บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนบริการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตของโรงพยาบาล ภายใต้โครงการพัฒนาข้อเสนอ Universal Coverage for Emergency Patients (UCEP) ด้านการเงินการคลัง โดยการศึกษาต้นทุนครั้งนี้เก็บรวบรวมข้อมูลค่าใช้จ่ายจากรายงานทางการเงินและข้อมูลบริการ ปีงบประมาณ 2559 จากโรงพยาบาล 8 แห่ง ประกอบด้วยโรงพยาบาลในสังกัดกรมการแพทย์ 2 แห่ง และในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข 6 แห่ง (เป็นโรงพยาบาลศูนย์ 4 แห่ง และโรงพยาบาลทั่วไป 2 แห่ง) คำนวณต้นทุนด้วยวิธีต้นทุนแบบดั้งเดิม (traditional cost method) และปรับใช้การคำนวณต้นทุนการบริการผู้ป่วยรายบุคคลด้วยวิธี cost matrix ซึ่งมี 2 ขั้นตอน คือ (1) กระจายต้นทุนจากหน่วยต้นทุนหลักไปยังผู้ป่วยแต่ละรายตามบริการที่ผู้ป่วยได้รับ (2) รวบรวมต้นทุนของการให้บริการผู้ป่วยแต่ละกิจกรรมเป็นข้อมูลรายบุคคล ผลการศึกษา พบว่า โรงพยาบาลทั้ง 8 แห่ง มีผู้ป่วยอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน รวมทั้งสิ้น 82,811 ราย จำแนกเป็นผู้ป่วยอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน (สีแดง) 20,503 ราย ผู้ป่วยอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน (สีชมพู) 62,308 ราย สำหรับการวิเคราะห์ต้นทุนการให้บริการภาพรวมของโรงพยาบาลทั้ง 8 แห่ง พบว่า ค่าแรงมีสัดส่วนสูงที่สุด รองมาคือค่าวัสดุและค่าเสื่อมราคา เมื่อพิจารณาเฉพาะต้นทุนการให้บริการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลในโรงพยาบาลรัฐขนาดใหญ่ได้เพียงแห่งเดียวคือ โรงพยาบาล A พบว่า ต้นทุนรวมของการให้บริการผู้ป่วยฉุกเฉินของโรงพยาบาล A เท่ากับ 472,317,273 บาท และมีผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต 18,027 ราย คิดเป็นต้นทุนเฉลี่ยต่อรายเท่ากับ 26,201 บาท และต้นทุนเฉลี่ยต่อค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ที่ปรับแล้วของกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม เท่ากับ 9,661 บาท อย่างไรก็ตามวิธีการศึกษาข้อมูลต้นทุนด้วยวิธี cost matrix นั้นต้องการความสมบูรณ์ของข้อมูลบริการและข้อมูลค่าใช้จ่ายอย่างละเอียด ดังนั้น การศึกษาครั้งต่อไปควรพิจารณาถึงการปรับใช้วิธีคำนวณต้นทุนที่เหมาะสมกับระบบข้อมูลโรงพยาบาล เพื่อให้ครอบคลุมจำนวนโรงพยาบาลที่สามารถเป็นตัวแทนที่ดีและมีขนาดข้อมูลที่เหมาะสม
บทคัดย่อ
The objective of this study was to estimate the cost of emergency patients in public hospitals for financial policy recommendation to the Universal Coverage for Emergency Patients (UCEP). Financial and service information for the fiscal year 2019 was gathered from eight hospitals, two of which were general hospitals of the Department of Medical Services, four regional hospitals, and two general hospitals of the Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health. The traditional cost method with the cost matrix method was applied to analyze the unit cost of emergency patients. We used the cost matrix in two steps: (1) cost distribution of the fundamental cost centers to each patient based on the services received; (2) summing all medical activity costs on each patient and reporting them as individual patient data. The result showed that there were a total of 82,811 emergency patients from eight hospitals, 20,503 were triaged as resuscitation patients (red), and 62,308 emergency patients (pink). Labor costs were the highest share of the overall costs, followed by material costs, and capital costs. Unfortunately, the present study could analyze complete cost information from only one hospital (hospital A). The total cost of 18,027 emergency patients was THB 472,317,273. The average cost per person was THB 26,201, and the average cost per adjusted relative weight by diagnosis related group was THB 9,661. This costing method that required accurate hospital financial and emergency medical service information reported only data from one hospital. Further studies should explore alternative appropriate costing methods that data from more hospitals could be analyzed as more representative.