บทคัดย่อ
ที่มา: โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่พบได้บ่อยและมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ปัจจุบันคาดการณ์ว่าประเทศไทยมีคนเป็นเบาหวานประมาณ 4.6 ล้านคน ค่าใช้จ่ายในการดูแลคนไข้เบาหวานประมาณ 3.5 – 8.4 หมื่นล้านต่อปี ยากลุ่ม SGLT-2 inhibitors เป็นยากลุ่มใหม่ที่ยังไม่ถูกบรรจุในบัญชียาหลักแห่งชาติและมีข้อมูลเพิ่มมากขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับการลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยได้และเป็นที่แนะนำใน clinical guidelines และมีข้อมูลการศึกษาความคุ้มค่าจากหลายประเทศ ซึ่งข้อมูลส่วนใหญ่พบว่ามีความคุ้มค่าในบริบทของประเทศนั้น แต่ยังไม่มีข้อมูลผลการศึกษาของประเทศไทย วิธีการศึกษา: วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อประเมินต้นทุนอรรถประโยชน์ของการใช้ยากลุ่มยับยั้ง SGLT-2 inhibitors ในการรักษาผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ เปรียบเทียบกับการรักษาด้วยยาหลอกและประเมินผลกระทบด้านงบประมาณโดยใช้แบบจำลองมาร์คอฟ โดยวิเคราะห์ต้นทุนและผลลัพธ์ทางสุขภาพตลอดชีวิตในมุมมองทางสังคมและมุมมองของรัฐบาล ต้นทุนที่ศึกษาเป็นต้นทุนทางตรงที่เกี่ยวกับการแพทย์และไม่เกี่ยวกับการแพทย์ ผลลัพธ์ทางสุขภาพ ได้แก่ ปีชีวิตและปีสุขภาวะของผู้ป่วย ผลการศึกษานำเสนอในรูปอัตราส่วนต้นทุนประสิทธิผลส่วนเพิ่ม (Incremental Cost-effectiveness Ratio, ICER) ทำการประเมินผลกระทบของความไม่แน่นอนของตัวแปรที่ใช้ในแบบจำลองโดยวิธีการวิเคราะห์ความไวแบบทางเดียวและแบบอาศัยความน่าจะเป็น ผลการศึกษา: พบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับยากลุ่ม SGLT-2 inhibitors จะมีปีชีวิตและปีสุขภาวะ (14.32 ปีชีวิต, 11.88 ปีสุขภาวะ) ที่ยืนยาวกว่าผู้ป่วยที่ได้รับยาหลอก (13.83 ปีชีวิต, 11.46 ปีสุขภาวะ) แต่ในบริบทของประเทศไทย ยาในกลุ่ม SGLT-2 inhibitors ทุกตัวยังไม่มีความคุ้มค่าทั้งจากการใช้ข้อมูล RCT และ Real world โดยทางเลือกของการใช้ยา Empagliflozin เป็นทางเลือกที่มีความคุ้มค่ามากที่สุด (อัตราส่วนต้นทุนประสิทธิผลส่วนเพิ่ม 259,000 บาทต่อปีสุขภาวะ) ตามด้วยยา Canagliflozin (485,000 บาทต่อปีสุขภาวะ) และยา Dapagliflozin (921,000 บาทต่อปีสุขภาวะ) หากพิจารณาโดยใช้ข้อมูลในภาพรวมของยากลุ่ม SGLT-2 inhibitors พบว่า อัตราส่วนของต้นทุนประสิทธิผลส่วนเพิ่มเท่ากับ 475,000 บาทต่อปีสุขภาวะ ข้อเสนอเชิงนโยบาย: 1) หากต้องการให้ยากลุ่ม SGLT-2 inhibitors ใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจมีความคุ้มค่าในบริบทของประเทศไทย ที่ความเต็มใจจ่าย 160,000 บาทต่อปีสุขภาวะ ราคายากลุ่ม SGLT-2 inhibitors ควรลดราคาลงมาร้อยละ 63 และ 2) หากพิจารณาในแต่ละรายการยา ราคายาควรลดลงมาดังนี้ ยา Empagliflozin ควรลดราคาลงมาร้อยละ 38 ยา Canagliflozin ควรลดราคาลงมาร้อยละ 64 และ ยา Dapagliflozin ควรลดราคาลงมาร้อยละ 79
บทคัดย่อ
Background: Type 2 diabetes metallis (T2DM) is one of the public health problem that burden worldwide including Thailand. Presently, T2DM patients were 4.6 million and health expenditures for T2DM treatment were 35 – 84 billion Baht. SGLT-2 inhibitor was new hypoglycemic drug and clinical studies reported that SGLT-2 inhibitors reduce cardiovascular mortality and cardiovascular events. SGLT-2 inhibitor has not been included in National List of Essential Medicine (NLEM) in Thailand. Economic evaluation studies of SGLT-2 inhibitors showed cost effective of SGLT-2 inhibitor in other countries but there was no study in Thailand. Method: The objectives of this study were to evaluate cost-utility and budget impact analysis of SGLT-2 inhibitors for T2DM treatment in high risk cardiovascular disease patients. Markov model was conducted to estimate costs and health outcomes for life time horizon with 1 year cycle. Parameters were derived from literature reviews, meta-analysis, standard costing guideline and data collections. The results were presented as incremental cost effectiveness ratio (ICER) in Thai Baht per LY or QALY gained as societal perspective. One-way sensitivity and probabilistic sensitivity analyses were performed to investigate effects of model variable uncertainties on the results. Result: The results showed that life year (14.32) and QALYs (11.88) of patients who received SGLT-2 inhibitors were longer than patients who received placebo (life year 13.83 and QALYs 11.46). The ICERs showed that SGLT-2 inhibitors were not cost effective in Thailand at willingness to pay 160,000 Baht per QALY gained. Empagliflozin was most cost-effective compare to Cangliflozin and Dapagliflozin which the ICERs were 259,000, 485,000, 921,000 Baht per QALY respectively. Moreover, SGLT-2 inhibitors group compared to placebo, the ICERs was 475,000 Baht per QALY. Policy recommendation: 1. The price of SGLT-2 inhibitors should reduce to be cost-effective at willingness to pay at 160,000 Baht per QALY gained for 63% reduction. 2. Empagliflozin Cangliflozin and Dapagliflozin were not cost-effective at willingness to pay for 160,000 Baht per QALY gained) but should be negotiated to be costeffective by 38%, 64% and 79% reduction, respectively.