บทคัดย่อ
การพัฒนาระบบสารสนเทศแบบบูรณาการ ประกอบด้วย การลงทะเบียนและการสร้างแหล่งเก็บข้อมูลเพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกัน ระบบการใช้ประโยชน์สารสนเทศเป็นประเด็นหนึ่งของกรอบแนวความคิดการบริการแบบมุ่งเน้นคุณค่า (value-based healthcare) โดยส่วนหนึ่งคือโครงสร้างตัวชี้วัดที่เหมาะสมและรองรับกับฐานข้อมูลผู้ป่วย ประกอบกับความครบถ้วนและความถูกต้องของฐานข้อมูลนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญต่อการนำไปใช้ประโยชน์เพื่อติดตามและประเมินผลการดูแลการศึกษาฐานข้อมูลจากชุดข้อมูลมาตรฐาน 52 แฟ้มในกลุ่มโรคเบาหวานนั้น เนื่องจากมีอัตราความชุกสูงในคนไทย ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายและภาระโรคสูง ดังนั้นเพื่อศึกษาโครงสร้างตัวชี้วัดที่เหมาะสมโดยเจาะจงที่ฐานข้อมูลผู้ป่วยเป็นรูปแบบการวิจัยแบบผสมผสาน (mixed method research) คือการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ทำการศึกษาฐานข้อมูลตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2560 - กันยายน พ.ศ. 2561 จากหน่วยบริการระดับปฐมภูมิจังหวัดลพบุรีและจังหวัดเพชรบูรณ์ ผลการศึกษาพบว่า หน่วยบริการ A มีจำนวนข้อมูลผู้ป่วย 170 คน พบความครบถ้วนของข้อมูลร้อยละ 24.1-97.1 และความถูกต้องของข้อมูลร้อยละ 92.3-100 และหน่วยบริการ B มีจำนวนข้อมูลผู้ป่วย 8,836 คน พบความครบถ้วนของข้อมูลร้อยละ 0-81.4 และจากการตรวจสอบจากข้อมูลผู้ป่วยที่มีความครบถ้วน พบความถูกต้องของข้อมูลร้อยละ 67.9-100 ส่วนผลการสัมภาษณ์ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องนั้น ทั้งสองหน่วยบริการได้ให้บทสรุปไปในทำนองเดียวกัน คือ การบันทึกข้อมูลที่ซ้ำซ้อนทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนของข้อมูล และบันทึกในรูปแบบไม่ถูกต้อง ดังนั้น การพัฒนาระบบการรายงานผลลัพธ์ด้านความต่อเนื่องของการให้บริการผู้ป่วย สามารถสะท้อนความครบถ้วนและความถูกต้องของข้อมูลได้อีกด้วย
บทคัดย่อ
The development of integrated information system (registration and utilization information system as a repository for common use) for health should be based on the conceptual framework of value-based healthcare (VBH). The proper structural measures compatible with patient database along with the completeness and accuracy of the database are the focus of the present study to monitor and evaluate the VBH. The study of diabetes based on the 52-file standard datasets expected to see a high number of Thai people with diabetes that caused high costs and disease burden. The present study employed mixed methodologies to study the appropriate indicator structures in relation to the patient databases. The quantitative data from October 2017 to September 2018 from the primary care units in Lopburi (A) and Phetchabun (B) were analyzed. The results showed that A had 170 patients with 24.1-97.1% data completeness and 92.3-100% data accuracy; while B had 8,836 patients with 0-81.4% data completeness and 67.9-100% data accuracy. The qualitative research based on interviews with 10 relevant workers in the PCUs led to similar conclusion that duplicate data and wrong data formats were common data errors and affected the monitoring of quality of the full range of services. The development of the continuity of care and outcome reporting system would help improve the completeness and accuracy of health