บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง สถานการณ์การจ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในระบบบริการสุขภาพของหน่วยบริการสังกัดกระทรวงสาธารณสุข มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ ผลลัพธ์ของการจ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงานและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงานของหน่วยบริการสังกัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง (Retrospective Study) โดยการศึกษาเชิงคุณภาพด้วยการสนทนากลุ่ม (Focus group) คณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับการจ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน สัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interviewing) บุคลากรทางสุขภาพ นอกจากนี้การศึกษาเชิงปริมาณจากข้อมูลทุติยภูมิ (secondary data) จากเอกสารที่เกี่ยวข้องและวิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งข้อมูล ได้แก่ ฐานข้อมูลการเงินการบัญชีโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขของกองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ฐานข้อมูล HDC ของกระทรวงสาธารณสุข ฐานข้อมูลการคำนวณการจ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงานและค่าคะแนนที่ใช้รายโรงพยาบาล ฐานข้อมูลกำลังคนของโรงพยาบาลและฐานข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า ค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน (P4P) ไม่ใช่ภาระที่ส่งผลกระทบต่อสถานการณ์เงินบำรุงของโรงพยาบาล แต่เป็นเครื่องมือทางการบริหารที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพของโรงพยาบาลได้เป็นอย่างดี โรงพยาบาลส่วนใหญ่ยังจ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงานน้อยกว่ากรอบวงเงินที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้ โรงพยาบาลทั่วไปที่มีการค้างจ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน P4P เพิ่มขึ้นทุกปีเนื่องจากมีปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน ค่าตอบแทนที่แต่ละวิชาชีพในแต่ละโรงพยาบาลได้รับมีความแตกต่างกันในระหว่างบุคคล การจ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงานสามารถให้กระตุ้นให้เกิดผลลัพธ์เชิงรูปธรรมที่แสดงให้เห็นการพัฒนางานบริการและงานด้านอื่นๆ ของโรงพยาบาลได้อย่างชัดเจน โดยผู้บริหารทุกระดับมีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการจ่าย P4P การบริหารจัดการ P4P ให้ประสบความสำเร็จนั้น ควรบูรณาการร่วมกับระบบการบริหารคุณภาพของโรงพยาบาลและการพัฒนางานประจำ ดังนั้น กระทรวงสาธารณสุขควรมีนโยบายในการเสริมขีดความสามารถและแรงจูงใจด้านการจัดการระบบ P4P แก่ผู้บริหารทุกระดับของโรงพยาบาล โดยใช้การเรียนรู้จากต้นแบบสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ในกระบวนการนี้อาจใช้กระบวนการของ Coaching ร่วมด้วย เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนในรูปแบบของเครือข่ายหรือพื้นที่เขตสุขภาพ ควรกำหนดสาระนโยบายในการใช้ P4P เป็นกลไกในการขับเคลื่อนเป้าหมายหลักขององค์กรอย่างบูรณาการกับการพัฒนาคุณภาพของโรงพยาบาล โดยนำเป้าหมายการพัฒนาคุณภาพเชิงรุกมาเป็นตัวเร่งในการดำเนินการพันธกิจของโรงพยาบาล
บทคัดย่อ
This retrospective research is aimed at; to study the situation, results of performance based compensation and analyze factors influencing the compensation according to the performance of service units under the Ministry of Public Health. The qualitative study was performed on group discussion committees (Focus group) involving in performance – based compensation, In-depth interviewing with health personnel. Moreover, the quantitative study was hold in this research which are the secondary data from related documents, data analyzation from various institutes. Including, the financial and accounting information form the hospitals that under Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health, Health Data Center information, performant - base compensation scoring, human resources information and others. The results explore that Pay for Performance (P4P) is not a burden situation. Rather, it is an administrative tool that affects to the quality development of the hospital. Various hospitals pay for their performance less than the limits set by the Ministry of Health. P4P arrearage was found in many hospitals doe to financial liquidity. The compensation received by each profession in each hospital varies from person to person. P4P can be a drive for tangible outcomes clearly. The management of the P4P has an influence on the success of the P4P payment. It should be integrated P4P system with the hospital accreditation system and routine works development.