• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การพัฒนาคู่มือการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพสำหรับประเทศไทย ฉบับที่ 3

ทรงยศ พิลาสันต์; Songyot Pilasant; ปฤษฐพร กิ่งแก้ว; Pritaporn Kingkaew; วิไลลักษณ์ แสงศรี; Wilailak Saengsri; พัทธรา ลีฬหวรงค์; Pattara Leelahavarong; สลักจิต ชื่นชม; Salakjit Chuenchom; ณัฐธิดา มาลาทอง; Natthida Malathong;
วันที่: 2564-02
บทคัดย่อ
การประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ หรือ Health Technology Assessment (HTA) เป็นการศึกษาผลกระทบด้านบวกและลบที่เกิดขึ้น หรืออาจเกิดขึ้นจากการใช้เทคโนโลยีหรือนโยบายทั้งในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งรวมถึงผลกระทบด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคมและจริยธรรม คู่มือการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ (HTA guidelines) ถือเป็นหนึ่งในรากฐานที่สำคัญที่จะช่วยให้การประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพได้มาตรฐานและมีคุณภาพ มีการพัฒนาคู่มือการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพในประเทศไทยมาแล้ว 2 ฉบับ โดยฉบับที่ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2551 และ ฉบับที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2557 แต่ด้วยเทคโนโลยีด้านสุขภาพที่ก้าวหน้าและองค์ความรู้ในงานวิจัยที่มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะพัฒนาและปรับปรุงให้คู่มือฯ มีความทันต่อความก้าวหน้าด้านวิชาการและการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีด้านสุขภาพ โดยพิจารณาถึงปัญหาและข้อจำกัดของคู่มือฯ ทั้งสองฉบับ และจากประสบการณ์ของการนำคู่มือฯ ไปใช้ รวมทั้งพิจารณาถึงความต้องการของผู้เกี่ยวข้อง/กลุ่มผู้ใช้ประโยชน์จากคู่มือฯ ทั้งหมด ที่มีต่อการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพที่นอกเหนือจากความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ เพื่อให้ได้คู่มือฯ ที่ตรงตามความต้องการของผู้เกี่ยวข้อง/กลุ่มผู้ใช้ประโยชน์ โครงการนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ทบทวนคู่มือฯ ฉบับล่าสุดของหน่วยงาน HTA ในต่างประเทศที่น่าเชื่อถือหรือได้รับการยอมรับ สำหรับใช้ในปรับปรุงและพัฒนาข้อเสนอแนะในการประเมินเทคโนโลยี/มาตรการสุขภาพ และ 2) เพื่อประเมินคู่มือฯ ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2 ด้านการนำไปใช้ประโยชน์ ประสบการณ์ของผู้ใช้ ปัญหาจากการใช้คู่มือฯ ความต้องการจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการเปลี่ยนแปลงคู่มือฯ ของประเทศไทย ระเบียบวิธีวิจัยในการศึกษานี้แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ (1) การทบทวนวรรณกรรม/คู่มือ/แนวทางการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพของหน่วยงานที่น่าเชื่อถือและได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ เพื่อสังเคราะห์รายละเอียดที่มีปรากฏในวรรณกรรม/คู่มือ/แนวทางการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพที่เหมาะสมกับบริบทประเทศไทย (2) การสำรวจการใช้คู่มือฯ ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2 เพื่อวิเคราะห์ถึงรูปแบบที่เหมาะสมของคู่มือฯ ที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้มากที่สุด ซึ่งในส่วนนี้จะใช้ระเบียบวิธีวิจัยทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ (3) การประเมินการใช้คู่มือผ่านงานวิจัยด้านการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการในประเทศและต่างประเทศ (4) การจัดประชุมเชี่ยวชาญเพื่อรับฟังความคิดเห็นของเนื้อหาที่ได้จากการสังเคราะห์การทบทวนคู่มือฯ ในต่างประเทศ และการสำรวจการใช้คู่มือฯ เพื่อกำหนดเนื้อหาและทบทวนรายละเอียดในคู่มือฯ ฉบับที่ 3 (ฉบับปรับปรุง) เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการนิพนธ์คู่มือฯ สำหรับประเทศไทยต่อไป
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs2646.pdf
ขนาด: 2.589Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 10
ปีพุทธศักราชนี้: 7
รวมทั้งหมด: 155
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2483]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [620]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [100]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [126]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [160]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1290]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [232]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [21]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV