• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การบริหารจัดการทันตแพทย์เฉพาะทาง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบบริการทันตกรรมในระดับเขตสุขภาพ

วรารัตน์ ใจชื่น; Wararat Jaichuen; เทอดศักดิ์ อุตศรี; Terdsak Utasri; ธนศักดิ์ ถัมภ์บรรฑุ; Thanasak Thumbuntu;
วันที่: 2564-12-11
บทคัดย่อ
ตั้งแต่มีระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า ระบบบริการทันตกรรมก็ให้ความสำคัญที่การเพิ่มอัตราการเข้าถึงบริการเป็นสำคัญ ต่อมาเมื่อกระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (service plan) สาขาสุขภาพช่องปากก็ยึดอัตราการเข้าถึงบริการทันตกรรมเป็นตัวชี้วัดหลัก โดยในระยะเวลา 5 ปีแรก (พ.ศ. 2556 - 2560) ได้กำหนดวัตถุประสงค์การพัฒนา 3 ประเด็น คือ 1. ขยายบริการสุขภาพช่องปากระดับปฐมภูมิในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) 2. พัฒนาบริการสุขภาพช่องปากในเขตเมือง และ 3. พัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพการจัดบริการสุขภาพช่องปากในโรงพยาบาลทุกระดับ ต่อมาในปี พ.ศ. 2558 คณะกรรมการแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพสาขาสุขภาพช่องปาก ได้ปรับยุทธศาสตร์การดำเนินงานสำหรับปี พ.ศ. 2559 – 2563 เป็น 3 ด้าน คือ 1. เพิ่มคุณภาพบริการส่งเสริมป้องกันสุขภาพช่องปากตามกลุ่มวัย 2. เพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการสุขภาพช่องปาก และ 3. พัฒนาระบบบริการทันตกรรมเฉพาะทางระดับจังหวัดและศูนย์ความเชี่ยวชาญสาขาสุขภาพช่องปาก และได้มีการจัดทำข้อเสนอ “แนวทางการศึกษาฝึกอบรมทันตแพทย์เฉพาะทางของสถานบริการสุขภาพในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข” ซึ่งเป็นมาตรการสำคัญในการขับเคลื่อนและสนับสนุนการจัดระบบริการทันตกรรมเฉพาะทางของหน่วยงานบริการสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 เป็นต้นมา การศึกษานี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาสถานการณ์ของระบบบริการทันตกรรมเฉพาะทางและประเมินการนำนโยบายการพัฒนาระบบบริการทันตกรรมเฉพาะทางไปสู่การปฏิบัติในระดับเขตสุขภาพ เพื่อสังเคราะห์เป็นข้อเสนอต่อการกำหนดความต้องการและการบริหารจัดการ การใช้และการกระจายทันตแพทย์เฉพาะทาง รวมถึงแนวทางการพัฒนาองค์ประกอบด้านอื่นๆ ของระบบบริการทันตกรรมเฉพาะทางที่จะช่วยสนับสนุนให้การปฏิบัติงานของทันตแพทย์เฉพาะทางในระดับเขตสุขภาพเกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยกระบวนการที่ใช้ในการศึกษาอาศัยการทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนานโยบาย การสัมภาษณ์และอภิปรายกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติในระดับเขตสุขภาพ การสำรวจการรับรู้ต่อนโยบายและความพร้อมในการปฏิบัติงานของทันตแพทย์เฉพาะทางที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงการวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิในแง่จำนวน การกระจาย และผลิตภาพการจัดบริการทันตกรรมเฉพาะทางของหน่วยบริการสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ผลจากการทบทวนความเป็นมาและพัฒนาการของนโยบายการพัฒนาระบบบริการทันตกรรมเฉพาะทางของกระทรวงสาธารณสุข สังเกตได้ว่าพื้นฐานของการวางแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพตั้งแต่สมัยที่กระทรวงสาธารณสุขใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) ในการจัดขนาดโรงพยาบาล ต่อเนื่องการพัฒนามาเป็นเครือข่ายบริการระดับจังหวัด ล้วนแล้วแต่มีที่มาจากการวางระบบบริการทางการแพทย์เป็นสำคัญ โดยระดับความเชี่ยวชาญที่แตกต่างกันของแพทย์จะเป็นตัวแบ่งขอบเขตงานตามระดับศักยภาพหน่วยบริการ ในขณะที่บุคลากรสาขาวิชาชีพอื่นๆ รวมถึงทันตแพทย์ ไม่มีการระบุถึงระดับความเชี่ยวชาญที่สอดคล้องกับระดับหน่วยบริการ เป็นเพียงการกำหนดจำนวนรวมของความต้องการตามประเภทวิชาชีพเท่านั้น แม้ว่าในระยะต่อมาจะมีการจัดทำแผนพัฒนาระบบบริการสาขาสุขภาพช่องปากขึ้น ก็มีการกำหนดเพียงขอบเขตงานบริการทันตกรรมที่ควรจัดให้มีในหน่วยบริการระดับต่างๆ แต่ไม่มีการระบุถึงระดับความเชี่ยวชาญของทันตแพทย์ที่สอดคล้องตามขอบเขตงานนั้น ที่น่าสังเกตคือเมื่อมีการพัฒนาระบบโควตาศึกษาต่อของทันตแพทย์ ก็ไม่พบข้อมูลประกอบการตัดสินใจในแง่ขอบเขตสมรรถนะของการศึกษาแต่ละระดับหลักสูตรเช่นกัน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่นำไปสู่ความไม่ชัดเจนของการวางแผนกำลังคนที่เหมาะสมกับระบบบริการ และส่งผลให้ไม่สามารถเชื่อมโยงการวัดผลิตภาพที่คาดหวังได้ตามสมรรถนะของบุคลากร โดยพบว่าการดำเนินนโยบายในช่วงที่ผ่านมาไม่ปรากฏตัวชี้วัดที่ใช้กำกับติดตามการพัฒนาที่แสดงถึงการจัดบริการได้ตามมาตรฐานที่วางเป้าหมายไว้ แต่เน้นเพียงการพัฒนาให้มีจำนวนทันตแพทย์เฉพาะทางตามเกณฑ์เป้าหมายเท่านั้น จึงจำเป็นต้องมีการทบทวนข้อมูลเกี่ยวกับสมรรถนะของทันตแพทย์แต่ละระดับเพื่อใช้ประกอบการวางแผนความต้องการทันตแพทย์เฉพาะทาง และควรปรับปรุงระบบกำกับติดตามผลการดำเนินงานที่เชื่อมโยงแผนการพัฒนาทันตแพทย์กับผลิตภาพตามเป้าหมายในภาพรวมของระบบบริการต่อไป
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs2779.pdf
ขนาด: 3.643Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 13
ปีพุทธศักราชนี้: 8
รวมทั้งหมด: 100
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2471]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [159]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1283]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV