บทคัดย่อ
การเดินและการใช้จักรยานเป็นกิจกรรมทางกายรูปแบบหนึ่งที่ประชาชนสามารถทำได้อย่างสม่ำเสมอในชีวิตประจำวัน ซึ่งส่งผลดีต่อสุขภาพ สิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการจัดการสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเดินและการใช้จักรยานในชุมชน 2) ประเมินระดับกิจกรรมทางกายที่เพียงพอและพลังงานจากกิจกรรมทางกายของประชาชน และ 3) ประเมินการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และค่าใช้จ่ายในการเดินทางของประชาชน ผู้วิจัยได้ใช้กระบวนการวิจัยเชิงปริมาณ วิธีการเก็บข้อมูล ได้แก่ 1) การสังเกตการณ์ในพื้นที่ และ 2) การใช้แบบสอบถามในชุมชนจำนวน 3 แห่ง คือ (1) ชุมชนสมเด็จพระเจ้าตากสิน อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา (2) ชุมชนสุขสบายใจ อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ และ (3) ชุมชนบ้านธาตุสบแวน อ.เชียงคำ จ.พะเยา ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนสมเด็จพระเจ้าตากสินมีคะแนนการเดิน การใช้จักรยานและการขนส่งสาธารณะมากที่สุด เนื่องมาจากระยะห่างระหว่างศูนย์กลางชุมชนกับศูนย์การค้าของอำเภอไม่ไกลมาก และมีการจัดระบบขนส่งสาธารณะที่ดี กลุ่มตัวอย่างจากชุมชนสมเด็จพระเจ้าตากสินและชุมชนบ้านธาตุสบแวนมีระดับกิจกรรมทางกายเพียงพอมากที่สุด เนื่องจากคนในชุมชนมีพฤติกรรมการเดินและการใช้จักรยานในการเดินทางมาก ชุมชนสุขสบายใจปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากรถจักรยานยนต์และรถยนต์และมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางด้วยรถยนต์มากที่สุด เนื่องมาจากมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเดินและการใช้จักรยานน้อยกว่าอีก ๒ แห่ง มีถนนเส้นใหญ่กลางชุมชนทำให้ยานพาหนะใช้ความเร็วสูง รวมถึงอยู่ห่างไกลจากศูนย์การค้า ข้อเสนอเชิงนโยบาย คือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมกิจกรรมทางกายควรร่วมกับชุมชนออกแบบวิธีการประเมินผลการดำเนินงานส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยาน อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาสภาพแวดล้อมทางกายภาพให้เหมาะสมกับการเดินและการใช้จักรยานในชุมชนต่อไป
บทคัดย่อ
Walking and cycling are common physical activities if performed regularly in daily life will return health, environmental and economic benefits. This study aimed to 1) assess built environments that encourage walking and cycling in communities, 2) assess levels of physical activity and energy consumption, and 3) investigate the amount of carbon dioxide emission and cost of transport. Quantitative method was employed. Data collection techniques comprised direct observation and questionnaire survey in three communities: 1) King Taksin community in Bang Khla district, Chachoengsao province, 2) Suksabaijai community in Mueang Kalasin district, Kalasin province, and 3) Ban Thatsopwaen community in Chiang Kham district, Phayao province. The results showed that King Taksin community had the highest scores on walking, cycling and use of public transport as the community center was close to the district shopping center with a well-managed public transport system. Samples from King Taksin and Ban Thatsopwaen communities had the highest levels of physical activity due to frequent walking and cycling in their daily life. Suksabaijai community had the highest level of carbon dioxide emission from motorcycles and cars, and the highest transport cost as the community center was far from the shopping center with its built environments of having a high-speed road passing through the community center hence discouraged walking and cycling. This study recommends that all agencies promoting physical activity should work with local community in designing built environments and evaluating effectiveness of walking and cycling promotion programs that fit with each community.