บทคัดย่อ
ในช่วงที่ผ่านมาของการขับเคลื่อนให้เกิดเขตสุขภาพนั้น กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการสนับสนุนการพัฒนาเขตสุขภาพอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม การดำเนินการที่ผ่านมามีความไม่คล่องตัวในทางปฏิบัติหลายประการที่ทำให้การดำเนินการตามข้อเสนอการจัดและบริหารจัดการเขตสุขภาพไม่เป็นไปอย่างเต็มที่ตามที่คาดหวัง ทำให้ประเด็นในการพัฒนาสาธารณสุขในลักษณะของเขตสุขภาพเป็นส่วนหนึ่งของแผนยุทธศาสตร์การดำเนินการประจำปีของกระทรวงสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งประเด็นการพัฒนาเขตสุขภาพยังปรากฏในแผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุขของรัฐบาลอีกด้วย ดังนั้น เพื่อทำให้บรรลุเป้าหมายในการขับเคลื่อนการกระจายอำนาจ เกิดการบูรณาการงานด้านสุขภาพของทุกหน่วยงาน เพื่อให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเพื่อบริหารระบบสุขภาพให้ตรงกับความต้องการ และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงได้มีการคัดเลือกพื้นที่เขตสุขภาพที่ 6 เพื่อเป็นเขตสุขภาพนำร่องในการดำเนินการออกแบบระบบและกลไกในการขับเคลื่อน ซึ่งเป็นการดำเนินการในลักษณะการวิจัยเชิงประเมินผล (Evaluation Research) คณะผู้วิจัยได้ดำเนินการรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิที่เกี่ยวข้องที่มีความครอบคลุมทั้งแผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข ข้อเสนอการจัดระบบสุขภาพในรูปแบบของเขตสุขภาพ ผลการประเมินการดำเนินการของเขตสุขภาพ การดำเนินการเพื่อขับเคลื่อนเขตสุขภาพตามแผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข ประสบการณ์ต่างประเทศเกี่ยวกับการบริหารด้านสาธารณสุขและเขตสุขภาพ แนวคิดการจัดทำ Regulatory Sandbox การดำเนินการของกระทรวงสาธารณสุข และเขตสุขภาพที่ 6 ในการพัฒนาเขตสุขภาพ กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งศักยภาพและแนวโน้มในการพัฒนาของพื้นที่ที่ดำเนินการนำร่องเพื่อนำไปสู่การพิจารณาความจำเป็นและความต้องการในการพัฒนา นอกจากนี้ คณะผู้วิจัยยังได้ดำเนินการรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิในส่วนของความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการขับเคลื่อนเขตสุขภาพที่ 6 ในระดับต่างๆ ทั้งที่เกี่ยวกับการจัดการบริหารจัดการเขตสุขภาพ การจัดตั้งและการดำเนินการของสำนักงานเขตสุขภาพ เงื่อนไขการดำเนินการของเขตสุขภาพ และการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานภายในเขตสุขภาพ เพื่อสะท้อนความคาดหวัง (Expectation) ความสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น และความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางในการดำเนินการเพื่อให้สามารถบรรลุตามเป้าหมายในการขับเคลื่อนเขตสุขภาพที่ 6 ให้สามารถบรรลุตามเป้าหมายของการพัฒนาเขตสุขภาพ เพื่อประกอบการจัดทำข้อเสนอ คณะผู้วิจัยได้กำหนดแนวคิดในการพัฒนาการทำงานของเขตสุขภาพ รวมทั้งแนวคิดในการประเมินผลการดำเนินการของเขตสุขภาพอ้างอิงกรอบแนวคิดระบบสุขภาพขององค์การอนามัยโลก ซึ่งทำให้สามารถระบุได้ว่า ประเด็นในการพัฒนาเขตสุขภาพเพื่อให้เกิดการทำงานที่สามารถบรรลุตามเป้าหมายการพัฒนาสุขภาพของประชาชนในเขตสุขภาพ ประกอบด้วย (1) การจัดการทรัพยากรบุคคลภายในเขตสุขภาพให้สามารถทำงานตอบสนองต่อปัญหาและก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุด (2) การจัดสร้างระบบหรือฐานข้อมูลและสารสนเทศที่สามารถสนับสนุนให้เกิดการทำงานและการจัดบริการที่ดี (3) การทำให้เกิดการผลิตและ/หรือการใช้ผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีด้านสุขภาพที่มีคุณภาพและประชาชนสามารถเข้าถึงได้ (4) การบริหารเงินทั้งปวงให้เพียงพอและเอื้อต่อการทำงานจัดบริการภายในเขตสุขภาพ และ (5) การจัดการระบบการทำงานที่ทำหน้าที่กำหนดทิศทาง นโยบาย กลยุทธ์ สำหรับการจัดบริการสุขภาพทั้งระบบ โดยจากการประเมินข้อมูลทุติยภูมิและปฐมภูมิ รวมทั้งการที่พื้นที่เขตสุขภาพที่ 6 ยังเป็นที่ตั้งของพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ซึ่งสะท้อนความต้องการลงทุนในการยกระดับการให้บริการด้านสุขภาพ ทำให้สามารถสรุปได้ว่า เขตสุขภาพควรมีการออกแบบมาตรการเพื่อขับเคลื่อนการทำงานของเขตสุขภาพใน 4 ประเด็นการเปลี่ยนแปลง คือ (1) การบริหารจัดการเขตสุขภาพและสำนักงานเขตสุขภาพ (2) การบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล (3) การมอบอำนาจเกี่ยวกับการบริหารจัดการเขตสุขภาพ และ (4) การเพิ่มประสิทธิภาพระบบสาธารณสุขและสร้างความยั่งยืนทางการเงินการคลังของหน่วยบริการ เพื่อนำไปสู่การดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม คณะผู้วิจัยจึงเสนอให้มีการจัดทำข้อเสนอการขับเคลื่อนกลไกในการขับเคลื่อนการทำงานของเขตสุขภาพที่ 6 ในลักษณะการดำเนินการในลักษณะของสนามทดสอบการดำเนินการ (Regulatory Sandbox) โดยทำการทดลองการดำเนินการปรับปรุงประเด็นข้อจำกัดทางด้านกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคในการดำเนินการขับเคลื่อนการทำงานของเขตสุขภาพ โดยมีข้อกำหนดเกี่ยวกับเงื่อนไขและระยะเวลาในการทดลองดำเนินการที่ชัดเจนและทำการประเมินผลที่เกิดขึ้นจากการทดลองดำเนินการดังกล่าว เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนการดำเนินการปรับปรุงกฎระเบียบและกำหนดแนวทางการดำเนินการที่เป็นรูปธรรมในภาพรวมต่อไป ซึ่งการดำเนินการสนามทดสอบการดำเนินการ (Regulatory Sandbox) เพื่อการทดลองการขับเคลื่อนการทำงานของเขตสุขภาพ ประกอบด้วย 3 สนามทดสอบการดำเนินการ ได้แก่ สนามทดสอบการดำเนินการที่ 1 สนามทดสอบการดำเนินการเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างการทำงาน/โครงสร้างบุคลากรของเขตสุขภาพและสำนักงานเขตสุขภาพ สนามทดสอบการดำเนินการที่ 2 สนามทดสอบการดำเนินการเกี่ยวกับการปรับปรุงเงื่อนไขการจัดซื้อจัดจ้างและการลงทุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและสร้างความยั่งยืนทางด้านการเงินการคลังของเขตสุขภาพ สนามทดสอบการดำเนินการที่ 3 สนามทดสอบการดำเนินการเกี่ยวกับการทำงานร่วมกันในการจัดบริการภายในเขตสุขภาพ โดยทำการดำเนินการปรับปรุงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อเอื้อให้เกิดการดำเนินการ โดยในการดำเนินการขับเคลื่อนการดำเนินการในเขตสุขภาพนำร่องนั้น พบว่า บางส่วนของข้อเสนอสนามทดสอบการดำเนินการที่ 1 และสนามทดสอบการดำเนินการที่ 2 นั้น ได้มีการดำเนินการผ่านกลไกต่างๆ และมีความคืบหน้าที่สามารถสรุปผลการดำเนินการและติดตามความคืบหน้าของการดำเนินการได้ในระดับหนึ่ง และนำไปสู่ข้อเสนอการดำเนินการในระยะต่อไป โดยข้อเสนอทั้งหมดได้ถูกนำเสนอเพื่อไปทดลองดำเนินการในเขตสุขภาพนำร่องภายใต้การดำเนินการขับเคลื่อนของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
บทคัดย่อ
Ministry of Public Health (MOPH) has continuously driven Health Area Development. However, in practice, there were many obstacles and barriers that prevented expected health area development, that is the health area development issue has become one of important agendas that the MOPH and other related authorities have paid attentions to. This issue was continuously a part of the strategic plans of the MOPH and health reform plan of the Health Reform Commission. In an attempt to define and propose solutions that could lead to health area development, this research chose the 6th Health Area of the MOPH as the pilot area to in depth collect data, analysis, and design system and mechanism to drive health area development in the 6th Health Area. The researchers collected secondary information and data including National Health Reform Plan, Heath Area Development Proposals, health area development evaluation report, health area strategic/ action plans in the National Health Reform Plan, foreign experiences regarding health system management and health area development, regulatory sandbox’s concept and experiences, and MOPH and the 6th Health Area’s works regarding health system management, and health area development. Moreover, opinions of those responsible for the 6th Health Area development were also collected during the data collecting process. This was aimed to reflect expectations, problems and obstacles in the previous development attempts, as well as suggestions of conditions solutions to achieve goals in health area development. Conceptual idea in health area development and progress evaluation referred to WHO Health System Framework with 6 Building Blocks which led to identify health area development strategies that would achieve health developments of population in health area. The strategies are comprised of (1) human resource management, (2) Information system or database that could support works and health services, (3) enhancing of productions and usage of qualified and accessible technology, (4) financial management that could enhance sustainability and support health services in the health area, and (5) work mechanism that could enhance direction, policies, strategies setting for the whole health area. Moreover, the 6th Health Area is a location of the Eastern Economic Corridor that there were plenty of investment demand in service improvement and leverage. These led to conclusions that measures to drive health area development should cover (1) Health Area and Health Area Office Management, (2) Human Resource Management, (3) Health Area Management Authorization, and (4) Efficiency Improvement and Financial Sustainability. To lead concrete action the researchers propose to make proposals for system and mechanism to drive health area development in the 6th Health Area in a manner to operate in the form of a Regulatory Sandbox by conducting experiments to improve regulatory constraints that impede the action of driving the work of health area. Which has clear terms and conditions for the trial operation and evaluate the results of the experiments conducted to support the implementation of the regulation and set concrete action guidelines in the overview. Regulatory Sandbox for experiments to drive the work of the health area, consisting of 3 field test operations, which are 1) Regulatory Sandbox 1 for restructuring of work / personnel structure of the health area and the health district office, 2) Regulatory Sandbox 2 for improvements in procurement conditions and investment to increase work efficiency and create a fiscal sustainability of health area, 3) Regulatory Sandbox 3 for collaboration in health area. In the implementation in health area, found that some parts of Regulatory Sandbox 1 and Regulatory Sandbox 2 had been performed through various mechanisms that can finalize the implementation and monitor the progress of the operation to lead the proposals for action in the next phase. Finally, all of the proposals have been put forward for trials in pilot health areas under the supervision of the National Health Reform Commission.