• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การประยุกต์ใช้วิธีการพัฒนาคุณภาพโดยความร่วมมือในการป้องกันการขาดยาของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่

อะเคื้อ อุณหเลขกะ; Akeau Unahalekhaka;
วันที่: 2564
บทคัดย่อ
โครงการนี้เป็นโครงการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางการดำเนินงานในการป้องกันการขาดยาของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ที่เหมาะสมกับลักษณะของผู้ป่วยแต่ละกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งการปฏิบัติงานของบุคลากรและบริบทของโรงพยาบาล การดำเนินการประยุกต์ใช้วิธีการพัฒนาคุณภาพโดยความร่วมมือ (collaborative quality improvement) ของสถาบันพัฒนาบริการสุขภาพ (The Institute for Healthcare Improvement [IHI]) ประเทศสหรัฐอเมริกา ประกอบด้วยการดำเนินงาน 8 ขั้นตอน คือ 1) การเลือกประเด็นที่จะพัฒนา 2) การเชิญผู้เชี่ยวชาญเข้าร่วมในการพัฒนา 3) การรับสมัครหน่วยงานที่ต้องการร่วมพัฒนาและจัดตั้งทีม 4) การจัดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 5) การดำเนินการพัฒนา 6) การประเมินการเปลี่ยนแปลง 7) การวัดและการประเมินผล และ 8) การสรุปผลการดำเนินงานและการเผยแพร่ ระยะเวลาดำเนินงานโครงการ 1 ปี โรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการประกอบด้วย โรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป สังกัดกระทรวงสาธารณสุขจากทุกภาคของประเทศ จำนวน 17 แห่ง บุคลากรของโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการมีจำนวนทั้งสิ้น 83 คน ประกอบด้วย แพทย์ผู้รักษาผู้ป่วยวัณโรค 10 คน พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานที่คลินิกวัณโรค 29 คน เภสัชกรผู้รับผิดชอบโดยตรงในการจ่ายยารักษาผู้ป่วยวัณโรค 16 คน นักสังคมสงเคราะห์ 12 คน พยาบาลควบคุมการติดเชื้อของโรงพยาบาล 9 คน นักวิชาการสาธารณสุข 5 คน และเจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน 2 คน การดำเนินงานโครงการประกอบด้วยการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการแก่บุคลากรของโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการ รวม 3 ครั้ง มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้เกี่ยวกับหลักและวิธีการพัฒนาคุณภาพโดยความร่วมมือ แนวทางการประยุกต์ใช้วิธีการพัฒนาคุณภาพโดยความร่วมมือในการค้นหาวิธีการป้องกันการขาดยาของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ นำเสนอสาเหตุการขาดยาของผู้ป่วยวัณโรคจากข้อมูลที่ได้รับจากโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการ ผู้เชี่ยวชาญให้ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการป้องกันการขาดยาของผู้ป่วยวัณโรคจากการทบทวนวรรณกรรมและผลการวิจัย ประชุมระดมสมอง แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ เพื่อร่วมกันสรุปสาเหตุสำคัญของการขาดยาของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ที่พบในโรงพยาบาลในแต่ละภูมิภาค ทบทวนปัญหาและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการขาดยารักษาวัณโรคของผู้ป่วย ร่วมกันค้นหาวิธีการที่เป็นรูปธรรมในการแก้สาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยวัณโรคขาดยาที่มีความเหมาะสมกับลักษณะของผู้ป่วย มีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติและสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง ผู้รับผิดชอบโครงการนำข้อสรุปจากการประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการและการทบทวนตำรา เอกสารงานวิจัยและแนวปฏิบัติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยวัณโรค ไปจัดทำแนวทางการป้องกันการขาดยาของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ ผลการดำเนินโครงการได้ “แนวทางการป้องกันการขาดยาของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่” ซึ่งเนื้อหาได้จากการระดมความคิดเห็นของบุคลากรของโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการ ประกอบด้วยเนื้อหา 3 บท คือ บทที่ 1 ความรู้เกี่ยวกับวัณโรคสำหรับบุคลากรการแพทย์ มีรายละเอียดเกี่ยวกับ เชื้อวัณโรค การแพร่กระจายเชื้อวัณโรค ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อวัณโรค การติดเชื้อวัณโรคแฝงและการป่วยเป็นวัณโรค ปัจจัยที่มีผลต่อการรักษาและการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคด้านผู้ป่วย ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านบุคลากรและปัจจัยทางสังคม ยาต้านวัณโรค อาการไม่พึงประสงค์จากยาต้านวัณโรค ข้อควรระวังในการใช้ยาต้านวัณโรค การเก็บยาต้านวัณโรค การเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์จากยาต้านวัณโรค การดูแลผู้ป่วยเมื่อเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการรักษาวัณโรค การให้ความรู้แก่ผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่และการให้คำปรึกษา บทที่ 2 คำแนะนำในการดูแลตนเองของผู้ป่วยวัณโรค ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับ การรับประทานยา การมาตรวจตามนัด การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อวัณโรค การดูแลสุขภาพทั่วไปและการดูแลด้านโภชนาการ และบทที่ 3 แนวทางการดูแลผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่เพื่อป้องกันการขาดยา ประกอบด้วยรายละเอียดเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมของผู้ป่วย การให้ความรู้แก่ผู้ป่วยวัณโรค การสร้างความตระหนักในการรักษาอย่างต่อเนื่อง การให้กำลังใจและการเสริมแรง และการจัดการความเครียด สิทธิการรักษา การติดตามและการส่งต่อผู้ป่วยวัณโรค การสร้างภาคีเครือข่าย ความร่วมมือ แหล่งประโยชน์ ทั้งเครือข่ายภายในโรงพยาบาลและเครือข่ายภายนอกโรงพยาบาล

บทคัดย่อ
This research and development project aimed to develop a guideline for implementation in the prevention of loss to follow up among newly diagnosed pulmonary tuberculosis patients which are appropriate for each TB patient target group characteristic and practices of hospital personnel and hospital context. The project methodology applied collaborative quality improvement concepts of The Institute for Healthcare Improvement (IHI), the USA which consisted of 8 steps including 1) selecting the topic to be improved 2) inviting the experts to participate 3) inviting organizations to participate and establish a team 4) knowledge sharing 5) implement improvement 6) evaluate changes 7) assess and evaluate and 8) conclude outcome and distribution. The duration of the project was one year. Participating hospitals consisted of 17 Regional and General hospitals under the Ministry of Public Health. Hospital personnel who participated in the project consisted of 83 personnel including 10 physicians, 29 registered nurses from TB clinic, 16 pharmacists, 12 social workers, 9 infection control nurses, 5 public health officers, and 2 community health officers. Three face-to-face workshops were conducted for the participating personnel to spread knowledge on concepts and methods of collaborative quality improvement, applying collaborative quality improvement in determining preventive measures to prevent loss to follow-up among newly diagnosed pulmonary TB patients, to present causes of loss to follow up from data of participating hospitals. The experts gave information on preventive measures to prevent loss to follow up from literature reviews. Brainstorming, opinion and experience sharing, and reviewing problems and factors related to loss to follow-up sessions were conducted to conclude causes of loss to follow-up among newly diagnosed pulmonary TB patients of hospitals in each region, determine concrete and appropriate measures for solving each important cause of loss to follow-up according to patients’ characteristics, practical, and sustainable for implementation. Project responsible personnel developed a guideline for prevention of loss to follow-up among newly diagnosed pulmonary TB patients using the conclusions from the project workshops and literature reviewed. The outcome of the project was a “Guideline for prevention of loss to follow-up among newly diagnosed pulmonary tuberculosis patients”, which consisted of 3 parts: Chapter 1) Knowledge on Tuberculosis for hospital personnel which included TB pathogen, mode of transmission of TB, risks of TB infection, latent tuberculous infection and TB, factors affecting TB treatment and prevention of TB transmission by patients, environment, personnel and social, TB drug, side effects and caution in TB drug treatment, storage of TB drug, surveillance of side effects of TB drug, caring for patients with side effects of TB drug, education of newly diagnosed pulmonary TB patients, and counseling. Chapter 2) Self- care recommendation for TB patients which included details on TB drug administration, follow-up, prevention of TB transmission, general health care, and nutrition. and Chapter 3) Guideline for caring of newly diagnosed pulmonary TB patients to prevent loss to follow-up consisted of patient preparedness, TB patient education, creating awareness for continuous treatment, encouragement, empowerment, stress management, right to treatment, follow-up and referral system, networking, collaboration and resources both inside and outside hospitals.
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs2729.pdf
ขนาด: 3.232Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 1
ปีงบประมาณนี้: 30
ปีพุทธศักราชนี้: 14
รวมทั้งหมด: 166
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2470]

    งานวิจัย

ชิ้นงานที่เกี่ยวข้อง

แสดงชิ้นที่เกี่ยวข้องโดย ชื่อเรื่อง ผู้แต่ง ผู้สร้าง และหัวเรื่อง

  • การพัฒนาระบบวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์การระบาดของวัณโรคดื้อยาในชุมชน โดยการศึกษาปัจจัยด้านพันธุกรรมของเชื้อวัณโรคดื้อยา ปัจจัยเจ้าบ้านที่สัมพันธ์กับอัตราการติดเชื้อวัณโรคดื้อยาทั้งจากตัวผู้ป่วยและผู้สัมผัสผู้ป่วย กระบวนการแพร่ระบาด และกระบวนการรักษาในพื้นที่ระบาดของประเทศไทย 

    หัชชา ศรีปลั่ง; Hutcha Sriplung; ณัฏฐกัญจน์ ทิพย์เครือ; Natthakan Thipkrua; สมาน ฟูตระกูล; Samarn futrakul; อิทธิพล จรัสโอฬาร; Itthipol Jarusoran; ก่อพงษ์ ทศพรพงศ์; Koapong Tossapornpong; ผลิน กมลวัทน์; Phalin Kamolwat; ไกรฤกษ์ สุธรรม; Krairurk Sutham; กันยา เอกอัศดร; Kunya Eak-usadorn; กรุณา สุขเกษม; Karuna Sukasem; ณัฐพร ไชยประดิฐกุล; Nathaporn Chaipraditkul; สายใจ สมิทธิการ; Saijai Smitthikarn; จันทิรา สุขะสิฐษ์วณิชกุล; Junthira Sukasitwanitchakul; ณฐกร จันทนะ; Nathakorn Juntana; อารียา ดิษรัฐกิจ; Areeya Ditrathakit; อุษณีย์ อึ้งเจริญ; Usanee Ungcharern (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2564)
    การศึกษาปัจจัยด้านพันธุกรรมของเชื้อวัณโรคดื้อยา ปัจจัยเจ้าบ้านที่สัมพันธ์กับอัตราการติดเชื้อวัณโรคดื้อยาทั้งจากตัวผู้ป่วยและผู้สัมผัสผู้ป่วย กระบวนการแพร่ระบาดและกระบวนการรักษา เป็นการวิจัยแบบตัดขวาง (Crossectional study) ...
  • การศึกษาความชุกของวัณโรคดื้อยาในเด็กไทยและเภสัชจลนศาสตร์และความปลอดภัยของยาลีโวฟอกซาซินในการรักษาวัณโรคในเด็ก 

    วรรษมน จันทรเบญจกุล; Watsamon Jantarabenjakul; ทวิติยา สุจริตรักษ์; Tavitiya Sudjaritruk; ปิยรัชต์ สันตะรัตติวงศ์; Piyarat Santarattiwong; ธันยวีร์ ภูธนกิจ; Thanyawee Puthanakit (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2565-01)
    แผนงานวัณโรคดื้อยาในเด็ก ประกอบไปด้วย 2 โครงการ คือ โครงการความชุกของวัณโรคดื้อยาในเด็กไทย และโครงการเภสัชจลนศาสตร์และความปลอดภัยของยาลีโวฟอกซาซินในการรักษาวัณโรคในเด็ก ซึ่งดำเนินงานใน 3 สถาบัน (โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ...
  • การพัฒนาศักยภาพการป้องกันการเกิดเป็นวัณโรคในผู้ป่วยเอชไอวีที่มีการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงด้วยยาสูตรใหม่ ยาไอโซไนอะซิด/ไรฟาเพนตินวันละ 1 ครั้ง (4 สัปดาห์) เปรียบเทียบกับยาไอโซไนอะซิด/ไรฟาเพนตินสัปดาห์ละ 1 ครั้ง (12 สัปดาห์) (ปีที่ 1) 

    อัญชลี อวิหิงสานนท์; Anchalee Avihingsanon; ประพันธ์ ภานุภาค; Praphan Phanuphak; กำพล สุวรรณพิมลกุล; Gompol Suwanpimolkul; กมล แก้วกิติณรงค์; Kamon Kawkitinarong; ศิวะพร เกตุจุมพล; Sivaporn Gatechompol; ฮาน, วิน มิน; Han, Win Min; ผลิน กมลวัทน์; Phalin Kamolwat; ศรายุทธ อุตตมางคพงศ์; Sarayuth Uttamangkapong; จิรายุ วิสูตรานุกูล; Jirayu Visuthranukul; ศรีเพชรรัตน์ เมฆวิวัฒนาวงศ์; Sripetcharat Mekviwattanawong; สุพรรณี จิรจริยาเวช; Supunnee Jirajariyavej; ประณิธิ ด่านพรประเสริฐ; Praniti Danpornprasert; วรรัตน อิ่มสงวน; Worarat Imsanguan; วิรัช กลิ่นบัวแย้ม; Virat Klinbuayaem; พลากร พนารัตน์; Palakorn Panarat; พรพิศ ตรีบุพชาติสกุล; Pornpit Treebupachatsakul; ศิริชัย วิวัฒน์โรจนกุล; Sirichai Wiwatrojanagul; พฤฒิพงศ์ หนูเพชร; Preudtipong Noopetch; เพลินจันทร์ เชษฐ์โชติศักดิ์; Ploenchan Chetchotisakd; ณัชชา แซ่เตียว; Natcha Saetiew; ฐิติสันต์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา; Thitisant Palakawong Na Ayuthaya; เครือทิพย์ จันทรธานีวัฒน์; Kruatip Jantharathaneewat (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2564-03-29)
    วัณโรคยังคงเป็นปัญหาที่ก่อให้เกิดการเสียชีวิตในผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งการติดเชื้อเอชไอวีจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นวัณโรคมากขึ้น (100 เท่า) แม้ว่าการรักษาวัณโรคแฝงสามารถป้องกันการเป็นวัณโรคได้ประมาณ 60-90% แต่สูตรการร ...

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1282]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV