Show simple item record

THAI Model, Thai Home-based Autism Intervention Model

dc.contributor.authorแก้วตา นพมณีจำรัสเลิศth_TH
dc.contributor.authorKaewta Nopmaneejumruslersth_TH
dc.contributor.authorเพลิน ประทุมมาศth_TH
dc.contributor.authorPlern Pratoommasth_TH
dc.contributor.authorกันนิกา เพิ่มพูนพัฒนาth_TH
dc.contributor.authorKannika Permpoonputtanath_TH
dc.contributor.authorประพา หมายสุขth_TH
dc.contributor.authorPrapa Maisookth_TH
dc.contributor.authorฒามรา สุมาลย์โรจน์th_TH
dc.contributor.authorTamara Sumalrotth_TH
dc.contributor.authorกุณฑลีพร อมรชัยยาพิทักษ์th_TH
dc.contributor.authorKoonthaleeporn Amornchaiyapitakth_TH
dc.contributor.authorธนยศ สุมาลย์โรจน์th_TH
dc.contributor.authorThanayot Sumalrotth_TH
dc.contributor.authorตติมา กล่อมจันทร์th_TH
dc.contributor.authorTatima Klomchanth_TH
dc.contributor.authorกันย์ญาดา เอี่ยมสุนทรth_TH
dc.contributor.authorKanyada Iamsoontornth_TH
dc.contributor.authorจิตตินันท์ ชิ้นปิ่นเกลียวth_TH
dc.contributor.authorJittinan Chinpinkyoth_TH
dc.date.accessioned2021-08-24T04:10:30Z
dc.date.available2021-08-24T04:10:30Z
dc.date.issued2564
dc.identifier.otherhs2695
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5394
dc.description.abstractออทิสติกมีสาเหตุจากพันธุกรรมที่ส่งผลให้เกิดความบกพร่องของสมองและระบบประสาท การแก้ไขความบกพร่องต้องอาศัยหลักการทางสมองและระบบประสาท Neuroplasticity หรือ ความสามารถในการปรับเปลี่ยนของสมอง มีองค์ประกอบที่เป็นหลักสำคัญ คือ การเริ่มกระตุ้นพัฒนาการตั้งแต่อายุยังน้อย รูปแบบวิธีการที่ตรง มุ่งเป้าไปที่ความบกพร่องหลักของโรค และสมองตื่นตัวพร้อมเรียนรู้ คือ เด็กรู้สึกสนุก สนใจ ชอบ ร่วมกับความถี่ ความสม่ำเสมอในการส่งเสริมพัฒนาการ วัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการคัดกรองและส่งเสริมเด็กพัฒนาการล่าช้า เด็กออทิสติกด้วยโปรแกรมไทย โดยเปรียบเทียบจากการเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการเด็กและเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของพ่อแม่ ก่อนและหลังใช้โปรแกรมไทย และเพื่อศึกษาจุดแข็งของชุมชนประเทศไทยในการดูแลเด็กพัฒนาการล่าช้า เด็กออทิสติก ระเบียบวิธีวิจัย เป็นแบบผสานวิธี โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ดูแลหลัก รูปแบบการวิจัยกึ่งทดลอง ทดสอบก่อนและหลัง ผลลัพธ์หลัก คือ พัฒนาการอารมณ์สังคม (Functional Emotional Assessment Scale, FEAS) และทักษะการมีปฏิสัมพันธ์กับเด็ก (I-CARE) ผลลัพธ์รอง คือ พัฒนาการเด็กปฐมวัย 5 ด้าน (DSPM) และความเครียดของพ่อแม่ (PSI) วิธีการเก็บข้อมูล FEAS และ I-CARE โดยบันทึกภาพวีดิทัศน์ผู้ดูแลเล่นกับเด็กเวลา 15 นาที/คลิป ช่วงก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ ประเมินโดยวิธี Blinded Ratings แบบประเมิน DSPM และ PSI เก็บข้อมูลและประเมินผลโดยบุคลากรสาธารณสุขในพื้นที่ THAI Model ประกอบด้วย 3 กระบวนการหลัก คือ 1) การ Coaching ผู้ดูแลในคลินิกพัฒนาการเด็ก 2 ครั้ง/เดือน หรือ เยี่ยมบ้าน 2) การส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่บ้านตามหลัก I-CARE อย่างน้อย 10 ชั่วโมง/สัปดาห์ (หรือ 1 1/2 ชั่วโมง/วัน) และ 3) กิจกรรมห้องเรียนพ่อแม่ทุก 2-3 เดือน พื้นที่ศึกษา โรงพยาบาลจาก 5 ภูมิภาคของประเทศไทย ผู้เข้าร่วมวิจัยเป็นเด็กอายุ 1-4 ปี จำนวน 46 คน ที่สงสัยภาวะออทิสติก (DSPM ล่าช้า + MCHAT-R พบความเสี่ยง) ผลการวิจัยพบว่า สัดส่วนของเด็กที่ผ่านการคัดกรอง (DSPM และ M-CHAT-R) จำนวน 46 คน ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะออทิสติก จำนวน 26 คน หรือ คิดเป็น 56% ผู้ดูแลเด็กทั้ง 46 ครอบครัว มีค่าเฉลี่ยทักษะการมีปฏิสัมพันธ์กับเด็ก (I-CARE) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Meandiff = 4.4, p = .000) และค่าเฉลี่ยความเครียดของผู้ดูแล (PSI) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Meandiff = 9.8, p =.000) พัฒนาการเด็กทั้ง 46 คน พบว่า ค่าเฉลี่ยพัฒนาการอารมณ์สังคมของเด็ก (FEAS) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Meandiff = 3.2, p = .004) และผลการประเมินพัฒนาการ (DSPM) พบว่า มีเด็กที่ผ่านการคัดกรองตามช่วงวัยจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (z = 6.12, p = .008) ผลการวิเคราะห์เฉพาะในกลุ่มเด็กออทิสติก 26 คน พบว่า ผู้ดูแลมีทักษะการมีปฏิสัมพันธ์ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ค่าเฉลี่ยพัฒนาการอารมณ์สังคมเด็กดีขึ้น แต่ไม่พบนัยสำคัญทางสถิติ โดยพบว่า มีผู้ดูแลเพียง 1 ใน 4 เท่านั้น ที่สามารถให้เวลาอย่างสม่ำเสมอในการลงมาเล่นกับเด็กเพื่อส่งเสริมพัฒนาการ จุดแข็งของชุมชนประเทศไทยในการดูแลเด็กพัฒนาการล่าช้า เด็กออทิสติก พบว่า ครอบครัวส่วนใหญ่ในสังคมต่างจังหวัดยังคงอยู่กันแบบเป็นครอบครัวใหญ่ ทำให้มีเวลาช่วยกันดูแลเด็ก มีสัมพันธภาพที่ดีในชุมชน นอกจากนั้นการทำงานกับเครือข่ายในพื้นที่ สิ่งแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ มิตรภาพในชุมชน ยังเป็นส่วนสำคัญในการเสริมพลังพ่อแม่ สรุป โปรแกรมไทยแสดงให้เห็นถึงการปรับเปลี่ยนกระบวนการส่งเสริมพัฒนาการเด็กพัฒนาการล่าช้า เด็กออทิสติก งานวิจัยนี้พบว่า ทักษะผู้ดูแลและพัฒนาการเด็กดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ในส่วนครอบครัวเด็กที่มีภาวะออทิสติก พบว่า ความถี่ในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กยังไม่มากพอ ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสมองและระบบประสาทth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectAutism Spectrum Disorderth_TH
dc.subjectAutismth_TH
dc.subjectAutism--Diagnosisth_TH
dc.subjectAutism--Therapyth_TH
dc.subjectAutistic Disorderth_TH
dc.subjectAutistic Disorder--Diagnosisth_TH
dc.subjectAutistic Disorder--Therapyth_TH
dc.subjectโรคสมาธิสั้นth_TH
dc.subjectโรคสมาธิสั้น--การวินิจฉัยth_TH
dc.subjectโรคสมาธิสั้น--การรักษาth_TH
dc.subjectAutism in Childrenth_TH
dc.subjectเด็กสมาธิสั้นth_TH
dc.subjectออทิสซึมในเด็กth_TH
dc.subjectเด็กพิเศษth_TH
dc.subjectพัฒนาการผิดปกติth_TH
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.subjectAutism Spectrum Disorders in Childrenth_TH
dc.subjectAttention Deficit Hyperactivity Disorderen_US
dc.subjectADHDen_US
dc.titleคลินิกพัฒนาการเด็กต้นแบบ และการศึกษาผลการส่งเสริมเด็กพัฒนาการล่าช้า เด็กออทิสติกด้วยโปรแกรมไทยth_TH
dc.title.alternativeTHAI Model, Thai Home-based Autism Intervention Modelth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.identifier.callnoWS350.8 ก892ค 2564
dc.identifier.contactno62-097
dc.subject.keywordออทิสซึมth_TH
dc.subject.keywordออทิสติกth_TH
dc.subject.keywordโปรแกรมไทยth_TH
dc.subject.keywordTHAI Modelth_TH
.custom.citationแก้วตา นพมณีจำรัสเลิศ, Kaewta Nopmaneejumruslers, เพลิน ประทุมมาศ, Plern Pratoommas, กันนิกา เพิ่มพูนพัฒนา, Kannika Permpoonputtana, ประพา หมายสุข, Prapa Maisook, ฒามรา สุมาลย์โรจน์, Tamara Sumalrot, กุณฑลีพร อมรชัยยาพิทักษ์, Koonthaleeporn Amornchaiyapitak, ธนยศ สุมาลย์โรจน์, Thanayot Sumalrot, ตติมา กล่อมจันทร์, Tatima Klomchan, กันย์ญาดา เอี่ยมสุนทร, Kanyada Iamsoontorn, จิตตินันท์ ชิ้นปิ่นเกลียว and Jittinan Chinpinkyo. "คลินิกพัฒนาการเด็กต้นแบบ และการศึกษาผลการส่งเสริมเด็กพัฒนาการล่าช้า เด็กออทิสติกด้วยโปรแกรมไทย." 2564. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5394">http://hdl.handle.net/11228/5394</a>.
.custom.total_download121
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year19
.custom.downloaded_fiscal_year4

Fulltext
Icon
Name: hs2695.pdf
Size: 7.676Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record