Show simple item record

Physical Activity in Thai Children and Youth Aged 0-22 Years: A Systematic Review

dc.contributor.authorทรงทรรศน์ จินาพงศ์th_TH
dc.contributor.authorSongdhasn Chinapongth_TH
dc.contributor.authorระวีวรรณ มาพงษ์th_TH
dc.contributor.authorRaweewan Maphongth_TH
dc.contributor.authorธนัญพร พรมจันทร์th_TH
dc.contributor.authorThnunpron Promjunth_TH
dc.contributor.authorอารีกุล อมรศรีวัฒนกุลth_TH
dc.contributor.authorAreekul Amornsriwatanakulth_TH
dc.date.accessioned2021-06-30T04:30:57Z
dc.date.available2021-06-30T04:30:57Z
dc.date.issued2564-06
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 15,2 (เม.ย. - มิ.ย. 2564) : 231-249th_TH
dc.identifier.issn2672-9415
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5376
dc.description.abstractภูมิหลังและเหตุผล: การมีกิจกรรมทางกายในระดับที่เพียงพอตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลกจำเป็นต่อการพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวและสมรรถภาพทางกายในเด็กและเยาวชน และมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ หลายปีที่ผ่านมาประเทศไทยมีการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมทางกายเป็นจำนวนมากแต่ยังไม่ได้มีการวิเคราะห์ส่วนขาดของการวิจัยและทิศทางที่ชัดเจน วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประเด็นการวิจัยที่ผ่านมาและนำเสนอช่องว่างที่ยังเป็นส่วนขาดทางการวิจัยด้านกิจกรรมทางกายในเด็กและเยาวชนไทย อายุระหว่าง 0-22 ปี ระเบียบวิธีศึกษา: เป็นการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ โดยสืบค้นงานวิจัยจากบทความวิจัยและวิทยานิพนธ์จากฐานข้อมูลงานวิจัยในประเทศไทยและนานาชาติ เกณฑ์ในการคัดเลือกงานวิจัย คือ งานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับกิจกรรมทางกายในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเด็กและเยาวชนที่มีสุขภาพดีในประเทศไทย อายุระหว่าง 0-22 ปี ในช่วงปี พ.ศ. 2552-2562 ที่ผ่านการประเมินความน่าเชื่อถือของงานวิจัย โดยแบบประเมินคุณภาพงานวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ และจำแนกงานวิจัยออกเป็นกลุ่มตามประเด็นการวิจัยที่ผู้วิจัยได้ตั้งไว้ด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา: มีงานวิจัยผ่านเกณฑ์คัดเข้าจำนวน 79 งานวิจัย พบว่า มีการวิจัยในกลุ่มตัวอย่างอายุ 0-5 ปี เป็นจำนวนน้อยมาก (ร้อยละ 1.3) ประเด็นที่ยังมีการศึกษาอยู่จำนวนไม่มาก ได้แก่ อิทธิพลของกิจกรรมทางกายต่อความสามารถทางการรู้คิด สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ สังคมและวัฒนธรรมที่ส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกาย การวิจัยที่ยังไม่มีการวิจัยในประเทศไทยและควรได้รับการสนับสนุนและศึกษาวิจัยในอนาคต ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมทางกายและตัวแปรด้านสุขภาพจิต เศรษฐฐานะ การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกาย เป็นต้น ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย: นักวิจัยควรพิจารณาศึกษาส่วนขาดด้านงานวิจัยตามที่ได้แนะนำข้างต้น เพื่อให้ประเทศไทยมีข้อมูลรอบด้านในการวางนโยบายและแผนส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนไทยมีกิจกรรมทางกายในระดับที่เพียงพอต่อการมีสุขภาพที่ดีและเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectเด็กและเยาวชนth_TH
dc.subjectกิจกรรมทางกายth_TH
dc.subjectPhysical Activityth_TH
dc.subjectการสร้างเสริมสุขภาพth_TH
dc.titleกิจกรรมทางกายในเด็กและเยาวชนไทย อายุ 0-22 ปี: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบth_TH
dc.title.alternativePhysical Activity in Thai Children and Youth Aged 0-22 Years: A Systematic Reviewth_TH
dc.typeArticleth_TH
dc.description.abstractalternativeBackground and rationale: Having sufficient physical activity (PA), as recommended by the World Health Organization, is necessary for developing motor skills and physical fitness of children and youth and reducing risks of non-communicable diseases when entering adulthood. Over the past years, there has been a large amount of research and development of PA knowledge in Thailand, but the research gaps and clear directions for future research have not been analyzed and identified. Objective: To investigate research topics conducted in the past and identify research gaps in PA among Thai children and youth aged 0-22 years and provide future research suggestions. Methodology: This study applied a systematic review by searching research articles from Thai and international databases. The review included studies on PA in Thai healthy children and youth aged 0-22 years written in Thai or English and published during 2009-2019. The quality of the studies was assessed using a standard checklist. Descriptive statistics and content analysis were used for data analysis. Result: A total of 79 studies were qualified and included in the review. The least age groups represented in the review were children aged 0-5 years (1.3%). There was a low number of studies in the areas concerning the association between PA and cognitive functioning, physical environment, and sociological-cultural factors. Areas that had not been investigated were the associations between PA and mental health, socio-economic status, and technology for promoting PA. Recommendation: Researchers should consider conducting studies that have been identified as gaps of the research in this field to provide comprehensive information for the development of policies and programs to encourage Thai children and youth to have sufficient PA and adopt PA as part of their lifestyle.th_TH
.custom.citationทรงทรรศน์ จินาพงศ์, Songdhasn Chinapong, ระวีวรรณ มาพงษ์, Raweewan Maphong, ธนัญพร พรมจันทร์, Thnunpron Promjun, อารีกุล อมรศรีวัฒนกุล and Areekul Amornsriwatanakul. "กิจกรรมทางกายในเด็กและเยาวชนไทย อายุ 0-22 ปี: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ." 2564. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5376">http://hdl.handle.net/11228/5376</a>.
.custom.total_download4301
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month81
.custom.downloaded_this_year483
.custom.downloaded_fiscal_year835

Fulltext
Icon
Name: hsri-journal-v15n ...
Size: 859.4Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

  • Articles [1334]
    บทความวิชาการ

Show simple item record