• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

ต้นแบบการใช้แอปพลิเคชันคุณลูกเพื่อส่งเสริมสุขภาพเด็กที่คลินิกสุขภาพเด็กดี

รสวันต์ อารีมิตร; Rosawan Areemit; สุชาอร แสงนิพันธ์กูล; Suchaorn Saengnipanthkul; ผกากรอง ลุมพิกานนท์; Pagakrong Lumbiganon; สุมิตร สุตรา; Sumitr Sutra; กุลวดี ศรีพานิชกุลชัย; Kunwadee Sripanidkulchai;
วันที่: 2563-12
บทคัดย่อ
เด็กและวัยรุ่นเป็นวัยสำคัญที่สมองและร่างกายมีการเจริญเติบโตและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จากสถานการณ์ด้านพัฒนาการของเด็กไทยช่วงวัย 0-5 ปี พบว่า มีเด็กที่สงสัยว่าพัฒนาการล่าช้าถึงร้อยละ 26 ส่วนเด็กวัยเรียนและวัยรุ่นที่มีภาวะสูงดีสมส่วนเพียงร้อยละ 61.5 เท่านั้น ซึ่งหากเด็กและวัยรุ่นได้รับการเลี้ยงดูและสร้างเสริมสุขภาพอย่างเหมาะสมตั้งแต่ต้นจะช่วยส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการเต็มที่ตามศักยภาพ สามารถเติบโตเป็นคนดีมีคุณภาพ มีความสุขและสามารถสร้างสรรค์ประโยชน์ต่อสังคมโดยรวมต่อไปในอนาคต การสร้างเสริมสุขภาพเด็กทำผ่านหลายภาคส่วน เช่น แพทย์และบุคลากรทางสาธารณสุขในคลินิกสุขภาพเด็กดี ผู้ปกครองในการเลี้ยงดูส่งเสริมสุขภาพที่บ้าน ครูอาจารย์ในโรงเรียนระดับต่างๆ รวมถึงชุมชนและสังคมโดยรวม ซึ่งทุกฝ่ายล้วนมีความสำคัญในการช่วยค้นหาปัญหาด้านสุขภาพเด็ก โดยมีสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็กเป็นหลักสำคัญในการรวบรวมข้อมูลด้านสุขภาพของเด็กที่ใช้สื่อสารระหว่างกัน โดยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 คณะนักวิจัยได้เริ่มวิจัยและพัฒนาเว็บไซต์คุณลูก (www.khunlook.com) และแอปพลิเคชันคุณลูก (KhunLook) สำหรับผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็ก เพื่อใช้ในการส่งเสริมให้เด็กมีสุขภาพ พัฒนาการเหมาะสมตามวัยและลดความเสี่ยงต่อการมีพัฒนาการที่ล่าช้าและการเจริญเติบโตผิดปกติ แอปพลิเคชันคุณลูกสามารถใช้ในการประเมินดูแลติดตามสุขภาพอย่างต่อเนื่องระหว่างผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กในศูนย์เด็กเล็กกับแพทย์และบุคลากรทางสาธารณสุข อีกทั้งยังช่วยให้ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กเข้าถึงองค์ความรู้ใหม่ที่มีการปรับเนื้อหาให้เข้าใจได้ง่ายและเข้าถึงได้เร็วยิ่งขึ้น วัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อศึกษาผลการถ่ายทอดเทคโนโลยีนวัตกรรมแอปพลิเคชันคุณลูกมาใช้ประโยชน์ที่คลินิกสุขภาพเด็กดี ซึ่งศึกษารูปแบบการบริหารจัดการสุขภาพโดยศึกษาต้นแบบการใช้แอปพลิเคชันคุณลูกในคลินิกสุขภาพเด็กดี โดยเน้นการให้ความสำคัญ Empowerment กับผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็ก โดยศึกษาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพ การใช้เครื่องมือ แบบวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพคนไทย (Thai Health Literacy Scales) ความพึงพอใจและความถี่ก่อนการใช้และหลังการใช้แอปพลิเคชันคุณลูกของกลุ่มผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็ก อีกทั้ง ศึกษาความพึงพอใจต่อแอปพลิเคชันคุณลูกของกลุ่มแพทย์และบุคลากรทางสาธารณสุข รวมถึงความสมบูรณ์และคุณภาพบริการที่คลินิกสุขภาพเด็กดี ผลสรุป การออกแบบและศึกษาการถ่ายทอดเทคโนโลยีนวัตกรรมแอปพลิเคชันคุณลูกมาใช้ประโยชน์ที่คลินิกสุขภาพเด็กดี ในกลุ่มผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็ก ทำให้ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กในกลุ่มที่ใช้แอปพลิเคชันคุณลูกมีระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทุกด้าน ผู้ปกครองสามารถประเมินการเจริญเติบโต พัฒนาการและการได้รับภูมิคุ้มกันของเด็กได้สอดคล้องกับที่แพทย์และบุคลากรทางสาธารณสุขประเมิน และมีความสอดคล้องมากกว่าผู้ปกครองที่ใช้สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็กประเมินเกือบทุกด้าน ผู้ปกครองทั้งกลุ่มอายุ < 35 ปี และ ≥ 35 ปี และกลุ่มที่จบการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรี และกลุ่มผู้ปกครองเด็กที่จบการศึกษาระดับเทียบเท่าปริญญาตรีหรือสูงกว่า ให้ความเห็นว่าแอปพลิเคชันคุณลูกใช้ง่ายกว่าสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก แอปพลิเคชันคุณลูกออกแบบมาเพื่อใช้ควบคู่กับสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก มีข้อดีที่ใช้งานง่าย พกพาสะดวก ข้อมูลทันสมัย สามารถ Back up ข้อมูลได้พบว่าผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็ก และแพทย์และบุคลากรทางสาธารณสุขส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการบูรณาการใช้แอปพลิเคชันคุณลูกกับสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็กในคลินิกสุขภาพเด็กดี โดยหากจำเป็นต้องเลือกเครื่องมืออย่างใดอย่างหนึ่งส่วนใหญ่เลือกใช้แอปพลิเคชันคุณลูก
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs2650.pdf
ขนาด: 4.192Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 6
ปีพุทธศักราชนี้: 3
รวมทั้งหมด: 164
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย

ชิ้นงานที่เกี่ยวข้อง

แสดงชิ้นที่เกี่ยวข้องโดย ชื่อเรื่อง ผู้แต่ง ผู้สร้าง และหัวเรื่อง

  • การสังเคราะห์องค์ความรู้เพื่อจัดทำข้อเสนอ การปฎิรูประบบบริการสุขภาพ และการสร้างหลักประกันสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุไทย 

    วรรณภา ศรีธัญรัตน์; Wannapa Srithanyarat; ผ่องพรรณ อรุณแสง; อัมพร เจริญชัย; สุจิตรา ลิ้มอำนวยลาภ; กัลยา พัฒนศรี (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2545)
    เอกสารนี้นำเสนอผลการสังเคราะห์องค์ความรู้ เพื่อจัดทำข้อเสนอการปฏิรูประบบบริการสุขภาพและการสร้างหลักประกันสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุไทย ในกระบวนการสังเคราะห์ได้มีการศึกษาวิเคราะห์การดำเนินงานด้านระบบบริการสุขภาพและหลักประกันส ...
  • การประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากโยบายหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ต่อกลุ่มทอผ้าพื้นบ้านในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 

    เกษราวัลณ์ นิลวรางกูร; Ketsarawan Nlilwarangkul; จรัญญา วงษ์พรหม; ชลิดา ธนัฐธีรกุล; สุมน ปิ่นเจริญ; Charunnya Wongphom; Chalida Tanutteerakul; Sumon Pincharoen (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2547)
    นโยบายหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ เป็นนโยบายที่ถูกกำหนดเพื่อยกระดับความเป็นอยู่ทางเศรษฐกิจของประชาชนในท้องถิ่น การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาขอบเขตของนโยบายและการกระตุ้นการพัฒนาของนโยบายต่อกลุ่มทอผ้าพื้นบ้าน ...
  • เคล็ดไม่ลับ R2R : บริบทโรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไป/ชุมชน 

    วิจารณ์ พานิช; พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข; จรวยพร ศรีศศลักษณ์; สรชัย จำเนียรดำรงการ; สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (แผนงานพัฒนาเครือข่ายวิจัยในรูปแบบงานวิจัยจากงานประจำสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2552-07)
    ภายในเวลา 5 ปี ที่ R2R งอกงามขึ้นที่ศิริราช บัดนี้ R2R ได้แพร่ขยายออกไปทั่วประเทศไทย ในหน่วยงานด้านสุขภาพ ภายใต้การจัดการของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ร่วมกับภาคีเครือข่ายที่หลากหลาย กระบวนการขับเคลื่อนไปสู่วงการสา ...

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV