• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การพัฒนาแบบจำลอง คณิตศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และการดำเนินการ สำหรับมาตรการค้นหาวัณโรคแฝงในผู้สัมผัสวัณโรค (ปีที่1)

อุษา ฉายเกล็ดแก้ว; Usa Chaykhetkaew; มนทรัตม์ ถาวรเจริญทรัพย์; Montarat Thavorncharoensap; จิระพรรณ จิตติคุณ; Jiraphun Jittikoon; ศิตาพร ยังคง; Sitaporn Youngkong; พนิดา อยู่เพ็ชร; Panida Yupet; นุสรา สัตย์เพริศพราย; Nusara Satpretpry; สุรัคเมธ มหาศิริมงคล; Surakameth Mahasirimongkol;
วันที่: 2564
บทคัดย่อ
วัณโรคเป็นโรคติดเชื้อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญต่อประชากรทั่วโลก ประเทศไทยถูกจัดเป็น 1 ใน 14 ประเทศที่มีปัญหาภาระวัณโรคสูง (high TB burden country) องค์การอนามัยโลกได้กำหนดยุทธศาสตร์ยุติวัณโรค (End TB Strategy) โดยมีเป้าหมายลดอุบัติการณ์วัณโรค (incidence) ให้ต่ำกว่า 10 รายต่อแสนประชากรโลกภายในปี พ.ศ. 2578 (ค.ศ. 2035) ซึ่งการที่ประเทศไทยจะบรรลุเป้าหมายการลดอุบัติการณ์วัณโรคตามข้อกำหนดขององค์การอนามัยโลกได้นั้น ประเทศไทยจะต้องมีการดำเนินงานในทิศทางใหม่เพื่อสามารถยุติปัญหาวัณโรคอย่างจริงจัง หนึ่งในยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการลดอุบัติการณ์คือการเร่งรัดค้นหาผู้ติดเชื้อวัณโรคและผู้ป่วยวัณโรคให้ครอบคลุมโดยการคัดกรองในกลุ่มเสี่ยงเป้าหมาย (ยุทธศาสตร์ที่ 1) ซึ่งกำหนดให้เร่งรัดการค้นหาผู้ป่วยวัณโรคให้ครอบคลุมร้อยละ 100 โดยให้กลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองและได้รับการวินิจฉัยด้วยวิธีการตรวจที่รวดเร็ว ทั้งนี้ในการค้นหากลุ่มเสี่ยงเพื่อคัดกรองและวินิจฉัยวัณโรคและเมื่อค้นพบผู้ป่วยวัณโรคแล้วจะต้องดำเนินการสอบสวนผู้สัมผัสวัณโรค (contact investigation) เพื่อตัดวงจรการระบาดของวัณโรคในชุมชน ซึ่งตัวชี้วัดสำคัญของกลยุทธ์ในการยุติวัณโรคในแต่ละชุมชนคือ ร้อยละของผู้ป่วยวัณโรคที่ได้รับการสอบสวนผู้สัมผัสวัณโรคและร้อยละของผู้สัมผัสวัณโรคกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการรักษาวัณโรคแฝงหรือ latent tuberculosis infection (LTBI) เช่น กลุ่มเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี และกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวี อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังไม่มีการตรวจวินิจฉัยวัณโรคแฝงในผู้สัมผัสวัณโรคที่อายุมากกว่า 18 ปี ในการสอบสวนผู้สัมผัสวัณโรค การตัดสินใจรักษาผู้ติดเชื้อวัณโรคแฝงขึ้นอยู่สภาวะการดำเนินไปของโรคในผู้ติดเชื้อ เนื่องจากการตรวจวัณโรคแฝงด้วยเทคนิคทูเบอร์คูลิน (tuberculin skin test, TST) หรือการตรวจเลือดเพื่อวัดการหลั่งของ interferon gamma (interferon-gamma release assays, IGRAs) และในปัจจุบันมีความพยายามในการค้นหา progression biomarkers (ตัวบ่งชี้การดำเนินโรคทางชีวภาพ) ที่มีความสามารถในการทำนายโรค positive predictive value ที่ดีขึ้น โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขได้พัฒนาวิธีตรวจการแสดงออกของยีนในเลือดที่สามารถแยกผู้ป่วยวัณโรคแฝงออกจากผู้ที่ติดเชื้อวัณโรค นอกจากนี้ การสอบสวนผู้สัมผัสวัณโรคที่ประสบความสำเร็จจะต้องเป็นการดำเนินการในระดับชุมชน โดยที่จะต้องจัดให้มีการให้บริการคัดกรอง วินิจฉัย รักษาและสอบสวนผู้สัมผัสวัณโรคที่เหมาะสมกับการให้บริการในระดับชุมชน นโยบายคลินิกหมอครอบครัวเป็นกลไกที่สำคัญด้านสาธารณสุขของประเทศไทยในการให้บริการสุขภาพระดับปฐมภูมิที่มีคุณภาพในการป้องกัน ดูแลรักษาควบคุมโรควัณโรคในระดับชุมชน ดังนั้นการพัฒนาแบบจำลองคณิตศาสตร์ เศรษฐศาสตร์และการดำเนินการ (mathematic economic and operation modelling) สำหรับมาตรการค้นหาวัณโรคแฝงในผู้สัมผัสวัณโรคที่อายุมากกว่า 18 ปี ที่ครอบคลุมและเหมาะสมกับสถานการณ์วัณโรคในประเทศไทยเพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยประกอบการตัดสินใจกำหนดนโยบายยุติวัณโรค ที่เป็นประโยชน์สูงสุดต่อการยุติวัณโรค นอกจากนี้ผลของการวิจัยส่วนแบบจำลองการดำเนินการจะนำไปสู่การพัฒนารูปแบบการให้บริการคัดกรองและสอบสวนวัณโรคแฝงที่คลินิกหมอครอบครัว
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs2669.pdf
ขนาด: 4.110Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 2
ปีพุทธศักราชนี้: 0
รวมทั้งหมด: 91
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย

ชิ้นงานที่เกี่ยวข้อง

แสดงชิ้นที่เกี่ยวข้องโดย ชื่อเรื่อง ผู้แต่ง ผู้สร้าง และหัวเรื่อง

  • การพัฒนาระบบวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์การระบาดของวัณโรคดื้อยาในชุมชน โดยการศึกษาปัจจัยด้านพันธุกรรมของเชื้อวัณโรคดื้อยา ปัจจัยเจ้าบ้านที่สัมพันธ์กับอัตราการติดเชื้อวัณโรคดื้อยาทั้งจากตัวผู้ป่วยและผู้สัมผัสผู้ป่วย กระบวนการแพร่ระบาด และกระบวนการรักษาในพื้นที่ระบาดของประเทศไทย 

    หัชชา ศรีปลั่ง; Hutcha Sriplung; ณัฏฐกัญจน์ ทิพย์เครือ; Natthakan Thipkrua; สมาน ฟูตระกูล; Samarn futrakul; อิทธิพล จรัสโอฬาร; Itthipol Jarusoran; ก่อพงษ์ ทศพรพงศ์; Koapong Tossapornpong; ผลิน กมลวัทน์; Phalin Kamolwat; ไกรฤกษ์ สุธรรม; Krairurk Sutham; กันยา เอกอัศดร; Kunya Eak-usadorn; กรุณา สุขเกษม; Karuna Sukasem; ณัฐพร ไชยประดิฐกุล; Nathaporn Chaipraditkul; สายใจ สมิทธิการ; Saijai Smitthikarn; จันทิรา สุขะสิฐษ์วณิชกุล; Junthira Sukasitwanitchakul; ณฐกร จันทนะ; Nathakorn Juntana; อารียา ดิษรัฐกิจ; Areeya Ditrathakit; อุษณีย์ อึ้งเจริญ; Usanee Ungcharern (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2564)
    การศึกษาปัจจัยด้านพันธุกรรมของเชื้อวัณโรคดื้อยา ปัจจัยเจ้าบ้านที่สัมพันธ์กับอัตราการติดเชื้อวัณโรคดื้อยาทั้งจากตัวผู้ป่วยและผู้สัมผัสผู้ป่วย กระบวนการแพร่ระบาดและกระบวนการรักษา เป็นการวิจัยแบบตัดขวาง (Crossectional study) ...
  • การค้นหาสารต้านวัณโรคตัวใหม่ที่มีความจำเพาะสูงในการออกฤทธิ์ยับยั้งการติดเชื้อวัณโรคที่มีการดื้อยา 

    พรพรรณ พึ่งโพธิ์; Pornpan Pungpo; สุภา หารหนองบัว; Supa Hannongbua; อรดี พันธ์กว้าง; Auradee Punkvang; พฤทธิ์ คำศรี; Pharit Kamsri; ประสาท กิตตะคุปต์; Prasat Kittakoop; พจนีย์ ศรีมาโนชญ์; Potjanee Srimanote; ชมภูนุช ส่งสิริฤทธิกุล; Chomphunuch Songsiriritthigul; คมสันต์ สุทธิสินทอง; Khomson Suttisintong (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2562-06)
    วัณโรคเป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย ในงานวิจัยนี้มุ่งเน้นการออกแบบและค้นหาสารต้านวัณโรคตัวใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงในการยับยั้งวัณโรคดื้อยากลุ่มฟลูออโรควิโนโลน โดยใช้ระเบียบวิธีการจำลองแบบแล ...
  • การศึกษาความชุกของวัณโรคแฝงและการให้ยาไอโซไนอะซิดเพื่อป้องกันการเกิดวัณโรคในเรือนจำของประเทศไทย (ปีที่ 1) 

    กมล แก้วกิติณรงค์; Kamon Kawkitinarong; ศิวะพร เกตุจุมพล; Sivaporn Gatechompol; อัญชลี อวิหิงสานนท์; Anchalee Avihingsanon; กำพล สุวรรณพิมลกุล; Gompol Suwanpimolkul; วีระกิตติ์ หาญปริพรรณ์; Weerakit Hanparipan (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2562-11)
    วัณโรค (TB) ยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของโลกและประเทศไทยยังคงติดอับดับหนึ่งในสิบสี่ประเทศที่มีอุบัติการณ์การเกิดวัณโรคสูงสุดซึ่งรายงานโดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ซึ่งประกอบไปด้วยปัญหาวัณโรคทั่วไป, วัณโรคดื้อยาหลายสาย ...

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV