตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2561 ถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2562 เลือกกลุ่มตัวอย่างที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด จำนวน 170 ราย โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 81 ราย และกลุ่มควบคุม 89 ราย กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการคุมกำเนิด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยที่พัฒนาโดยผู้วิจัยประกอบด้วย 1) โปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการคุมกำเนิดในมารดาวัยรุ่นหลังคลอด 2) คู่มือการคุมกำเนิดสำหรับมารดาวัยรุ่นหลังคลอด เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1. แบบบันทึกความตั้งใจในการคุมกำเนิดของมารดาวัยรุ่นหลังคลอด 2. แบบบันทึกการตัดสินใจในการคุมกำเนิดของมารดาวัยรุ่นหลังคลอด 3. แบบบันทึกการเลือกใช้วิธีคุมกำเนิด 4. แบบบันทึกการคงใช้การคุมกำเนิดของมารดาวัยรุ่นหลังคลอด และ 5. แบบบันทึกการตั้งครรภ์ซ้ำของมารดาวัยรุ่นหลังคลอด การหาความตรงตามเนื้อหาของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการคุมกำเนิด โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ราย และนำไปทดลองใช้กับมารดาวัยรุ่นหลังคลอดจำนวน 3 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณาและสถิติทดสอบค่าที ที่เป็นอิสระต่อ (T-Test for Independent Sample) สถิติไคแสควร์ (Chi-Square Test) และ Fisher Exact Test ผลการวิจัยพบว่า 1) สัดส่วนของกลุ่มตัวอย่างที่ตั้งใจในการคุมกำเนิดหลังการทดลองที่ 48 ชั่วโมงทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน ส่วนระยะเวลาที่ตั้งใจจะเริ่มคุมกำเนิดทั้งสองกลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<.01 โดยกลุ่มทดลองตั้งใจจะเริ่มคุมกำเนิดก่อนกลับบ้านหรือเมื่อมาตรวจหลังคลอดมากกว่ากลุ่มควบคุม 2) กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการคุมกำเนิดมีสัดส่วนของกลุ่มตัวอย่างที่ตัดสินใจคุมกำเนิด 3 เดือนมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<.05 แต่อย่างไรก็ตามไม่พบว่ามีสัดส่วนแตกต่างกันที่ 6 สัปดาห์ 6 เดือนและ 12 เดือนหลังคลอด 3) กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีสัดส่วนของการคงใช้วิธีการคุมกำเนิดไม่แตกต่างกันทั้งในระยะ 3 เดือน 6 เดือน และ 12 เดือนหลังคลอด 4) สัดส่วนของการตั้งครรภ์ซ้ำที่ 1 ปี หลังคลอดของทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการคุมกำเนิดเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำในมารดาวัยรุ่นหลังคลอด มีความเหมาะสมกับบริบทของมารดาวัยรุ่นในภาคเหนือ พยาบาลผดุงครรภ์จึงควรนำโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการคุมกำเนิดไปใช้ในการให้การพยาบาลแก่มารดาวัยรุ่นหลังคลอด เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำ
บทคัดย่อ
Repeated pregnancy in postpartum adolescents is a crisis that affects their physical and psychosocial wellbeing, including the newborn, family, economic and society. This quasi-experimental study aimed to examine the effectiveness of program for promoting contraceptive behaviors to prevent repeated pregnancy in postpartum teenage mothers. The subjects were 170 postpartum adolescents attending postpartum units at Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital, Lamphung Hospital, Lamphun Hospital, and Phayao Hospital during August 2018 to November 2019. The subjects were purposively selected and divided into 89 as a control group and 81 as an experimental group. The control group received routine postpartum care and the experimental group received the program for promoting contraceptive behaviors. The intervention instruments consisted of 1) the Program for Promoting Contraceptive Behaviors and 2) Handbook of Contraceptive Used for Postpartum Adolescents which developed by the researchers. Instruments for data collection consisted of 1) the Intension on Contraceptive Use for Postpartum Adolescents Recording Form, 2) the Decision on Contraceptive Use for Postpartum Adolescents Recording Form, 3) the Selection of Contraceptive Uses Recording Form, 4) the Utilization Rate of Contraceptive Use for Postpartum Adolescents Recording Form, and 5) the Repeated Pregnancy Rate of Postpartum Adolescents Recording Form. Data were analyzed using descriptive statistic, t-test for independent sample and Chi-square test.
The results revealed that:
1) The proportion of participant intended to use contraception after the 48-hour postpartum, both groups were not different. The period intended to start contraception in both groups is statistically significant different (p<.01). The experimental group intends to start contraception before returning home or at the postpartum check up more than the control group.
2) The experimental group, which recieced the Program for Promoting Contraceptive Behaviors, has a proportion of the participants that decide to use contraception for three months statistically significant higher than the control group (p<.05), however, there are no different proportions at 6 weeks, 6 months and 12 months after birth of both groups.
3) The experimental groups and control groups have no different proportion of utilization rate of contraceptive use in the three months, 6 months and 12 months after birth.
4) The proportion of repeated pregnancies at 1 year after birth of both groups is no different. The results of this study showed that the Program for Promoting Contraceptive Behaviors to prevent repeated pregnancies in the postpartum teenage mothers is suitable to the context of teenage mothers in the Northern region. Nurse-midwives can be used as a guideline to promote contraceptive use and to prevent repeated pregnancy in postpartum adolescents