Show simple item record

Mathematic Economic and Operation modelling of programmatic screening strategies for latent tuberculosis infection (LTBI) in TB contacts (1st year)

dc.contributor.authorอุษา ฉายเกล็ดแก้วth_TH
dc.contributor.authorUsa Chaykhetkaewth_TH
dc.contributor.authorมนทรัตม์ ถาวรเจริญทรัพย์th_TH
dc.contributor.authorMontarat Thavorncharoensapth_TH
dc.contributor.authorจิระพรรณ จิตติคุณth_TH
dc.contributor.authorJiraphun Jittikoonth_TH
dc.contributor.authorศิตาพร ยังคงth_TH
dc.contributor.authorSitaporn Youngkongth_TH
dc.contributor.authorพนิดา อยู่เพ็ชรth_TH
dc.contributor.authorPanida Yupetth_TH
dc.contributor.authorนุสรา สัตย์เพริศพรายth_TH
dc.contributor.authorNusara Satpretpryth_TH
dc.contributor.authorสุรัคเมธ มหาศิริมงคลth_TH
dc.contributor.authorSurakameth Mahasirimongkolth_TH
dc.date.accessioned2021-05-27T06:21:17Z
dc.date.available2021-05-27T06:21:17Z
dc.date.issued2564
dc.identifier.otherhs2669
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5356
dc.description.abstractวัณโรคเป็นโรคติดเชื้อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญต่อประชากรทั่วโลก ประเทศไทยถูกจัดเป็น 1 ใน 14 ประเทศที่มีปัญหาภาระวัณโรคสูง (high TB burden country) องค์การอนามัยโลกได้กำหนดยุทธศาสตร์ยุติวัณโรค (End TB Strategy) โดยมีเป้าหมายลดอุบัติการณ์วัณโรค (incidence) ให้ต่ำกว่า 10 รายต่อแสนประชากรโลกภายในปี พ.ศ. 2578 (ค.ศ. 2035) ซึ่งการที่ประเทศไทยจะบรรลุเป้าหมายการลดอุบัติการณ์วัณโรคตามข้อกำหนดขององค์การอนามัยโลกได้นั้น ประเทศไทยจะต้องมีการดำเนินงานในทิศทางใหม่เพื่อสามารถยุติปัญหาวัณโรคอย่างจริงจัง หนึ่งในยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการลดอุบัติการณ์คือการเร่งรัดค้นหาผู้ติดเชื้อวัณโรคและผู้ป่วยวัณโรคให้ครอบคลุมโดยการคัดกรองในกลุ่มเสี่ยงเป้าหมาย (ยุทธศาสตร์ที่ 1) ซึ่งกำหนดให้เร่งรัดการค้นหาผู้ป่วยวัณโรคให้ครอบคลุมร้อยละ 100 โดยให้กลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองและได้รับการวินิจฉัยด้วยวิธีการตรวจที่รวดเร็ว ทั้งนี้ในการค้นหากลุ่มเสี่ยงเพื่อคัดกรองและวินิจฉัยวัณโรคและเมื่อค้นพบผู้ป่วยวัณโรคแล้วจะต้องดำเนินการสอบสวนผู้สัมผัสวัณโรค (contact investigation) เพื่อตัดวงจรการระบาดของวัณโรคในชุมชน ซึ่งตัวชี้วัดสำคัญของกลยุทธ์ในการยุติวัณโรคในแต่ละชุมชนคือ ร้อยละของผู้ป่วยวัณโรคที่ได้รับการสอบสวนผู้สัมผัสวัณโรคและร้อยละของผู้สัมผัสวัณโรคกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการรักษาวัณโรคแฝงหรือ latent tuberculosis infection (LTBI) เช่น กลุ่มเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี และกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวี อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังไม่มีการตรวจวินิจฉัยวัณโรคแฝงในผู้สัมผัสวัณโรคที่อายุมากกว่า 18 ปี ในการสอบสวนผู้สัมผัสวัณโรค การตัดสินใจรักษาผู้ติดเชื้อวัณโรคแฝงขึ้นอยู่สภาวะการดำเนินไปของโรคในผู้ติดเชื้อ เนื่องจากการตรวจวัณโรคแฝงด้วยเทคนิคทูเบอร์คูลิน (tuberculin skin test, TST) หรือการตรวจเลือดเพื่อวัดการหลั่งของ interferon gamma (interferon-gamma release assays, IGRAs) และในปัจจุบันมีความพยายามในการค้นหา progression biomarkers (ตัวบ่งชี้การดำเนินโรคทางชีวภาพ) ที่มีความสามารถในการทำนายโรค positive predictive value ที่ดีขึ้น โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขได้พัฒนาวิธีตรวจการแสดงออกของยีนในเลือดที่สามารถแยกผู้ป่วยวัณโรคแฝงออกจากผู้ที่ติดเชื้อวัณโรค นอกจากนี้ การสอบสวนผู้สัมผัสวัณโรคที่ประสบความสำเร็จจะต้องเป็นการดำเนินการในระดับชุมชน โดยที่จะต้องจัดให้มีการให้บริการคัดกรอง วินิจฉัย รักษาและสอบสวนผู้สัมผัสวัณโรคที่เหมาะสมกับการให้บริการในระดับชุมชน นโยบายคลินิกหมอครอบครัวเป็นกลไกที่สำคัญด้านสาธารณสุขของประเทศไทยในการให้บริการสุขภาพระดับปฐมภูมิที่มีคุณภาพในการป้องกัน ดูแลรักษาควบคุมโรควัณโรคในระดับชุมชน ดังนั้นการพัฒนาแบบจำลองคณิตศาสตร์ เศรษฐศาสตร์และการดำเนินการ (mathematic economic and operation modelling) สำหรับมาตรการค้นหาวัณโรคแฝงในผู้สัมผัสวัณโรคที่อายุมากกว่า 18 ปี ที่ครอบคลุมและเหมาะสมกับสถานการณ์วัณโรคในประเทศไทยเพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยประกอบการตัดสินใจกำหนดนโยบายยุติวัณโรค ที่เป็นประโยชน์สูงสุดต่อการยุติวัณโรค นอกจากนี้ผลของการวิจัยส่วนแบบจำลองการดำเนินการจะนำไปสู่การพัฒนารูปแบบการให้บริการคัดกรองและสอบสวนวัณโรคแฝงที่คลินิกหมอครอบครัวth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectวัณโรคth_TH
dc.subjectTuberculosisth_TH
dc.subjectวัณโรค--ผู้ป่วยth_TH
dc.subjectแบบจำลองทางคณิตศาสตร์th_TH
dc.subjectผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies)th_TH
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.subjectวัณโรค--การวินิจฉัยth_TH
dc.subjectMathematical Modelsth_TH
dc.subjectEconomicsen_US
dc.titleการพัฒนาแบบจำลอง คณิตศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และการดำเนินการ สำหรับมาตรการค้นหาวัณโรคแฝงในผู้สัมผัสวัณโรค (ปีที่1)th_TH
dc.title.alternativeMathematic Economic and Operation modelling of programmatic screening strategies for latent tuberculosis infection (LTBI) in TB contacts (1st year)th_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.identifier.callnoWF200 อ864ก 2564
dc.identifier.contactno62-079
dc.subject.keywordผู้สัมผัสวัณโรคth_TH
dc.subject.keywordLatent Tuberculosisen_US
.custom.citationอุษา ฉายเกล็ดแก้ว, Usa Chaykhetkaew, มนทรัตม์ ถาวรเจริญทรัพย์, Montarat Thavorncharoensap, จิระพรรณ จิตติคุณ, Jiraphun Jittikoon, ศิตาพร ยังคง, Sitaporn Youngkong, พนิดา อยู่เพ็ชร, Panida Yupet, นุสรา สัตย์เพริศพราย, Nusara Satpretpry, สุรัคเมธ มหาศิริมงคล and Surakameth Mahasirimongkol. "การพัฒนาแบบจำลอง คณิตศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และการดำเนินการ สำหรับมาตรการค้นหาวัณโรคแฝงในผู้สัมผัสวัณโรค (ปีที่1)." 2564. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5356">http://hdl.handle.net/11228/5356</a>.
.custom.total_download85
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month2
.custom.downloaded_this_year12
.custom.downloaded_fiscal_year16

Fulltext
Icon
Name: hs2669.pdf
Size: 4.110Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record