Show simple item record

Orthodontic Fee Schedule and Reimbursement of Cleft Patient Treatment

dc.contributor.authorเพ็ญแข ลาภยิ่งth_TH
dc.contributor.authorPhenkhae Lapyingth_TH
dc.contributor.authorดวงเดือน วีระฤทธิพันธ์th_TH
dc.contributor.authorDoungdoen Veerarittiphanth_TH
dc.date.accessioned2021-12-30T04:55:46Z
dc.date.available2021-12-30T04:55:46Z
dc.date.issued2564-12
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 15,4 (ต.ค. - ธ.ค. 2564) : 422-435th_TH
dc.identifier.issn2672-9415
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5452
dc.description.abstractสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จ่ายค่าจัดฟันผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ให้หน่วยบริการแบบเหมาจ่ายครั้งเดียว 48,000 บาทตลอดชีวิตผู้ป่วยแม้ว่ายังอยู่ในระหว่างการจัดฟัน เมื่อผู้ป่วยบางคนมีความจำเป็นต้องย้ายที่อยู่และรับการรักษาที่หน่วยบริการอื่นจึงต้องรับภาระค่ารักษาที่เหลือ การศึกษาเชิงพรรณนาภาคตัดขวางนี้ต้องการจัดทำค่ารักษาจากต้นทุนและการเบิกจ่าย โดยวิเคราะห์ต้นทุนรายบริการตามกิจกรรมบริการ มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการทันตบุคลากรจากโรงพยาบาลศูนย์ 15 แห่ง 9 เขตสุขภาพจำนวน 2 ครั้ง เพื่อการจัดเก็บข้อมูลเวลารักษารายบริการและการเบิกจ่ายวัสดุทันตกรรมและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาทุกชนิดในปีงบประมาณ 2563 ร่วมกับการใช้ข้อมูลระดับประเทศของกระทรวงสาธารณสุข ได้แก่ ค่าแรงต่อนาทีของทันตแพทย์เฉพาะทาง ช่างทันตกรรมและผู้ช่วยทันตแพทย์ และค่าเสื่อมราคาของอาคารและครุภัณฑ์ทันตกรรม กำหนดต้นทุนทางอ้อมเท่ากับร้อยละ 20 ของต้นทุนทางตรง และต้นทุนในการพัฒนางานเป็นร้อยละ 25 ของต้นทุนทั้งหมด เมื่อคำนวณค่าบริการแต่ละรายการแล้ว จึงได้รวมค่าแล็บทันตกรรมในภายหลังเป็นค่าบริการรวม โดยดำเนินงานระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงธันวาคม พ.ศ. 2563 ต้นทุนทั้งหมดและค่ารักษาทางทันตกรรมจัดฟันสำหรับผู้ป่วยตลอดชีวิต 1 คนเท่ากับ 47,311 และ 56,320 บาท แบ่งการเบิกจ่ายค่ารักษาเป็น 3 ระยะตามการขึ้นของฟันซึ่งสอดคล้องกับอายุและการเข้าศึกษาในระบบโรงเรียนของผู้ป่วย ได้แก่ ระยะฟันน้ำนม (ก่อนประถมศึกษา) ระยะฟันชุดผสม (ประถมศึกษา) และระยะฟันถาวร (มัธยมศึกษา) เป็นเงิน 3,583; 18,158 และ 34,580 บาท ตามลำดับ ซึ่งจะใช้งบประมาณเพิ่มขึ้น 8,320 บาทต่อผู้ป่วย 1 คน แต่หากใช้วงเงิน 48,000 บาทของ สปสช. ซึ่งเป็นอัตราที่ใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2556 สามารถแบ่งการเบิกจ่ายเป็น 3,054; 15,475 และ 29,471 บาท ตามลำดับth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectปากแหว่ง--การรักษาth_TH
dc.subjectเพดานโหว่--การรักษาth_TH
dc.subjectค่ารักษาพยาบาลth_TH
dc.subjectค่ารักษาพยาบาล--การวิเคราะห์ต้นทุนth_TH
dc.subjectทันตกรรม--ต้นทุนth_TH
dc.titleอัตราค่ารักษาทางทันตกรรมจัดฟันผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่และการเบิกจ่ายth_TH
dc.title.alternativeOrthodontic Fee Schedule and Reimbursement of Cleft Patient Treatmentth_TH
dc.typeArticleth_TH
dc.description.abstractalternativeNational Health Security Office (NHSO) lump sum pays a service unit for orthodontic treatment 48,000 baht per cleft patient’s lifetime even the orthodontic treatment is ongoing. When some patients have to relocate and be treated at other service units, they are charged for the remaining treatment. This descriptive cross-sectional study aimed to perform costing based orthodontic fee and payment schedule. Itemized full cost was calculated according to activity-based costing. Two workshops with dental personnel of 15 regional hospitals in 9 health regions were conducted to collect data on itemized service time, and the material and non-drug medical supplies of the budget year 2020. The national data on average renumeration per minute of specialist dentist, dental technician and dental assistance; and depreciation cost of building and dental equipment were obtained from the Ministry of Public Health. The indirect cost was added at a 20% of the total direct cost and the future development cost was a 25% addition on the full cost. Itemized dental lab fee (if any) was finally added to be the final fee for reimbursement from the government payer. The study was performed during February to December 2020. The full cost and final fee of orthodontic treatment were 47,311 and 56,320 baht per patient lifetime. The payments of 3 treatment phases conforming with cost of dentition by age were 3,583 (for primary dentition of pre-school age) 18,158 (for mixed dentition of primary school age) and 34,580 baht (for permanent dentition of secondary school age). If based on final fee, the required budget for reimbursement should increase by 8,320 baht per patient lifetime. According to the 2013 NHSO’s 48,000 baht rate, the payments should be 3,054; 15,475 and 29,471 baht respectively.th_TH
.custom.citationเพ็ญแข ลาภยิ่ง, Phenkhae Lapying, ดวงเดือน วีระฤทธิพันธ์ and Doungdoen Veerarittiphan. "อัตราค่ารักษาทางทันตกรรมจัดฟันผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่และการเบิกจ่าย." 2564. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5452">http://hdl.handle.net/11228/5452</a>.
.custom.total_download937
.custom.downloaded_today1
.custom.downloaded_this_month36
.custom.downloaded_this_year99
.custom.downloaded_fiscal_year214

Fulltext
Icon
Name: hsri-journal-v15n ...
Size: 386.4Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

  • Articles [1334]
    บทความวิชาการ

Show simple item record