บทคัดย่อ
ประเทศไทยมี “บัญชียาหลักแห่งชาติ” เป็นเครื่องมือสำคัญในระบบยาของประเทศ กองทุนสุขภาพภายใต้ระบบประกันสุขภาพภาครัฐใช้บัญชียาหลักแห่งชาติเป็นมาตรการอ้างอิงสิทธิประโยชน์ด้านยาเพื่อการเข้าถึงยาของประชาชน บทความนี้เป็นการทบทวนเอกสารย้อนหลัง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนการเข้าถึงยาจำเป็นที่มีราคาแพงผ่านกระบวนการคัดเลือกยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ กรณีบัญชีย่อย จ (2) นับตั้งแต่เริ่มมีบัญชีย่อย จ (2) (พ.ศ. 2550-2562) วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของกระบวนการคัดเลือกยาและผู้เกี่ยวข้องในกรณีบัญชีย่อย จ (2) เพื่อเป็นข้อเสนอแนะต่อผู้เกี่ยวข้องในการนำไปใช้อ้างอิงเพื่อการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติต่อไป ผลการทบทวน พบว่า บัญชีย่อย จ (2) ทำให้ประชาชนเข้าถึงยาที่มีราคาแพงมาก กระบวนการคัดเลือกยามีการพัฒนาและออกแบบกระบวนการเพิ่มเติมเฉพาะสำหรับบัญชีย่อย จ (2) คือ กระบวนการจัดทำแนวทางกำกับการใช้ยาและกระบวนการพิจารณาความสามารถในการจ่ายและการยอมรับได้ของภาระงบประมาณ แม้ว่าบัญชีย่อย จ (2) จะมีการควบคุมการเบิกจ่ายและการใช้ยาตามแนวทางกำกับการใช้ยาที่เข้มงวดกว่าบัญชีย่อยประเภทอื่นในบัญชียาหลักแห่งชาติ แต่ทว่าความท้าทายสำคัญที่ค้นพบคือ มีการเพิ่มจำนวนรายการยาในบัญชีย่อย จ (2) หรือเพิ่มข้อบ่งใช้ ส่งผลให้งบประมาณค่ายาในบัญชีนี้เพิ่มสูงขึ้นทุกปี ขณะที่ยังไม่มีการติดตามและประเมินผลด้านยาบัญชีย่อย จ (2) ดังนั้น ข้อเสนอแนะต่อการดำเนินงานในอนาคตที่สำคัญ คือ ควรมีการพัฒนาระบบติดตามและประเมินผลระดับประเทศและนำผลที่ได้จากการติดตามและประเมินผลมาใช้ประกอบการทบทวนและตัดสินใจเชิงนโยบายด้านการเข้าถึงยาจำเป็นที่มีราคาแพงผ่านกระบวนการคัดเลือกยาในบัญชียาหลักแห่งชาติได้อย่างเหมาะสมต่อไป
บทคัดย่อ
Thailand has “the National List of Essential Medicines (NLEM)” as an important tool of the drug
system. It is a referenced pharmaceutical benefit package of the public health insurance systems of
accessing to essential medicines. This retrospective review aimed to review access to high-cost essential
medicines through a drug selection process of subcategory E (2) during 2007-2019, to analyze the developments
of drug selection process including stakeholders, and to provide suggestions to stakeholders
further developments of the NLEM process. The results found that the subcategory E (2) process enhanced
access to high-cost essential medicines through the drug selection process developed and designed
specifically for subcategory E (2). The guideline for regulating drug use and the process of determining
the affordability and the budget capacity were included to subcategory E (2) selection process. Despite
stricter control in drug use and reimbursement of subcategory E (2) compared to other subcategories,
many challenges were found. Drug items and indications listed under the subcategory E (2) have been
increased with an annual increase of budget. However, the monitoring and evaluation (M&E) of drug use
in subcategory E (2) were lacking. Therefore, it is important to suggest development of the national M&E
system to be beneficial for policy decision making of access to high-cost essential medicines through the
drug selection process of the NLEM.